‘สี จิ้นผิงž’ เจริญรอย ‘เติ้งเสี่ยวผิงž’ เยือนใต้ตรวจราชการมณฑลกวางตุ้ง เน้นย้ำพึ่งพาตนเอง ปฏิรูปเปิดกว้างต่อเนื่อง

การเยือนใต้ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อกลางเดือนตุลาคม ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่กินใจอยู่ 2 ประเด็นในขณะที่ตรวจราชการที่เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) และร่วมงานฉลองครบรอบ 40 ปีแห่งการสถาปนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น หนึ่ง ที่เฉาโจว ให้เดินบนเส้นทางพึ่งพาตนเองที่มีมาตรฐานสูงกว่าเดิมŽ

สอง ที่เซินเจิ้น ต้องผลักดันการปฏิรูปเปิดกว้างอย่างต่อเนื่องŽ

ล้วนเป็นการบ่งบอกในเชิงสัญลักษณ์ว่า บัดนี้เรากำลังอยู่ในห้วงการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 100 ปีŽ

วลี “พึ่งพาตนเองŽ” ชวนให้คิดถึงคำขวัญในสมัยปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยคาดเดากันว่า ประเทศจีนจะกลับไปย่ำรอยเก่าหรือไม่ รอยเก่านั้นคือ ปิดประเทศ

Advertisement

หากพิเคราะห์ในทางตรรกะ วันนี้ภายในแผ่นดินใหญ่กระแสปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงแล้ว เพราะว่า ระบบห่วงโซ่โลกาภิวัตน์ไม่เปิดโอกาส กล่าวคือไม่ว่าประเทศใดในโลกไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างโดดเดี่ยว
หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐทำการสกัดจีนอย่างเต็มรูปแบบ

ท่ามกลางวิกฤตไวรัสระบาด ตลอดจนการแข่งขันชิงชัยการเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐ เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐตกต่ำสุดขีดในรอบหลายสิบปี กระทบสถานการณ์ทั่วโลก สรุปโดยรวม เพราะความเจริญเติบโตของจีน กระทบถึงความเป็นใหญ่ของสหรัฐเกี่ยวกับการเป็นผู้นำของระเบียบสากล ทั้งนี้ สหรัฐต้องการสกัดกั้นจีนมิให้ร่วมสร้างระเบียบสากล คือ ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยปรากฏในรอบ 100 ปี

ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เซินเจิ้นก็ต้องพัฒนาต่อไปได้ ปฏิเสธมิได้ว่า ความก้าวหน้าของเซินเจิ้น ได้รับอานิสงส์จากนโยบายการปฏิรูปเปิดประเทศ และต่อแต่นี้ไป เซินเจิ้นจะต้องกลายเป็นเมืองนำร่องของนโยบายปฏิรูปเปิดประเทศในเชิงลึก

Advertisement

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวสุนทรพจน์พรรณาความทันสมัยของเซินเจิ้นได้เกิดจากพันธกิจของอดีต บัดนี้ ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปในเชิงลึก และผลักดันการพัฒนาให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ทั้งนี้หมายความรวมถึงการก่อสร้างสาธารณูปโภคระหว่างอ่าวกว่างตง ฮ่องกง และมาเก๊า
(Greater Bay Area) เพื่อให้บรรลุผลการพัฒนาแนวใหม่ตามนโยบายหนึ่งประเทศสองระบบ

รัฐบาลจีนกำหนดให้เซินเจิ้นเป็นเมืองนำร่องสำหรับการสร้างสาธารณูปโภคใน Greater Bay Area อันต้องบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานชั้น 1 ของโลก

เซินเจิ้นจะต้องมีบทบาทเป็นผู้นำในพื้นที่ดังกล่าว

อดีต เซินเจิ้นเป็นหุ้นส่วนกับฮ่องกงอันเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนา อีกทั้งเป็นคู่แข่งที่สำคัญ จึงมีคำถามว่า เซินเจิ้นจะนำหน้าฮ่องกงหรือไม่

ปัจจุบัน เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป คำถามจึงมิใช่เซินเจิ้นจะเข้าแทนที่ฮ่องกงได้หรือไม่ หากเป็นประเด็นที่ว่า ฮ่องกงจะสู้เซินเจิ้นได้หรือไม่

สี จิ้นผิงกล่าวว่า ในด้านภูมิศาสตร์ เซินเจิ้นมีความเหมาะในการนำพาการพัฒนาของ Greater Bay Area ให้เเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้นไป โดยต้องให้น้ำหนักด้านคุณภาพ

อีกทั้งมุ่งหน้า เสริมสร้างและปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลักดันในเชิงลึกอันเกี่ยวกับก่อสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่อ่าว อันเป็นโครงการยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของจีน

ว ลี พึ่งพาตนเองŽ น่าจะเป็นนัยสื่อไปในทางที่ไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอก
ในสมัยปฏิวัติทางวัฒนธรรม คำขวัญดังกล่าวปรากฏอย่างดาษดื่นทั่วประเทศ

