คุณภาพคือความอยู่รอด : ต้นทุนจากโควิด-19 : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ต้นทุนจากโควิด-19 : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ต้นทุนจากโควิด-19 : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) ได้กล่าวถึงโลกหลังสถานการณ์ โควิด-19 และสภาพ New Normal อย่างน่าสนใจใน 4 ประเด็นใหญ่ๆ (จาก The Standard Economic Forum/แปดบรรทัดครึ่ง) ซึ่งมีสาระสำคัญ ได้แก่

(1) อย่าให้ “New Normal” ทำให้เราแตกตื่นเกินความจำเป็น

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เวลาเกิดวิกฤตอะไรก็จะมีคนมาคาดคะเนต่างๆ หรือถกเถียงกัน แต่ไม่นานนัก เราก็ลืมและสุดท้ายก็วนกลับมาที่ปัญหาเดิมๆ ส่วนหนึ่งก็เพราะมนุษย์ยังไงก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่คิดแบบ Irrational อยู่ดี (อ้างอิงจากงานวิจัยของ Daniel Kahneman นักจิตวิทยารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์) ดังนั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้ ฟังหูไว้หูให้ดี ทั้งนี้ สิ่งที่เราควรจะเรียนรู้ ก็เพื่อเปลี่ยนอะไรที่ยังไม่ได้เปลี่ยนมาตั้งนานเสียที

Advertisement

(2) เศรษฐกิจในภาพรวมเป็นเรื่องที่ต้องฟื้นฟู

แต่ภาวะนี้ควรสนใจสุขภาพความเป็นอยู่ของประชาชนก่อน หาทางออกว่าจะช่วยคนยากไร้ แรงงาน คนว่างงานและเกษตรกรอย่างไร ต้องคิดหาวิธีแก้แบบใหม่ที่ไม่ทำให้ปัญหารุมเร้า มีหนี้สิ้นมหาศาล คนป่วยก็เยอะ ต้องแก้ไขโครงสร้างสังคม แก้ความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาหลายรุ่นในการทำให้เป็นจริง ที่สำคัญ คืออย่าโลภ

(3) ประเทศไทยต้องคิดถึงการมีบทบาทและการร่วมมือในระดับภูมิภาค (เช่น ASEAN) และโลกด้วย

Advertisement

ตอนนี้องค์กรสากลอย่าง WTO และ WHO ก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ถูกแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆ ซึ่งประเทศอื่นๆ สามารถร่วมกันเข้าไปกดดันและสนับสนุนให้ประเทศมหาอำนาจไม่เอาแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเองได้ และ

(4) Technocratization คืออนาคตและทิศทางของโลกในอนาคต

สังคมควรเปิดโอกาสให้คนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ได้ทำงานมากขึ้น

เรื่อง New Normal นี้ ปัจจุบัน ราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ของคำว่า “New Normal” คือ “ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่” หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

ดังนั้น “บทเรียน” ต่างๆ ของผู้คนที่เกิดจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตตลอดช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาของ “สถานการณ์ โควิด-19” จึงมีผลต่อการทำให้ “วิธีคิด-วิธีทำงาน” วิธีใช้ชีวิต ของเราแตกต่างไปจากช่วงเวลาก่อนเกิดสถานการณ์ โควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย การรักษาความสะอาด (ล้างมือ) การดูแลสุขภาพ การรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้เกิดวิถีชีวิตและการปฏิบัติต่างๆ ที่ต่างไปจากเดิม จนเป็นแบบแผนใหม่ในลักษณะของ New Normal ที่ (อาจ) จะเป็น “มาตรฐานใหม่” ต่อไป

หลายเรื่องที่เกิดขึ้นผมก็คิดไม่ถึงเลย อย่างเช่นที่เพื่อนผมบอกมาทางไลน์ว่า “รู้ไหมว่า ทำไมยังมีหลายคนที่ไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัย ประสบการณ์ที่ลูกซื้อหน้ากากอนามัยมาให้ ตกแผ่นละ 11 บาท ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพราะฉะนั้นต้นทุนของแต่ละวันก่อนออกจากบ้านจะอยู่ที่ 11 บาท ที่เพิ่มจากค่าใช้จ่ายปกติ..”

ทุกวันนี้ ต้นทุนของการใช้ชีวิต จึงเพิ่มขึ้น (เพื่อแลกกับสุขภาพ) ครับผม !

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image