อาชีพทนายความไทยเข้าสู่ยุค‘ตีบตัน’ : โดย นคร พจนวรพงษ์

ตีบ คือ อมีอาการแคบเข้าผิดปกติ ตันŽ คือไม่กลวง, ไม่มีทางออก อาชีพหรือเส้นทางการดำรงชีพทนายความของคนไทยเรากำลังเข้าสู่ยุคตีบตัน นั่นก็คือแคบเข้าอย่างผิดปกติ เส้นทางแคบตีบตันจนไม่มีทางออกเลยหรือ อยากให้ท่านพิจารณาแนวคิดของผู้เขียนแล้วช่วยวิเคราะห์ว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วยและทางออกที่ถูกที่ควรจะเป็นอย่างไร (ขออนุญาตเรียนเสนอแนวคิดสั้นๆ ให้เข้าใจง่าย) ดังนี้

1.จำนวนทนายความมีมากเกินไปหรือเปล่า ปัจจุบันมีจำนวน 77,664 คน กรณีนี้ก็มีผลบ้างแต่ไม่ใช่ปัญหาหลัก (ปริมาณ)

2.คุณภาพของทนายความเรายังมิใช่ ทนายความมืออาชีพŽ หรือข้อนี้เป็นปัญหารองเราแก้ไขกันเองได้

3.ทนายความต่างชาติมาแย่งอาชีพหรือ กรณีนี้ยังไม่เกิดไม่ใช่ตัวปัญหา

Advertisement

ปัญหาหลักที่อาชีพทนายความไทยจะเข้าสู่ยุคตีบตันก็คือ กฎหมายวิธีพิจารณาความที่ทยอยออกมาบังคับใช้ กรณีนี้เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญและสำคัญมาก กล่าวคือ

ประการที่ 1 รัฐหันมาใช้วิธีพิจารณาความแบบ ระบบไต่สวนŽ เพิ่มมากยิ่งขึ้น

เดิมวิธีพิจารณาคดีของศาลไทยเราใช้ ระบบกล่าวหาŽ จะเห็นได้ชัดในคดีอาญา ศาลท่านไม่มีอำนาจแสวงหาพยานหลักฐานได้เอง ปกติในการนั่งพิจารณาคดีศาลท่านจะไม่ถามพยาน ท่านทำหน้าที่ฟังและทำการบันทึกคำให้การต่างๆ กรณีใดที่ท่านสงสัยต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย แต่ ระบบไต่สวนŽ นั้นตรงกันข้าม ศาลท่านเป็นผู้ทำการไต่สวน ท่านมีอำนาจในการเรียกพยานมาสืบและควบคุมการไต่สวนเอง เป็นต้น

Advertisement

กรณีนี้ฝ่ายโจทก์ซึ่งมีทั้งพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน และข้าราชการตำรวจผู้สืบสวนจับกุม พร้อมเครื่องไม้เครื่องมือครบครันในการรวบรวมพยานหลักฐาน ตรงข้ามกับฝ่ายจำเลยซึ่งไม่มีเครื่องมือของรัฐใดๆ สนับสนุน และถ้าจำเลยไม่ได้ประกันตัวออกมาสู้คดีอีก ท่านผู้อ่านคงนึกสภาพออกว่าการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนของรัฐว่าจะถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ยิ่งวิธีพิจารณาความใช้ ระบบไต่สวนŽ ที่ศาลมีบทบาทมากดังกล่าว ทนายความฝ่ายจำเลยแทบจะหมดความสำคัญไปทันที

สรุปแล้ว ระบบไต่สวนนี้จะทำให้อาชีพทนายความเราตีบตันอย่างเห็นได้ชัดและจำเลยก็อาจจะเสียเปรียบในการต่อสู้คดี เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตนเองได้โดยผลหรือกติกาของกฎหมาย

นอกจากนี้ วิธีพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครองก็กำหนดให้ใช้ระบบไต่สวนเช่นกันและไม่จำต้องมีทนายความ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้อาชีพทนายความเราตีบตัน

