รู้สิ่งใด ไม่สู้รู้จักตนเอง โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

คนเราส่วนมากเวลาที่ทุกข์เกิดขึ้นมักจะโทษคนอื่น กล่าวหาคนอื่น ด่าคนอื่น ชี้หน้าคนอื่นยังไม่พอ ยังนินทา โทษ ต่อว่าคู่กรณีข้ามวันข้ามคืน ไม่มีวันจบสิ้น เรียกว่า เป็นทุกข์ชั่วนิรันดร์กาล

หากเราพิจารณาวิเคราะห์อย่างหยาบๆ จนไปถึงละเอียดสุดสุด ด้วยใจเป็นกลางใจเป็นธรรม ก็จะพบว่า “ทุกข์” จากรักชอบ โลภ โกรธ และดีใจ เสียใจ ต้นเหตุแห่งความ “ทุกข์” ของคนเราล้วนมีที่มา จริงๆ แล้วเกิดจากตัวเราเองทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ประจักษ์กับความจริงเกี่ยวกับตนเองแล้ว เราย่อมจะสามารถขจัดความทุกข์ทั้งปวงได้ดังปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวไว้ว่า “จงรู้จักตัวเอง” หากเราไม่เริ่มด้วยการทำความรู้จักธรรมชาติของตัวเองเสียก่อน เราจะไม่มีวันแก้ปัญหาของตัวเอง หรือปัญหาอื่นใดในโลกนี้ได้เลย

ที่จริงแล้วลองถามตัวเองดูซิว่าเรารู้อะไรกับตัวเองบ้าง ทุกๆ คนต่างถูกชักจูงให้เชื่อว่า “ตนเองมีความสำคัญ เก่ง ดีเลิศประเสริฐศรี” มีหากเราพิจารณาวิเคราะห์อย่างหยาบๆ จนไปถึงละเอียดสุดสุด ด้วยใจเป็นกลางใจเป็นธรรม ก็จะพบว่า “ทุกข์” จากรักชอบ โลภ โกรธ และดีใจ เสียใจ ต้นเหตุแห่งความ “ทุกข์” ของคนเราล้วนมีที่มา จริงๆ แล้วเกิดจากตัวเราเองทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ประจักษ์กับความจริงเกี่ยวความเป็นหนึ่งเดียวไม่มีใครเหมือน แต่ความจริงแล้วเรามีความรู้เกี่ยวกับตัวเอย่างตื้นๆ มาก หากสำรวจให้ลึกลงไปจริงๆ มากกว่านี้ เราจะพบว่าเราไม่รู้จักตัวเองเลย ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “ศิลปะการดำเนินชีวิต”เขียนโดยวิลเลียม ฮาร์ท กล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงศึกษาปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับชีวิต “มนุษย์” ด้วยการสำรวจธรรมชาติในตัวของพระองค์เอง ทรงสำรวจความแท้จริงภายใน โดยไม่นำพากับความเชื่อใดๆ ที่เคยรับรู้ กระทั่งพบว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนประกอบด้วย ขันธ์ 5 หรือกระบวนการทั้งห้าอันเป็นกระบวนทางจิต 4 ประการ และกระบวนการกายอีก
1 ประการ

Advertisement

รูปหรือกาย : เริ่มจากกระบวนทางกาย เพราะเป็นส่วนที่เห็นเด่นชัดที่สุดของคนเรา ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 6 แต่เรากลับรู้จักร่างกายของตัวเองน้อยมาก (เรื่องจริงที่เกิดขึ้นโลกนี้) ถึงแม้เราจะควบคุมร่างกายภายนอกได้บังคับได้ให้มันเคลื่อนไหวและกำลังต่างๆ ตามแต่ “จิตสำนึก” จะสั่งการ แต่ภายในร่างกายนั้น

อวัยวะต่างๆ ล้วนทำงานนอกเหนือการควบคุมของเราโดยเจ้าตัวไม่เคยได้รับรู้ในระดับที่ลึกลงไปกว่านั้น เรายิ่งไม่รู้เลยว่ากำลังมีปฏิกิริยาด้านชีวเคมีเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนในทุกอณูของร่างกาย แต่นี้ยังไม่ใช่ความจริงสูงสุดที่เกี่ยวกับ “รูป” เพราะในระดับที่ลึกที่สุดนั้น ร่างกายเห็นอยู่นี้เป็นเพียงกลุ่มก้อนที่ประกอบขึ้นจากช่องว่างและอนุปรมาณูที่เป็นเพียงอนุภาคเล็กๆ ปราศจากรูปทรงอันถาวรอย่างใด แต่ละอนุภาคเหล่านี้เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาคล้ายกับคลื่นความสั่นสะเทือน และนี่คือ “สัจธรรม” ของรูปกายและของสสารทั้งหลาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบเมื่อกว่า 2500 ปีที่แล้ว

นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ค้นพบความเร้นลับเกี่ยวกับโลกของสสาร และยอมรับว่าเป็นจริงดังที่ “พระพุทธองค์ทรงค้นพบ” แต่พวกเขากลับไม่อาจหลุดพ้นจากความทุกข์ เพราะนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ล้วนทุ่มเท “สติปัญญา” และพึ่งพาเครื่องมือทั้งหลายในการศึกษาค้นคว้าธรรมชาติของจักรวาล เพียงเพื่อต้องการพิสูจน์ทฤษฎีของตนในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์ที่จะเข้าถึง

Advertisement

เหตุแห่งทุกข์ เพื่อหาหนทางดับทุกข์ โดยมิใช้เครื่องมืออื่นใดนอกจากจิตของพระองค์ ความจริงแท้ที่ทรงค้นพบจึงมิได้เกิดจากการตรึกตรองด้วยสติปัญญาแต่เป็นประสบการณ์ตรงของพระองค์เอง ยังเป็นผลที่ทรงสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า สสารทั่วทั้งจักรวาลประกอบขึ้นด้วยอนุปรมาณู ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด ภาษาบาลีเรียกว่า “กลาปะ” หรือ “หน่วย” ที่แบ่งแยกอีกไม่ได้ หน่วยเหล่านี้มีคุณลักษณะพื้นฐานของสสารมีผันแปรจนไม่อาจนับได้ถ้วน อันได้แก่ มวล (ธาตุดิน) ความเป็นกลุ่มก้อน (ธาตุน้ำ) อุณหภูมิ (ธาตุไฟ) และความเคลื่อนไหว (ธาตุลม) อนุภาคเหล่านี้รวมตัวกันเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ดูน่าจะคงทนถาวร แต่ความจริงแล้วเป็นแค่สสารที่ประกอบขึ้นจาก “กาลปะ” อันมีสภาพเกิดดับ เกิดดับอย่างรวดเร็ว นี่คือความจริงสูงสุดเกี่ยวกับสสาร ซึ่งเป็นเพียงกระแสความสั่นสะเทือนของคลื่นและอนุภาคเท่านั้น และนี่คือความจริงเกี่ยวกับร่างกายที่เรียกว่า “ตัวเรา”

นามหรือจิต : นอกจากกระบวนการทางกายแล้ว จะมีกระบวนการทางจิตควบคู่กันไป ที่แม้ไม่อาจมองเห็นและสัมผัสได้แต่ดูเหมือนเราจะใกล้ชิดกัน “จิตใจ” มากกว่าร่างกายเสียอีก เวลานึกถึงเรื่องราวในอนาคต เราอาจไม่จำเป็นต้องวาดภาพตัวเองไปด้วย แต่เราไม่อาจจินตนาการได้ปราศจากจิต ถึงกระนั้นเรากลับรู้เรื่องเกี่ยวกับจิตน้อยมาก ทั้งยังไม่สามารถควบคุมมันได้ดังใจ บ่อยครั้ง “จิต” ไม่ยอมทำตามที่เราต้องการ แต่กลับทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ ความสามารถในการควบคุมจิตสำนึกก็นับว่าเปราะบางมากอยู่แล้ว ถ้าเป็น “จิตไร้สำนึก” ยิ่งดูเหมือนอยู่นอกเหนืออำนาจและความเข้าใจของเรา ทั้งที่ยังเปี่ยมไปด้วยพลังที่เราไม่อาจหยั่งถึงหรือไม่อยากคล้อยตาม

ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงสำรวจรูป (กาย) และนาม (จิต) พระองค์ได้พบว่า “จิต” ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ส่วนที่ 1 : เรียกว่า “วิญญาณ” คือ “การรับรู้ของจิต” โดยไม่แยกแยะหรือประเมิน ส่วนนี้ของ “จิต” มีหน้าที่เพียงรับรู้ว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือทางจิต แต่จะไม่จำแนกหรือตัดสิน

ส่วนที่ 2 : เรียกว่า “สัญญา” คือ “จำได้หมายรู้” จิตส่วนนี้แยกแยะสิ่งที่สัญญาณรับรู้โดยจัดประเภทและประเมินด้วยว่าเป็นบวกหรือลบ ดีหรือไม่ดี ส่วนนี้จำได้หรือประเมินค่าได้

ส่วนที่ 3 : เรียกว่า “เวทนา” คือ การรับรู้ความรู้สึกที่ร่างกาย โดยแท้นั้นทันทีวิญญาณรับรู้ ก็จะมีความรู้สึกเกิดที่ร่างกายเป็นสัญญาณว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว แต่เมื่อใดที่ยังไม่ถูกประเมิน ความรู้สึกจะยังเป็นกลางอยู่ จนเมืองได้รับการประเมินค่า เช่น ถ้าประเมินว่า “ดี” ก็จะรู้สึกว่าพอใจ ถ้าไม่มี ก็ไม่พอใจ

