โคทม อารียา : ไปไม่ถูก อะไรจบ จบเมื่อไร

โคทม อารียา : ไปไม่ถูก อะไรจบ จบเมื่อไร

ที่ตั้งชื่อบทความนี้ว่า “ไปไม่ถูก” เพราะเมื่อ ส.ส. และ ส.ว. มีมติด้วยคะแนน 432 ต่อ 255 เสียง ให้เลื่อนการพิจารณาญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกไป 30 วัน เพื่อทาการศึกษา ผมเดาไม่ได้ ไปไม่ถูกว่า เขาจะเอาอย่างไรกันแน่ ที่ตั้งชื่อบทความด้วยว่า “อะไรจบ จบเมื่อไร” เป็นคาถามที่ทุกคนควรช่วยกันคิดว่าจะตอบอย่างไร ทั้งนี้ เนื่องมาแต่คาขวัญของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่บอกว่า “ขอให้จบในรุ่นเรา”

ที่ว่าไปไม่ถูกเพราะว่ามีหลายทางที่ ส.ส. และ ส.ว. 432 คนและรัฐบาล จะเลือกเดิน

ส.ส. พรรครัฐบาล ได้ยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยขอแก้ไขมาตรา 256 ซึ่งปัจจุบันบัญญัติว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องการเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของ ส.ส. + ส.ว. คือประมาณ 369 คน (เพราะปัจจุบันมี ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล 263 คน และฝ่ายค้าน 224 คน ส่วน ส.ว. มีเต็มพิกัด 250 คน) แต่มีเงื่อนไขเพิ่มว่าในบรรดา 369 คนดังกล่าว ต้องมี ส.ว. ที่เห็นด้วยกับการแก้ไขอย่างน้อย 84 คน และ ส.ส. ฝ่ายค้านอย่างน้อย 45 คน ส.ส. พรรครัฐบาลจึงขอแก้ไขมาตรา 256 ให้เป็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไปนี้ต้องการเสียงอย่างน้อย 3 ใน 5 คือ ส.ส. + ส.ว. อย่างน้อย 443 คนต้องเห็นด้วย (ถ้า ส.ว. ทั้ง 250 คนไม่เห็นด้วย รวมกับ ส.ส. อีก 45 คนที่ไม่เห็นด้วย ก็แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ แม้ ส.ส. ที่เหลืออีก 442 คนจะขอแก้ไขก็ตาม) ญัตติของ ส.ส. พรรครัฐบาลได้ตัดเงื่อนไข ส.ว. อย่างน้อย 84 คน และ ส.ส. ฝ่ายค้านอย่างน้อย 45 คนออกไป ทาทีว่าต่อไปจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ง่ายขึ้น ซึ่งไม่น่าจะใช่ ผมเดาว่าถ้า ส.ส. พรรครัฐบาลสามารถเกลี้ยกล่อม ส.ว. โดยอาศัยคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าการแก้มาตรา 256 ตามที่พวกเขาเสนอ จะไม่กระทบอานาจของ ส.ว. ในการเฝ้าระวังไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ดังใจ

แต่ที่เดายากคือการที่ ส.ส. พรรครัฐบาลเสนอให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นะซิ ส.ว. จะว่าอย่างไร ส.ส. พรรครัฐบาลก็คงแจงเส้นเวลา (time line) ว่า ถ้ามี ส.ส.ร. และกว่า ส.ส.ร. จะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็ต้องใช้เวลากว่า 2 ปี ถึงตอนนั้น ส.ว. คงอยู่ในตาแหน่งและรักษาประโยชน์ให้ตน ให้ผู้ที่แต่งตั้งตน และให้ประเทศชาติได้พอสมควรแล้วกระมัง

Advertisement

อย่างไรก็ดี ส.ว. จานวนหนึ่งอาจมีข้อพลิกแพลงอีก เช่น ส.ส. + ส.ว. ที่ไม่เห็นด้วยกับการมี ส.ส.ร. จานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 สามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เช่น อาจอ้างว่าการมี ส.ส.ร. จะขัดกับมาตรา 256 (8) ส.ส.ร. อาจกระทบต่อหน้าที่หรืออานาจของศาลหรือองค์กรอิสระเป็นต้น ทั้งนี้ มาตรา 256 (8) ระบุให้ทาประชามติว่าเห็นด้วยที่จะแก้ไขหน้าที่หรืออานาจดังกล่าวอย่างไรหรือไม่ จึงจะแก้ได้ ไม่ใช่ให้ ส.ส.ร. ไปยกร่างใหม่ หมายความตามที่อ้างคือ ถ้าจะมี ส.ส.ร. ได้ก็ต้องตัดมาตรา 256 (8) ออกไปก่อน ทว่า