จึงชวนให้คิดถึงบทความของ เหมา เจ๋อตงŽ ฉบับวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.1945 ซึ่งได้อ้างอิงถึงคำขวัญดังกล่าว อันเกิดจากเบื้องหลังของสงครามต่อต้านญี่ปุ่นใกล้จะยุติ รัฐบาลประชาชาติได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ เป็นเหตุให้จีนคอมมิวนิสต์ไม่ได้รับหลักประกันขั้นพื้นฐานที่ควรได้ และยังมีความเป็นได้ที่จะก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง

ดังนั้น เหมา เจ๋อตงŽ จึงเน้นย้ำให้ พึ่งพาตนเองŽ โดยให้เหตุผลว่า เราสามารถพึ่งตนเองในการก่อตั้งกองกำลัง ไม่ว่าผู้ต่อต้านจะเป็นจีนหรือจากภายนอก จะต้องปราบให้หมดสิ้นŽ

ส่วนคำว่า พึ่งพาตนเองŽ ของ สี จิ้นผิงŽ นั้น เป็นอีกนัย 1 เขากล่าวขณะที่เยือนโรงงานอิเล็กทรอนิกที่เมืองเฉาโจว ความว่า ธุรกิจต้องพัฒนา ผลผลิตต้องยกระดับ เศรษฐกิจต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพ ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องพึ่งพาตนเองŽ

หากมิได้หมายความถึงความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐ หรือเหตุการณ์ที่จีนได้ประสบพบพานในสังคมโลก ในขณะที่สมัยปฏิวัติทางวัฒนธรรม ก็เพราะขณะนั้นจีนถูกระบบทุนนิยมอย่างสหรัฐและประเทศตะวันตกปิดล้อม จีนจึงจำต้องพึ่งพาตนเอง2 สมัย 2 เหตุการณ์ มีความต่าง ต่างกันราวฟ้ากับดิน

สรุป การเยือนเซินเจิ้นครั้งนี้ สี จิ้นผิง มีบัญชาให้เซินเจิ้นต้องปฏิรูปในเชิงลึก ก็เพราะ 40 ปีมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว อดีต เซินเจิ้นจากพื้นที่ทะเล เรือกสวนไร่นา ป่าเขาลำเนาไพร
บัดนี้ เซินเจิ้นกลายเป็น 1 ใน 5 เมืองใหญ่ของเอเชีย

ย้อนมองอดีต เซินเจิ้นเมื่อ 40 ก่อน วันที่ 26 สิงหาคม 1980 สภาผู้แทนประชาชนจีนอนุมัติให้เมืองเซินเจิ้น จูไห่ ซัวเถาของมณฑลกวางตุ้ง และเมืองเซี่ยเหมินของมณฑลฝูเจี้ยนเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษŽ
26 สิงหาคม 2020 เป็นวันครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น

ปีแรกของการก่อตั้ง พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นทะเล ส่วนหนึ่งเป็นที่ว่างเปล่าและความวิเวก ส่วนหนึ่งเป็นเรือกสวนไร่นา ที่พักของเกษตรกรคือกระท่อมปลายนา

บัดนี้เซินเจิ้นกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดของจีน นอกจากเป็นเมืองทันสมัยที่สุดเมือง 1 ของจีน ยังติดอันดับเมืองเจริญรุ่งเรืองของโลก
และมีตัวเลขที่เตะตาคือจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจครั้งล่าสุดปี 2020 จำนวนประชากรคือ 13.43 ล้านคน
ในขณะที่ 1980 คือปีที่เริ่มก่อตั้งเขตเศรษฐกิจมีเพียง 8 แสนคน

เซินเจิ้นŽ มีความเจริญในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม

ทั้ งนี้ เพราะมีเสาหลัก เติ้ง เสี่ยว ผิง ที่เปี่ยมด้วยสติปัญญาและวิริยภาพ ดำเนินงานการเมืองตามนโยบายของพรรคที่แน่วแน่เด็ดขาด และมีผู้บริหารระดับสูงอันมีนายกรัฐมนตรีเป็นอาทิ
ล้วนทำงานด้วยหัวใจและไม่จัดฉากสร้างภาพ

จุดเด่นของนายกรัฐมนตรีจีนทุกคนมีหลายประการ
1 มีวุฒิภาวะ เหมาะสมกับตำแหน่ง
1 การพูดจาชัดถ้อยชัดคำ ไม่รัวไม่มั่ว และเน้นเนื้องาน ไม่ว่าระดับใดก็ฟังเข้าใจ
1 ไม่ตะคอกนักข่าว ไม่ชี้หน้าคนฟัง ไม่เคาะโพเดียม
1 ไม่พูดจาจาบจ้วง หรือแสดงอาการก้าวร้าวใดๆ ต่อสาธารณชน
1 ไม่เดินส่ายไปมาเหมือนกังหันต้องลม หรือชะมดติดจั่น
1 ไม่ทำตัวเป็นศัตรูกับประชาชน

