คุณภาพคือความอยู่รอด : เกษตรส่งออก : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : เกษตรส่งออก : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : เกษตรส่งออก : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีนได้คลี่คลายลง และธุรกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เริ่มกลับมาเปิดดำเนินการตามปกติแล้ว ในเวลานี้ จึงส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการส่งออกของไทย เพราะทุเรียนสด (ผลไม้ยอดฮิตขายดีในจีน) ทำให้ช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ไทยมีการส่งออกไปจีนแล้วมูลค่า 5,054 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 101%

นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุดแห่งประเทศไทย (นายภาณุวัชร์ ไหมแก้ว) เปิดเผยว่า การส่งออกทุเรียนสดของไทยที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน มีตลาดใหญ่สุดคือจีน เวลานี้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้นตามลำดับ แต่ที่น่าห่วงคือราคาทุเรียน (หมอนทอง) หน้าสวนที่เกษตรกรขายได้ เวลานี้ปรับตัวลดลงเหลือ 90-100 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) จากต้นเดือนเมษายนเฉลี่ยที่ 120-130 บาทต่อ กก. และปัญหาด้านคุณภาพของทุเรียนตามมาตรฐานสุขอนามัยของสินค้าเกษตร

หนึ่งในมาตรการที่จำเป็นและประเทศสมาชิก WTO นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร คือ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS)

Advertisement

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) เป็นมาตรการภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าเกษตรของ WTO ที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของมนุษย์พืช และสัตว์ในประเทศตนเองในด้านที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการบริโภคหรือเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่ติดมากับพืชสัตว์และผลิตภัณฑ์รวมทั้งสารเจือปนในอาหารสารพิษหรือจุลินทรีย์ที่เป็นพาหะของโรคโดยการกำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้าต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าหรือข้อกีดกันทางการค้า

ประเทศนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะใช้มาตรการนี้ต่อสินค้านำเข้า แต่มีบางกรณีที่ประเทศนำเข้าจะอ้างการใช้มาตรการนี้เพื่อวาระซ่อนเร้น และใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร

การกำหนดมาตรการ SPS จะต้องมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการกำหนดให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรฐานระหว่างประเทศที่กำหนด โดย 3 องค์การ คือ Codex (สำหรับการนำเข้าอาหาร), IPPC (สำหรับการนำเข้าพืชและผลิตภัณฑ์) และ OIE (สำหรับการนำเข้าสัตว์และผลิตภัณฑ์)

Advertisement

ทุกวันนี้ ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารต่างพัฒนากฎระเบียบในการนำเข้าของตนเองภายใต้มาตรฐานระหว่างประเทศ จากทั้ง 3 องค์กรที่ WTO ให้การยอมรับ

การค้าสินค้าเกษตรที่ประสบความสำเร็จ จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ อาทิ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานระหว่างประเทศ สินค้ามีเอกลักษณ์ เพิ่มความหลากหลายของสินค้า สามารถเจรจาและร่วมมือกับประเทศคู่ค้าเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า มีมาตรการอำนวยความสะดวกเพื่อการส่งออก ภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนกำหนดยุทธศาสตร์ เป็นต้น

แต่ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในวันนี้ ก็คือ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน อันเนื่องมาจากคุณภาพและมาตรฐานระหว่างประเทศที่มีอยู่มากมาย (ซึ่งอาจจะแตกต่างกันทั้งเนื้อหาและวิธีการตรวจรับรองในรายละเอียด) จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ครับผม !

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image