ญัตติของ ส.ส. พรรครัฐบาลไม่ได้ขอแก้ มาตรา 256 (8) อ้าว! แล้วสมมุติว่าจะขอตัดมาตรา 256 (8) ออกตามญัตติของพรรคฝ่ายค้านเล่า กระนั้น ก็อาจมีการไปค้านที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดี เช่นอ้างว่า ถ้าจะมี ส.ส.ร. ต้องทาเป็นสองขั้นตอน คือแก้ มาตรา 256 โดยการลงประชามติเป็นขั้นตอนแรก แล้วเสนอญัตติการให้มี ส.ส.ร. อีกทีหนึ่งเมื่อแก้ มาตรา 256 แล้วเป็นขั้นตอนที่สอง โดยอ้างว่าไม่สามารถทาทั้งสองเรื่องในการลงประชามติคราวเดียวกันได้ ถ้าจะตั้ง ส.ส.ร. ต้องไปลงประชามติกันอีกครั้ง สรุปก็คือ ถ้าไม่อยากให้มี ส.ส.ร. ก็อาจดึงเกมไปเรื่อย ๆ ได้โดยอ้างว่า “ทาตามกติกา” แม้จะเลือกทาเท่าที่เข้าข้างผู้สร้างกติกาเท่านั้นเอง

สาหรับผม มี “กติกา” ข้อหนึ่งที่อยากให้ทาตาม นั่นคือทาตาม “นโยบายเร่งด่วน” ของรัฐบาลในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา รัฐบาลให้นักกฎหมายมือหนึ่งของรัฐบาลออกมาพูดเนียน ๆ ว่า ญัตติของ ส.ส. พรรครัฐบาลก็เหมือนญัตติของรัฐบาล แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 256 บัญญัติอย่างชัดเจนว่า ญัตติ “ต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจาก ส.ส. …” แล้วจะเหมือนกันได้อย่างไร ถ้าภายใน 30 วันที่รัฐสภาศึกษาญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ คณะรัฐมนตรีตัดสินใจเสนอญัตติขอแก้ไขที่เป็นฉบับของตน สังคมจะรู้ทันทีว่าผู้มีอานาจ “จะไปทางไหน” แล้วพลเมืองที่แข็งขันก็จะกาหนดใจ และ “ไปได้ถูก” เช่นกัน

Advertisement

พลเมืองจานวนหนึ่งกาลังฉงนฉงายกับการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่เช่นกัน ก่อนอื่น ขอบอกว่าผมสนับสนุนการเรียกร้อง “3-2-1” ได้แก่ ข้อเรียกร้อง 3 ข้อคือ “หยุดคุกคาม แก้ไขรัฐธรรมนูญ และยุบสภา” จุดยืน 2 ประการคือ “ไม่เอารัฐประหาร ไม่เอารัฐบาลแห่งชาติ” และความฝัน 1 ความฝันคือ “ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ” แต่ผมคิดว่าความฝันนั้นต้องใช้เวลาเพื่อทาให้เป็นจริงในทางจารีตประเพณี ในระหว่างนี้ คนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งยกประเด็นปฏิรูป 10 ข้อขึ้นมาถกเถียงในที่สาธารณะ ซึ่งยากต่อการทาให้ความเห็นและความรู้สึกลู่เข้าหากันภายใต้อารมณ์อันร้อนแรงได้ ยิ่งมีคากล่าวว่า “ให้จบในรุ่นเรา” ซึ่งก็ดีในฐานะการแสดงเจตจานง แต่มีความกากวมอยู่บ้างว่า “จบคืออะไร” ส่วนคาถามว่า “จบเมื่อไร” ส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับคาตอบของคาถามแรก

ขอให้ผมทดลองตอบคาถามแรกก่อน สาหรับผม “จบ” คือสังคมไทยปลอดจากการเอารัดเอาเปรียบ คือ ทุกคนได้รับการปลดปล่อยจากการกดขี่ในรูปแบบต่าง ๆ ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพส่วนตนและสามารถช่วยผู้อื่นให้มีสิทธิเสรีภาพด้วย ทุกคนมีความเสมอภาคในโอกาสแต่ก็สามารถเพิ่มโอกาสแก่ผู้ที่ด้อยโอกาสที่สุดได้ ทั้งนี้ เพราะเราอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความเอื้ออาทร ผมคิดว่าการ “จบ” เช่นนี้เป็น “ความฝัน” ที่เป็นผลของการต่อสู้อย่างไม่หยุดยั้ง ขอยกข้อเขียนของ ซีโมน เดอ โบวัวร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสมาอ้างประกอบความเห็นของผมดังนี้