ส่วนที่ 4 : เรียกว่า “สังขาร” คือ การปรุงแต่งตอบโต้ต่อความรู้สึก ถ้าความรู้สึกเป็นที่น่าพอใจ “จิต” ส่วนนี้จะปรุงแต่งตอบโต้ต่อความรู้สึก ถ้าความรู้สึกเป็นที่น่าพอใจ “จิต” ส่วนนี้จะปรุงแต่งว่า “ชอบ” อยากให้ความรู้สึกนั้นยาวนานขึ้น พอใจมากขึ้น แต่หากเป็นความรู้สึกไม่น่าพอใจก็จะปรุงแต่ว่า “ไม่ชอบ” อยากขจัดออกไป

จิตคอยปรุงแต่

ว่าชอบหรือชั่วตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น ในความปกติ เมื่อหูได้ยินเสียงขณะนั้น “สัญญาณ” กำลังทำงานว่าได้ยินเสียง และเมื่อเราจำได้ว่า “เสียงนั้น” เป็นคำพูดไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม นั้นคือการทำงานของ “สัญญา” จากนั้นเป็นหน้าที่ของ “เวทนา” หรือการรับรู้ความรู้สึกที่ร่างกาย ถ้าเป็นคำชมเชยก็จะรู้สึกว่า “สบาย”

ถ้าเป็นคำ “ด่าทอ” ก็จะรู้สึกว่า “ไม่สบาย” “ไม่พึงพอใจ” ทันทีที่เวทนาเกิดขึ้น “จิต” เริ่มปรุงแต่ง “สังขาร” ถ้าเป็นความรู้สึกสบาย จิตจะปรุงแต่งว่า “ชอบ” และอยากได้ยินคำชม แต่ถ้าเป็นความรู้สึกไม่สบาย ไม่พึงพอใจ ก็จะปรุงแต่งว่า “ไม่ชอบ” และอยากให้หยุดคำด่าทอนั้นเสีย

การทำงานของ “จิต” ทางทวาร รับรู้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น “ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ” ก็เป็นลำดับเดียวเช่นกัน คือ สัญญาณ รับรู้ สัญญาจำได้ หมายรู้และประเมิน เวทนา รับรู้ความรู้สึกที่ร่างกาย สังขาร ปรุงแต่งโต้ตอบ จิตทั้ง 4 ส่วน ทำหน้าที่รวดเร็วยิ่งกว่าการเกิดดับของอนุภาค ประกอบขึ้นเป็น “สสาร” เสียอีก ทุกครั้งที่ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งที่มากระทบ กระบวนการของ 4 ของจิตจะปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว ราวสายฟ้าแลบ และจะทำงานซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างรวดเร็ว หากยังมีการสัมผัสเกิดขึ้นต่อไปโดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากกรณีที่ปฏิกิริยาบางอย่างเกิดขึ้นซ้ำๆ กับเป็นเวลานานๆ กระทั่งมีความรุนแรงและชัดเจนจนจิตสำนึกของเราสามารถรับได้

หากเรามาพิจารณาบรรยายลักษณะของ “มนุษย์” เรานั้น ส่วนที่เป็น “ความโดดเด่นที่สุด” กลับเป็นลักษณะที่ไม่อาจอธิบายได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร ชาวตะวันตกหรือชาวตะวันออกเป็นชาวคริสต์ ชาวยิว ชาวมุสลิม ชาวฮินดู ชาวพุทธ หรือไม่นับถือศาสนาใดเลย แต่ละคนที่เกิดมามี “ความยึดมั่นมาแต่กำเนิด” ว่ามี “เรา” อยู่ ณ ที่หนึ่งภายในกายนี้ ซึ่งเป็น “อัตลักษณ์เฉพาะตน” เราจึงดำเนินชีวิตไปโดยทึกทักเอาว่า เราเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับเราในปัจจุบัน ก็คือ บุคคลคนเดียวกัน และยังเป็นคนเดียวกับในอีก 10 ปีข้างหน้า

แม้ในชีวิตหน้าเราก็ยังสำคัญจะเป็นคนเดียวกัน แต่ไม่ว่าจะยอมรับในทฤษฎี ปรัชญา หรือความเชื่อใดๆ ทุกคนล้วนดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อมั่นที่ฝังลึกว่า “เราเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้”

“พระพุทธเจ้า” ทรงคัดค้านความเชื่อตามสัญชาตญาณข้อนี้โดยอธิบายความจริงที่ประสบด้วยพระองค์เอง ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทรงกล่าวว่า ความเห็นดังนี้นั้นอนาคตกำจัดเสียแล้ว ตถาคตเห็นแล้วว่า…

ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิด ความดับ แห่งรูป

ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิด ความดับ แห่งเวทนา

ดังนี้ สัญา ดังนี้ ความเกิด ความดับ แห่งสัญญา

ดังนี้ สังขาร ดังนี้ ความเกิด ความดับ แห่งสังขาร

ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิด ความดับแห่งวิญญาณ…ไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image