‘สติ’มาเร็ว…‘ปัญญา’เกิดเร็ว โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ในสังคมยุค “New Normal” อันเกิดจาก Covid-19 นำมาสู่ปัญหาที่หลากหลายนอกจากปัญหาการเจ็บป่วย ณ ศักราชนี้ ที่ตามมาไม่หยุดหย่อนคือภาวะ “ข้าวยาก-หมากแพง” รายได้น้อย รายจ่ายมากขึ้น สังคมเกิดความเหลื่อมล้ำ “ใจ” คนที่เคยมีไมตรีจิตก็เปลี่ยนไป มีการเอารัดเอาเปรียบแก่งแย่งกัน ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้อภัยต่อกัน เห็นแก่ตัวมากขึ้น เกิดความเกรงใจกันน้อยลง ที่สำคัญคือ การเหยียดหยาม ความหิวโหย ไร้ที่อยู่ ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวเราจะพบบ่อยขึ้นโดยเฉพาะ “คนทำมาหากิน” ปากกัดตีนถีบต่อสู้กับความหิวโหย ย่อมนำสู่ “ความบันดาลโทสะ” หรือที่เรียกๆ กันว่า “ความโกรธ” ด้วยขาดความยั้งคิดให้ดี รอบคอบก่อนที่จะ “คิด พูด ทำ” ด้วยอารมณ์แปรปรวนขาดการควบคุมที่ดี

วิธีการควบคุมความคิดมิให้นำไปสู่ “ความโกรธ” หรือ “โทสะ” มีหลายวิธี แล้วยังต้องมีอีกหลายวิธีที่จะใช้ได้ผลเฉพาะบุคคลไป เป็นสิ่งสมควรอย่างยิ่ง ผู้ที่เห็นโทษของ “โทสะ” จะพยายามคิดค้นมาใช้แก้ไขให้ตนเอง “เรื่องของโทสะเป็นเรื่องใหญ่มาก” มิได้เล็กไปกว่า “เรื่องโลภะ” หรือ “โมหะ” เลย จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับความสนใจแก้ไขไม่ให้น้อยกว่าที่ควรสนใจแก้ “โลภะ หรือโมหะ” พูดไปที่จริงแล้ว “โทสะ” หรือ “ความโกรธ” จะให้โทษร้ายแรงและเร็วกว่า “โลภะ หรือโมหะ” “สติ” ที่เร็วจริงเท่านั้นที่จะตามรู้ทัน “โทสะ” จนถึงยับยั้งมิให้แสดงออกได้ หากสติไม่เร็วจริงแล้วโทสะก็จะไปเร็วกว่า จะแสดงออกเสียก่อนที่จะทันได้ยับยั้ง

ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏผลของโทสะอยู่เสมอ บ่อยกว่าผลโลภะและโมหะ เช่น มีข่าวเนืองๆ ว่ามีการทำร้ายร่างกาย ทำลายชีวิตกันบ้าง เพราะโทสะเป็นเหตุ เมื่อโทสะดับผู้ทำกรรมขณะตกอยู่ใต้อำนาจของโทสะมักจะเสียใจ และมักจะยอมรับว่าที่ทำไปก็เพราะเกิดโทสะขึ้นมาแท้ๆ หากไม่เกิดโทสะ แล้วจะไม่ทำ จะทำไม่ได้ กรณีเช่นนี้เรียกว่าสติเกิดใช้ไปไม่ทันความแรงเร็วของโทสะ โทสะจึงนำไปประกอบกรรมเสียก่อน ถ้าสติเร็ว เกิดทันโทสะ ก็อาจจะยับยั้งมิให้โทสะนำให้ประกอบกรรมได้สำเร็จ

ดังนั้น การพยายามอบรมให้ใจมีสติอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งควรทำ เพราะจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะนำมาใช้ควบคุมจิตใจมิให้เกิดโทสะได้ หรืออย่างน้อยก็สามารถควบคุมโทสะที่เกิดแล้วมิให้ถึงกับประกอบกรรมลงไปได้ ความโลภโกรธหลงที่เกิดขึ้นในใจถึงจะเป็นโทษมิใช่น้อย แต่ก็ย่อมดีกว่าความโลภโกรธหลงที่นำให้ประกอบกรรมขึ้นได้