“ไม่เคยเลยที่การเคารพเสรีภาพจะเป็นไปโดยไม่มีความยุ่งยาก บางที … เราไม่อาจเคารพเสรีภาพทุกเสรีภาพพร้อม ๆ กันได้เลย แต่เรื่องนี้หมายความเพียงว่า มนุษย์จะต้องยอมรับความตึงเครียดของการต่อสู้

จะต้องหาทางปลดปล่อยมนุษย์อย่างแข็งขันและไม่หยุดยั้ง โดยไม่เล็งหาสถานะที่สมดุลและการพักรบที่เป็นไปไม่ได้ … ไม่ว่าจะเผชิญปัญหาใด ๆ ไม่ว่าจะมีความล้มเหลวใดที่จะต้องรับไว้ ไม่ว่าจะมีความยุ่งยากใดที่จะเข้าไปพัลวันด้วย เขาจะต้องปฏิเสธการกดขี่อย่างสุดความสามารถ”

ผมไม่อยากให้ข้อความที่เพิ่งยกมาอ้างไปบั่นทอนกาลังใจของผู้ที่ต่อสู้ ผมผ่านการต่อสู้มาบ้างแล้ว และยอมรับว่ามันไม่จบในรุ่นผม แต่ก็ภูมิใจที่ในชีวิตนี้ ได้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของตนเองและของผู้อื่นพร้อมกันไปด้วย ผมขอยกย่องเจตนารมณ์ของคนรุ่นใหม่ที่จะต่อสู้ต่อไป แต่อยากจะเสนอว่า หนทางข้างหน้านั้นยาวไกล ควรเดินไปทีละก้าว สะสมความสาเร็จไปทีละเรื่อง ถ้าต้องถอยมาก้าวหนึ่ง ก็ขอให้มีกาลังใจก้าวต่อไป

อุปสรรคยังมีอีกมาก ผมอ่านข้อความบางข้อความจากสื่อที่แสดงถึงความแยกห่างจากกัน ผู้เห็นใจคนรุ่นใหม่ก็เชียร์เต็มที่ เช่นเขียนว่า “ผู้ชุมนุมได้แสดงให้เห็นวุฒิภาวะ … พวกเขาไม่พังประตู ไม่วิ่งไล่ทุบรถ … แม้จะมีคาด่าไม่น่าฟังสาหรับผู้มีมารยาทดีงามบ้างก็ตาม อาจจะน้อยมากเมื่อเทียบกับความอัดอั้นตันใจ ของมวลชน … ขณะเดียวกัน รัฐบาลและ ส.ว. ได้ปิดทางออกที่ควรจะมีไปอีกช่องทางแล้ว … คุณคิดว่าสามารถซื้อเวลา-ที่ไม่มีอยู่จริง ในทางกลับกัน คุณกาลังเร่งเวลาให้ถึงจุดจบ”

ในขณะเดียวกันผู้มีอานาจก็มองต่างมุม เช่นพูดถึงการชุมนุมที่ประกาศว่าจะมีขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมว่า “คงไม่ยอมเปิดให้มีพื้นที่การเคลื่อนไหว กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย เราไม่ยอมเขาก็ไม่ยอม เราห้ามเขาก็ฝ่าฝืน บังคับใช้กฎหมายเขาก็หาว่าไปกดดัน … ความขัดแย้งจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดประเทศชาติอยู่ไม่ได้ … รัฐบาลก็ระมัดระวังไม่ให้เกิดการปะทะ สื่อต้องช่วยลดแรงกระทบตรงนี้ เขาก็ทาไม่ได้ … เราต้องป้องกันทั้งสองฝ่ายมิให้มีการเผชิญหน้ากัน คนรักประเทศชาติมีตั้งหลายสิบล้านคน … การใช้ภาษาไม่ไพเราะบางทีความร่วมมือก็เกิดน้อย … คาพูดที่ไม่ถูกต้อง หยาบคาย ไม่มีใครรับได้หรอก”

ผมเองอยากขอร้องว่า อย่าใช้วจีกรรมและกายกรรมที่รุนแรง พยายามตั้งสติเมื่อโกรธ และแผ่เมตตาและให้อภัยแก่ฝ่ายที่เราคิดว่าอยู่ตรงกันข้ามบ้าง

ผมขอเสนอว่า ฝ่ายที่เคลื่อนไหวสามารถเล็งเป้าหมายระยะยาวที่เรียกว่าความฝัน ขณะเดียวกันก็เล็งเป้าหมายระยะกลางและระยะสั้น ภารกิจสาคัญในปัจจุบันคือให้รัฐสภายอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แก้ไขมาตรา 256 และแก้ไขเพิ่มเติมให้มี ส.ส.ร. ส่วนภารกิจระยะกลางคือการให้ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ ให้เริ่มมีการกระจายอานาจ รวมทั้งช่วยกันสอดส่องดูแลการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะมีขึ้นในไม่ช้านี้ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

โคทม อารียา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image