อาการงูกินหาง ดัชนีชี้แนวโน้ม ระเบิดเวลาเศรษฐกิจ

อาการงูกินหาง ดัชนีชี้แนวโน้ม ระเบิดเวลาเศรษฐกิจ

อาการงูกินหาง ดัชนีชี้แนวโน้ม ระเบิดเวลาเศรษฐกิจ

26 พฤษภาคม

วันเดียวกันกับที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยืดเวลาในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือน

ในเหตุผลว่าเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19

ท่ามกลางเสียงคัดค้าน ทักท้วง

Advertisement

ว่ามาตรการที่เข้มงวดเกินความจำเป็น จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจ และความเดือดร้อนเรื่องปากท้องของประชาชนยิ่งทรุดหนักลง

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อประมาณการจัดเก็บรายได้ในปี 2563 ใหม่

เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ในภาพรวมของกรม

Advertisement

โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ต.ค.2562-เม.ย.2563)

จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท

นายเอกนิติกล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน จะไปตามไล่บี้เก็บภาษีก็ไม่ใช่เรื่อง ก็จะไม่เน้นเป้าหมายเป็นหลัก แต่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้กรมใช้เครื่องมือภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนมากขึ้น

โดยทางกรมอาจจะต้องมีการพิจารณามาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ ในช่วงฟื้นฟูหลังโควิด-19 โดยสั่งให้ทีมไปเตรียมแผนไว้ ส่วนการเลื่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคลออกไป รายได้ส่วนนี้ไม่ได้หายไปไหน เพราะจะกลับเข้ามาในช่วง ส.ค.

ซึ่งมาตรการนี้จะเป็นการช่วยให้ประชาชนผู้ประกอบการ มีเงินเหลือในกระเป๋าช่วงวิกฤตไปก่อน

ทั้งนี้ ผลจากมาตรการลดผลกระทบโควิด กรมลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตรา 3% เหลือ 1.5% ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย.2563 เสียรายได้ไปแล้ว 27,000 ล้านบาท

การเร่งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแล้วกว่า 95% จากผู้ขอคืนทั้งหมดประมาณ 3 ล้านคน รวม 28,000 ล้านบาท

และเร่งคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล 27,185 ล้านบาท

ขณะที่ นายศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานต่อเนื่องและเอาจริงเอาจังมากที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบัน คาดการณ์ว่า

ปัญหาทางเศรษฐกิจจะปะทุขึ้นอย่างรุนแรงในราวอีก 5 เดือนข้างหน้า

หลังจากที่ครบกำหนดพักชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น ของลูกค้าผู้กู้เงินกับสถาบันการเงินทั้งหลาย

เพราะลูกหนี้จะต้องหาเงินก้อนใหญ่มาชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ตั้งค้างรับไว้

หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงินก็จะมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือหนี้เสียมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ดูแลกฎ จะยอมให้ผ่อนผันต่อไปอีกได้หรือไม่

เพราะการผ่อนผันนี้จะขัดกับหลักการของข้อตกลงมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศ

ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนจากภาครัฐ ว่าจะมีแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือทำให้บริษัทเอกชนกลับลุกขึ้นมามีรายได้จากการประกอบการได้อย่างไร

ในช่วง 150 วัน ที่จะถึงนี้

นี่คือ “ระเบิดเวลา” ที่เห็นชัดเจนอยู่ข้างหน้า

ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการกวาดขยะเอาไว้ใต้พรม แล้วภาวนาว่าจะไม่มีใครมาเห็น

เพราะอาการไข้เศรษฐกิจปรากฏให้เห็นแล้วจากภาวะ “งูกินหาง” ข้างต้น

เมื่อบริษัทห้างร้านเปิดกิจการไม่ได้ ประชาชนทำมาหากินไม่ได้

รายได้จากภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บก็จะลดน้อยถอยลงตามไปด้วย

ยิ่งลากให้ล่าช้าออกไปเท่าไหร่

ความเสียหายก็ยิ่งมากขึ้น การกอบกู้ฟื้นฟูก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทห้างร้านทั้งหลาย “หมดสายป่าน” ต้องยุบกิจการหรือปลดพนักงานเพิ่มขึ้นอีก

รัฐจะจัดสมดุลอย่างไร

ระหว่างการควบคุมโรคให้อยู่ในระดับพอดี กับการแก้ไขปัญหาปากท้อง-เศรษฐกิจ

ที่ทรุดตัวลงไปอย่างหนักหน่วง-ทุกวัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image