คุณภาพคือความอยู่รอด : QCC เพื่อพัฒนาบุคลากร : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : QCC เพื่อพัฒนาบุคลากร : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : QCC เพื่อพัฒนาบุคลากร : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ผมเชื่อมั่นในเรื่องของ “คุณภาพคือความอยู่รอด” เสมอมา เพราะมีบทพิสูจน์ถึงสัจธรรมนี้ให้เห็นมากมายในสังคม

เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กันยายน 2563 ที่ผ่านมานี้ ผมได้ร่วมงานในพิธีมอบรางวัล “Thailand Quality Prize 2020” ครั้งที่ 37 ซึ่ง “สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)” ได้จัดให้มีงานประกวดอย่างต่อเนื่องทุกปี

การจัดงานครั้งนี้ถือว่าถูกที่ถูกเวลาจริงๆ เพราะทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกทำให้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีความผันผวนสูง

Advertisement

ดังนั้น การทำ “กิจกรรมกลุ่ม QCC” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรค COVID-19 เพราะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร สามารถลดต้นทุน ลดความสูญเปล่า และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการคำนึงถึงความปลอดภัย สุขอนามัย และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรด้วย อันเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับองค์กร เพื่อให้สามารถฝ่าวิกฤต อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

กิจกรรมกลุ่ม QCC หรือ Quality Control Circle นั้น เป็นวิธีการบริหารด้วยหลักการของ Deming Circle คือเป็น “วงจรบริหาร” ที่เรียกว่า “PDCA” (Plan Do Check Act) ทำให้เกิดการปรับปรุงการทำงาน สามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ส่งผลทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการดีขึ้น ส่งมอบทันเวลา ทำให้หน่วยงานสามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากทั้งใน และนอกประเทศได้

ที่สำคัญที่สุด ก็คือ เป็นวิธีการสร้างและพัฒนาบุคลากรอย่างเหนือชั้น

Advertisement

การจัดงานด้วยการนำเสนอผลงาน QCC เพื่อรับรางวัล “Thailand Quality Prize” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์สำหรับองค์กรต่างๆ ที่นำกิจกรรม QCC เข้าไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและเพิ่มคุณภาพงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพขององค์กร อันเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ สสท.ได้ริเริ่มการจัดงานประกวดผลงาน QCC มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยใช้ชื่อ “งานมหกรรมคิวซี” และดำเนินการต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นครั้งที่ 37 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา ซึ่งในปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรวมทั้งสิ้น 197 ผลงาน จาก 70 องค์กร โดยมีคนร่วมงานในวันประกาศผลและรับรางวัลมากกว่า 500 คน

ทุกกลุ่มที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศนี้ ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกอย่างเข้มข้นครบทั้ง 3 ขั้นตอน คือ (1) การคัดเลือกจากเอกสารสรุปผลงานกลุ่ม QCC (2) การนำเสนอผลงานรอบคัดเลือก และ (3) การตรวจติดตามผลงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง จนกระทั่งเข้ารอบสุดร้าย รวม 82 ผลงานจาก 48 องค์กร ซึ่งเข้ารับรางวัลในวันนี้

นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาให้รางวัลประเภทบุคคลสำหรับผู้บริหาร ประเภท QCC Promoter Award for Top Management 3 ท่าน และ QCC Facilitator Award 3 ท่าน

การมอบรางวัล จึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการให้กำลังใจ และเป็นการตอกย้ำว่ากิจกรรมกลุ่ม QCC มีความสำคัญต่อองค์กร เพื่อการปรับปรุงเรื่องต่างๆ ให้ดีขึ้นและเป็น “สุดยอด” ของการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะระดับพนักงานผู้ปฏิบัติ ให้มีทักษะความชำนาญและศักยภาพสูงขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมกลุ่ม QCC จึงเป็นหนึ่งใน “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” ขององค์กรที่พัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ

ใครที่บอกว่า “QCC เกิดที่อเมริกา โตที่ญี่ปุ่น และมาตายที่เมืองไทย” นั้น เห็นทีจะต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อใหม่แล้ว ครับผม !

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image