Advertisement

ฉะนั้น หากจะมีความโลภโกรธหลงเกิดขึ้นในใจตามวิสัยปุถุชนก็ควรจะได้พยายามใช้สติควบคุมมิให้เกิดการประกอบกรรมขึ้น เพราะอำนาจความโลภโกรธหลง โดยเฉพาะกรรมที่เกิดจากอำนาจความโกรธนั้นมักเป็นโทษรุนแรงทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย อย่าว่าแต่คนเป็นศัตรูกันมานานจะถึงฆ่าฟันกันได้ด้วยอำนาจของโทสะเลย ลูกก็ฆ่าแม่พ่อได้ แม่พ่อก็ฆ่าเพราะอำนาจโทสะทั้งนั้น ข่าวในหนังสือพิมพ์มีปรากฏอยู่ เหตุก็มิใช่เพราะอะไรอื่นเพราะโทสะเท่านั้น โทสะจึงเป็นตัวใหญ่ที่มีโทษร้ายแรง โทสะจึงควรเป็นที่รังเกียจอย่างที่สุด จึงควรกำจัดเสียให้พ้นจากจิตใจจนสุดสติปัญญาความสามารถ โลภะนั้นยังมีทางทำให้เข้าใจผิดไปได้บ้างว่ามีคุณ เพราะด้วยอำนาจของโลภะที่นำให้ประกอบกรรม บางทีก็อาจได้ทรัพย์สินเงินทองของมีค่าไปเป็นสมบัติเพิ่มพูนขึ้น กล่าวได้ว่า ความโลภอาจทำให้เหมือนเป็นผู้ได้มิใช่เป็นผู้เสีย ถึงแม้ที่จริงจะเป็นผู้เสียก็ตาม แต่ความโกรธไม่มีอะไรที่จะทำให้อาจคิดไปได้เลยว่ามีคุณ เพราะอำนาจของความโกรธที่นำให้ประกอบกรรมนั้น จะไม่มีได้อะไรเป็นสมบัติเพิ่มเติมเลยแน่นอน มีแต่ทางเสียอย่างเห็นได้ถนัดชัดเจนเสมอ บางทีควรจะได้ กลับต้องเสียเพราะอำนาจโทสะ ตัวอย่างนี้น่าจะมีผู้ประสบกับตนเองแล้วไม่น้อยราย

เคยมีบางคนเล่าว่า มีผู้นำของมาให้แต่เป็นของที่ไม่มีราคาตามที่คาดหมายไว้ ทำให้เกิดโทสะคืนกลับไปเสียบ้าง บางคนก็ให้คนอื่นต่อไปเสียเลย เช่นนี้เป็นการเสียเพราะอำนาจโทสะ ตัวอย่างนี้นับว่าเป็นการเสียเพียงเล็กน้อย การเสียที่มากเพราะอำนาจโทสะมีอยู่บ่อยๆ ถึงกับทำให้เสียผู้เสียคน เสียชื่อเสียงเกียรติยศไป
เลยก็มี

สรุปได้ว่า ตัวอย่างการต้องเสียมากมายเช่นนี้ก็มีปรากฏให้รู้ให้เห็นกันอยู่เสมอเหมือนกัน แม้จะไม่ใช่การเสียวัตถุ สิ่งของ แต่ก็เรียกว่าเสียมากกว่าวัตถุ เพราะ “ชื่อเสียงเกียรติยศ” เป็นสิ่งมีค่ามากกว่าวัตถุทั้งหลายมากมายนัก วัตถุที่เสียไปแล้วอาจหามาทดแทนได้ แต่ “ชื่อเสียงเกียรติยศ” ที่เสียไปจึงเป็นการเสียที่ใหญ่โตร้ายแรงมาก และ “อำนาจของโทสะ” นี้แหละจะทำให้เกิดการเสียหายที่ใหญ่โต เช่นนั้นได้ จึงควรระมัดระวัง หรือรังเกียจ “โทสะ” ให้อย่างยิ่ง ควรพยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ “โทสะ” สร้างอำนาจขึ้นในจิตใจของเราด้วย หมั่นฝึกฝนเสมอให้เหมือนขับรถ หากมี “คน ม้า วัว ควาย สุนัข” วิ่งตัดหน้าแล้วเราเบรกรถได้ทันทีไม่ทันชนกับเพื่อไม่ให้สัตว์ด้วยกันต้องตาย หรือบาดเจ็บฉันใด การใดที่บังเกิดเหตุใดๆ ก็ตามเป็น “ต้นเพลิง” แห่ง “โทสะ” แม้ยับยั้ง หรือ “ดับ” ได้ด้วย “สติ” มา (เร็ว) “ปัญญา” เกิด (เร็ว) ไงเล่าครับ

Advertisement

ของเดิมที่ผลิตไว้ ยังขายและใช้ไม่หมด เลยเดือดร้อนเสียหาย ผลประโยชน์ ว่างั้นเถอะ

ส่วนข้อคัดค้านอีกสองประการ คืออะไร เอาไว้สนทนาสาธารณะกันต่อวันหน้า

รวมถึงประเด็นที่ค้างไว้ เรื่องทิศทางและวิธีการพัฒนาครู กับการขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะแบบมีส่วนร่วม กระทรวงศึกษาธิการและกรรมการพัฒนาหลักสูตรทำอะไรไปบ้าง อย่างไร ให้บรรลุเเป้าหมายปฏิรูปหลักสูตรเพื่อปฏิรูปการศึกษาอย่างได้ผล

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image