คอลัมน์หน้า 3 : จังหวะ การเมือง จาก #ม็อบ24มีนาคม แผ่วลง หรือมิใช่

คอลัมน์หน้า 3 : จังหวะ การเมือง จาก #ม็อบ24มีนาคม แผ่วลง หรือมิใช่

คอลัมน์หน้า 3 : จังหวะ การเมือง จาก #ม็อบ24มีนาคม แผ่วลง หรือมิใช่

ไม่ว่ายักษ์ระดับ “ไทยรัฐ” ไม่ว่ายักษ์ระดับ “มติชน” ไม่ว่ายักษ์ระดับ “ข่าวสด” ไม่ว่ายักษ์ระดับ “เดลินิวส์” รายงานสถานการณ์#ม็อบ24มีนาคมตรงกัน

นั่นก็คือ “พรึบ”

นักข่าวในสนามบางคนยังตั้งข้อสังเกตเมื่อประสบเข้ากับบรรยากาศในระหว่างการชุมนุม ณ บริเวณแยกราชประสงค์ว่า

Advertisement

“แฟลชม็อบ” หวนกลับมา

ความหมายก็คือ การนัดกันเปิดไฟจาก “สมาร์ทโฟน” สะบัดกวัดแกว่งไปมาเหมือนกับ “ป้ายไฟ” ในคอนเสิร์ต และการชุมนุม

เป็นบรรยากาศเมื่อเดือนตุลาคม 2563

Advertisement

ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแยกปทุมวัน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ 5 แยกลาดพร้าว ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแยกเกษตร บางเขน

นั่นคือ บทสรุปจาก#ม็อบ20มีนาคม

เหตุปัจจัยอะไร “สื่อ” กระแสหลักโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์จึงได้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงต่อ#ม็อบ24มีนาคม ณ แยกราชประสงค์

คำตอบ 1 เพราะเกิดขึ้นที่ “ราชประสงค์”

ต้องยอมรับว่า “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เข้าใจเลือกสถานที่ เพราะพลันที่เป็นแยกราชประสงค์ภาพจาก “อดีต” ก็ปรากฏ

ไม่ว่าจะเป็นอดีตเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

ไม่ว่าจะเป็นอดีตเมื่อ บก.ลายจุด นายสมบัติ บุญงามอนงค์ สร้างปรากฏการณ์ “ที่นี่มีคนตาย” ภายหลังสถานการณ์นองเลือดครั้งนั้น

อันเป็นที่มาของคำว่า “แนวนอน” ทางการเมือง

คำตอบ 1 เพราะว่าการนัดชุมนุมเคลื่อนไหวโดย “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เกิดขึ้นภายหลังสถานการณ์#ม็อบ20มีนาคมที่สนามหลวง

เกิดคำถามว่าจะ “จุดติด” หรือไม่

คำถามว่าด้วยจุดติดหรือไม่ติดไม่เพียงเพราะความรุนแรงเมื่อคืนวันที่ 20 มีนามจะเป็นเรื่องหวาดเสียวอย่างยิ่ง หากแต่ยังอยู่ที่ “กระแส” ของการชุมนุม

เนื่องจาก “แกนนำ” ถูก “รวบตัว” คนแล้วคนเล่า

เป็นการรวบตัวพร้อมกับข้อกล่าวหาตามมายาวเหยียด เป็นการรวบตัวโดยส่วนหนึ่งไม่ได้รับการประกันตัว

และถูก “กักขัง” ทั้งๆ ที่ยังไม่มี “คำพิพากษา”

เป็นการรวบตัวขณะที่กล่าวสำหรับบรรยากาศการชุมนุมนับแต่#ม็อบ28กุมภาพันธ์เป็นต้นมีการใช้มาตรการ “เข้ม” ในการสกัดขัดขวางและสลาย

แล้วการนัดหมาย ณ แยกราชประสงค์จะ “เวิร์ก” ละหรือ

การณ์กลับปรากฏจากรายงาน ไม่ว่าจะจาก “สื่อเก่า” อย่างหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ไม่ว่าจะจาก “สื่อใหม่” อย่างทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ตรงกัน

นั่นก็คือ บรรยากาศคึกคักเหมือนเมื่อปี 2563

จากสถานการณ์#ม็อบ24มีนาคมบ่งชี้แนวโน้มค่อนข้างเด่นชัดว่า ที่เชื่อกันว่าม็อบฝ่อ ม็อบแผ่วนั้น กลับไม่เป็นความจริง

ที่ว่ากระแส “ตก” ก็มิใช่

เพียงแต่ว่ามี “สถานการณ์” อะไรไปกระตุ้นและเร้าให้คนที่เคยออกมาเคลื่อนไหวตลอดครึ่งปีหลังของปี 2563 มีความรู้สึกว่าต้องออกมาหรือไม่

นั่นก็ขึ้นกับการตัดสินใจในแต่ละกรณีของ “รัฐบาล” ด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image