คุณภาพคือความอยู่รอด : ล้มแล้ว ลุกไว

คุณภาพคือความอยู่รอด : ล้มแล้ว ลุกไว : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ล้มแล้ว ลุกไว : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ขณะนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs กำลังต่อสู้และหาทางออกเพื่อความอยู่รอดหลังสถานการณ์ COVID-19

หลายต่อหลายคนจดจ่อกับแผนการต่างๆ และวิธีอยู่รอดในยุค New Normal ไม่ว่าจะเป็น “การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ” BCP (Business Continuity Plan) และแผนการ Resilience (ล้มแล้วลุกไว)

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้บรรยายในหัวข้อ “ชีวิตวิถีใหม่ ประเทศไทยหลังโควิด” ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์มาก

Advertisement

เรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งในเอกสารการบรรยาย ก็คือ เรื่อง “Resilience” (ล้มแล้วลุกไว) ของภาครัฐ ซึ่งมีแนวความคิดสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ (1) พร้อมรับ (Cope), (2) ปรับตัว (Adapt) และ (3) เปลี่ยนแปลงเพื่อเจริญเติบโต (Tranform)

แนวความคิดเรื่อง Cope (พร้อมรับ) หมายถึง ความสามารถในการต้านทาน เยียวยา และฟื้นสภาพจากวิกฤต อันได้แก่

Resist คือ สร้างความสามารถที่จะต้านทานความยากลำบากจากวิกฤตได้โดยถอดรหัสบทเรียนของการพัฒนาที่ผ่านมา รวมถึงสามารถรับรู้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น (Sense of Urgency) อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

Advertisement

Cope คือ ขจัดจุดอ่อนและข้อจำกัดเดิมที่มี โดยต้องมีระบบหรือกลไกที่สามารถเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) และมีระบบที่พร้อมช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงทีเมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้น

Bounce Back คือ ฟื้นฟูประเทศให้กลับสู่สภาพปกติได้เร็วที่สุด

แนวความคิดเรื่อง Adapt (ปรับตัว) หมายถึง ความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น

คือ ความสามารถในการปรับเป้าหมายแนวทางหรือวิธีการ ที่เคยทำมาในอดีตหรือปัจจุบันให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงข้อผิดพลาดจากบทเรียนจากการดำเนินการในอดีต และสามารถสร้างทางเลือกใหม่จากโอกาสต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนไปสู่จุดที่ดีขึ้นได้อย่างรอบด้านและรอบคอบ

แนวความคิดเรื่อง Transform (เปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโต) หมายถึง ความสามารถในการพลิกโฉม

คือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบและปัจจัยพื้นฐาน เช่น โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างเชิงสังคมและสถาบัน (อาทิ ระเบียบ กฎหมาย นโยบาย ค่านิยม วัฒนธรรม) เพื่อเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ (radical change) อย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ตามเป้าหมายและแนวทางที่พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว เพื่อให้ประเทศก้าวหน้าและเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

แนวความคิดเรื่อง Resilience (ล้มแล้วลุกเร็ว) จึงมีส่วนสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) โดยการยกระดับ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคส่วนต่างๆ ให้ทันสมัยด้วย “เทคโนโลยี” และ “นวัตกรรม” พร้อมกันนี้ ก็ต้องทำการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำหลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) ด้วย

ทุกวันนี้ แนวความคิดเรื่อง Resilience นี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคเอกชนเช่นกันด้วย ครับผม !

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image