ประการที่ 2 การไม่อนุญาตให้คู่ความใช้สิทธิฎีกาในคดีแพ่งและคดีอาญาบางประเภท

เดิมประชาชนหรือคู่ความสามารถเรียกร้องความยุติธรรมในการดำเนินคดีจากรัฐได้ถึงสามชั้นของศาล แต่ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าลดลงเหลือเพียงสองชั้นของศาลเท่านั้น จริงอยู่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งวางหลักว่า การฎีกาให้กระทำได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาŽ จากเดิมสิทธิการยื่นฎีกาได้ เป็นหลักŽ เปลี่ยนเป็นต้องขออนุญาตอัน เป็นข้อยกเว้นŽ เมื่อ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 27) 2558 ออกมาใช้บังคับ เมื่อ 4-5 ปีมานี้เอง กรณีนี้น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญอันเป็นมูลเหตุให้อาชีพทนายความของเรากำลังเข้าสู่ยุคแห่งความตีบตัน เพราะกฎหมายวิธีพิจารณาความในลักษณะนี้น่าจะทยอยออกมาบังคับใช้ต่อไปอีก (ที่มีบังคับใช้อยู่แล้วในคดีอาญาบางประเภท เช่นคดียาเสพติด พ.ศ.2551 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559) ลดขั้นตอนหรือลดชั้นของศาลจากศาลฎีกามาเป็นศาลอุทธรณ์ในลักษณะเดียวกัน

ขอกราบเรียนท่านผู้อ่านที่สนใจวิถีชีวิตของทนายความและท่านซึ่งร่วมวิชาชีพทนายความเช่นเดียวกันกับผู้เขียนว่า อาชีพทนายความจะตีบตันหรือไม่ตามเหตุผลที่เรียนมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าขึ้นอยู่กับตัวบทกฎหมาย (กฎหมายวิธีพิจารณาความ)

ศ าลยุติธรรม ฝ่ายตุลาการŽ ท่านก็ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายที่ ฝ่ายนิติบัญญัติŽ ตราออกมาบังคับใช้ ซึ่งอาจจะออกมาในยามปกติที่มี รัฐสภาŽ หรือในยามไม่ปกติที่มี สภานิติบัญญัติแห่งชาติŽ หรือออกมาตามประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือกฎหมายฉบับอื่นที่ออกมาก่อนหน้านั้น

บุคลากรของสาขาวิชาชีพใดเขาก็ต้องสนใจดูแลกฎหมายที่ออกมากระทบกับวิชาชีพของเขา เช่น พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 พ.ร.บ.วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ 2547 พ.ร.บ.วิศวกร 2542 เป็นต้น ถ้าไม่ชอบมาพากลเขาก็ยกคณะมวลชนของเขาที่เป็นเอกภาพเข้าคัดค้านต่อต้าน เขามีผู้นำที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ องค์กรของเขาจึงยืนอยู่อย่างมั่นคง สง่างามและมีศักดิ์ศรี

สำหรับตัวบทกฎหมายนั้นทนายความของเราจะสนใจดูกฎหมายเฉพาะ พ.ร.บ.ทนายความ 2528 และ พ.ร.บ.เนติบัณฑิตยสภา 2507 เท่านั้นไม่พอ เพราะทนายความต้องใช้กฎหมายร่วมกับองค์กรอื่นในกระบวนการยุติธรรม เราต้องสนใจดูกฎหมายอื่นอีกมากโดยเฉพาะกฎหมายที่กระทบกับการทำมาหาได้ของเราโดยตรงก็คือ กฎหมายวิธีพิจารณาความทั้งหลาย ทั้งแพ่งและอาญา
ดังที่กล่าวมาแล้ว การใดที่ตัดสิทธิหรือกระทบกับวิชาชีพทนายความและสิทธิของทนายความที่จะเข้าไปตรวจสอบการอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนของรัฐว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ด้วยแล้ว ทนายความในองค์กรสภาทนายความซึ่งขณะนี้มีจำนวนสมาชิกมากถึง 77,664 คน ถึงเวลาแล้วมิใช่หรือที่พวกเราจะต้องแสดงความเป็นเอกภาพขององค์กร สร้างผู้นำหรือคณะผู้นำที่เข้มแข็ง แล้วเข้าไปดำเนินการตรวจสอบดูแลแก้ไข มิใช่นิ่งเฉยปล่อยให้เป็นเช่นปัจจุบัน

เมื่อทนายความเราถูกลดบทบาทลง ช่องทางการใช้สิทธิเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐของประชาชนก็ลดน้อยถอยลงเป็นเงาตามตัว

นคร พจนวรพงษ์
หัวหน้าสำนักกฎหมาย “ตราสามดวง”
กรรมการเนติบัณฑิตยสภา (ประเภททนายความ)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image