ปีแรกที่ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจเซิ้นเจิ้นคือ 1980 เติ้ง เสี่ยว ผิง ในวัย 77 เป็นการพลิกฟื้นยืนตนจากพิษการเมืองครั้งที่ 3 ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการ

นอกจากนี้ ยังต้องทำงานใหญ่คือปฏิรูป ก่อนอื่นต้องกำจัดพวกอนุรักษนิยมที่เป็นขวากหนาม และเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจที่ล้าหลังให้เป็นระบบเศรษฐกิจตลาด ขณะนั้นยังมองไม่เห็นแบบอย่างสำเร็จรูป จึงได้ทำการเปรีบยเทียบเรื่องเศรษฐกิจของคนจีนระหว่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ในที่สุดเห็นว่าสิงคโปร์น่าจะเป็นแบบอย่างให้แก่จีนได้

จึงตัดสินใจใช้ สิงคโปร์โมเดลŽ

เติ้ง เสี่ยว ผิงได้เรียนรู้จากลี กวน ยิว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น โดยคนแรกใช้หลักปฏิบัติ และคนหลังใช้หลักทฤษฎี ผู้นำทั้งสองได้เห็นพ้องต้องกันในหลักการทำงาน
ตั้งแต่ 1980–1990 ลี กวน ยิวŽ ไปเซินเจิ้นทุกปีเพื่อติดตามผลงาน
เวลา 10 ปีเต็ม พระอาทิตย์ไม่ลืมวันฉันใด ลี กวน ยิว ไม่ลืมจีนฉันนั้น
ทุกครั้งที่ไปพบว่าจีนมีความก้าวหน้าทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอกชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้ารายย่อย ไม่ว่าจะเป็นความเจริญทางสังคม
ปี 1984 จีนเริ่มเปลี่ยนเป็นระบบเศรษฐกิจตลาด และในปีเดียวกัน เติ้ง เสี่ยวผิง ไปตรวจราชการที่เซินเจิ้น พร้อมทั้งให้แนวทางการปฏิบัติงาน โดยเน้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อีกทั้งให้ความสนใจแบบแผนของสิงคโปร์อันเกี่ยวกับการระดมทุนนอกเข้ามาทำการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจ วิธีการสร้างงานให้แก่ประชาชนและการผลิตบุคลากร
จึงได้ลอกเลียนแบบการระดมทุนเต็มตามอินวอยซ์ไปใช้ที่เซินเจิ้น
เพื่อสร้างให้เป็นระบอบทุนนิยมในลัทธิสังคมนิยม
ในสมัยนั้น ผู้อาวุโสของจีนที่ร่วมกันสร้างประเทศมีความเห็นแตกต่างและเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องการปฏิรูป เนื่องจากความคิดเก่ายังอยู่ในสมอง เพราะคิดกันว่า ถ้าทำการปฏิรูปแล้ว ความหมายของสังคมนิยมก็จะหมดไป เติ้ง เสี่ยวผิง เกิดความกังวล จึงได้เดินทางไปยังเมืองทางตอนใต้ของจีนเดือนมกราคม 1992 ซึ่งได้แก่ เซินเจิ้น จูไห่ เซี่ยงไฮ้

ทั้ งนี้ เพื่อไปอธิบายให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับนโยบายในการปฏิรูปเปิดประเทศ และโน้มน้าวให้ประชาชนสนับสนุนงานชิ้นนี้ด้วย ถือเป็นงานยากและหนักสำหรับคนในวัย 88
บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์ว่า สิงคโปร์โมเดลŽ ทำการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้นนั้น

ประสบความสำเร็จ

แต่ในเซินเจิ้นยังมีปัญหามากมาย เป็นต้นว่า ความล้าหลังระบบนิติรัฐ การทุจริตฉ้อราษฎ์บังหลวง สินค้าปลอมแปลง สินค้าหนีภาษี ยาเสพติด การชิงทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ เกิดขึ้นเสมือนอาหารประจำวัน

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ต้องถือเป็นความสำเร็จของประชาชนจีน เป็นความสำเร็จของรัฐบาลจีนอย่างแท้จริง

การที่เซินเจิ้นมีวันนี้ ที่สำคัญที่สุดคือคนจีนมีความเป็นเอกภาพ จีนมีทั้งสีเหลืองและสีแดง แต่คนจีนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ส่วนสีแดงนั้นคือ สีธงชาติ สีเหลือง คือดาว 5 ดวงบนธงชาติ

ความเป็นเอกภาพของประชาชน รัฐบาลจีนอนุญาตให้ลอกเลียนแบบได้ มิได้สงวนลิขสิทธิ์

ศ.ชยานันต์ ศุกลวณิช

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image