คุณภาพคือความอยู่รอด : ฝ่าวิกฤตด้วยผลิตภาพ : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ฝ่าวิกฤตด้วยผลิตภาพ : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ฝ่าวิกฤตด้วยผลิตภาพ : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ผมจำได้ว่า การเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรมจะยึดหลักการที่ต้องทำให้ PQDCSMEE แต่ละตัวเพิ่มมากขึ้น คือ Production, Quality, Delivery, Cost, Safety, Morale, Environment และ Ethics

แต่โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะคิดถึง Productivity ในเชิงของ “การทำน้อยได้มาก” เป็นสำคัญ

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมมีโอกาสได้หารือกับคณะเจ้าหน้าที่จาก “สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ” (สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) ซึ่งมีผู้อำนวยการ ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ เป็นหัวหน้าคณะนำทีม มาพูดคุยกัน

Advertisement

ผมเปิดประเด็นว่า “เมื่อ ‘การเพิ่มผลผลิต’ เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ เราจะขายไอเดียเรื่อง ‘การเพิ่มผลผลิต’ หรือ ‘ผลิตภาพ’ (Productivity) ให้กับ SMEs มากขึ้นได้อย่างไรบ้าง”

ท่านผู้อำนวยการและคณะได้พูดเสริมว่า ในขณะนี้ “สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ” กำลังรณรงค์เรื่องนี้ในโครงการใหม่ ที่มีชื่อว่า “Reboot Productivity ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ” เพื่อสนับสนุนให้กิจการต่างๆ รับมือกับสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตหลังจากจบเรื่องเชื้อไวรัสร้ายนี้แล้ว

โครงการ Reboot Productivity ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจนี้จะช่วยองค์กรในการพัฒนาและยกระดับผลิตภาพอย่างเป็นระบบและวัดผลสำเร็จที่ชัดเจนได้ โดยจัดให้มี “ที่ปรึกษา” เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting) อย่างใกล้ชิดที่โรงงานและสถานประกอบการใน 4 ด้านที่สำคัญ อันได้แก่

Advertisement

(1) ด้านการพัฒนาประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (2) ด้านการยกระดับผลิตภาพกระบวนการผลิต (3) ด้านการพัฒนาหัวหน้างานให้มีการพัฒนาผลิตภาพอย่างเป็นระบบ และ (4) ด้านการวางระบบมาตรฐานที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ

การพัฒนาประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ก็เพื่อการประเมินถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต โดยมีแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับ OEE Measurement & Analysis และปรับปรุงเครื่องจักรตามแนวทางของ “การบำรุงรักษาทวีผล” (TPM) ใน 3 เสาหลัก ได้แก่ Focus Improvement, Autonomous Maintenance และ Planned Maintenance

การยกระดับผลิตภาพกระบวนการผลิต จะเน้นในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ลดของเสีย และการแก้ไขงาน เป็นต้น โดยมีแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับ Lean Manufacturing, Value Stream Mapping, Wastes Reduction และ Small Group Activity

การพัฒนาหัวหน้างานให้มีการพัฒนาผลิตภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถของหัวหน้างานให้มีสมรรถนะสูงขึ้น โดยมีแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับ Systematic Problem Solving, 7 QC Tools, Daily Management และเทคนิคการสอนงานอย่างมีประสิทธิผล

การวางระบบมาตรฐานที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมาตรฐานของระบบบริหารจัดการ โดยมีแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับ GMP, HACCP, ISO 22000, IATF 16949 และ ISO 17025

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ (กระทรวง อว. และสถาบัน) ถึง 70%

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เราจะต้องมุ่งเน้นใน “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” เพื่อยกระดับ “ผลิตภาพ” ที่ยึดหลัก “ทำน้อยได้มาก” อันเกิดจากการเพิ่มทักษะความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ การปรับใช้เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดแบบยั่งยืน ครับผม !

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image