มา‘สวดมนต์’กันเถอะ

มา‘สวดมนต์’กันเถอะ

มา‘สวดมนต์’กันเถอะ

“การสวดมนต์” พระพุทธเจ้ามิได้กำหนดเอาไว้ว่าต้องสวดกี่จบจึงจะได้บุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ “ใจ” ของผู้สวดเป็นสำคัญ ถ้าสวดน้อยแต่จิตสงบบุญกุศลก็มาก ถ้าสวดมากแต่จิตไม่สงบบุญกุศลก็น้อย

1.ให้จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสวดจบเดียวจิตก็เป็นสมาธิได้ แต่สำหรับบางคนต้องสวดหลายๆ จบจิตจึงเป็นสมาธิ

2.ผู้สวดได้คุณความดีอย่างอื่นเพิ่มเติมมากขึ้นที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เกิด “ขันติบารมี” ความอดทนต่อความเมื่อยล้าในขณะนั่งสวดมนต์ เกิด “วิริยบารมี” สร้างความเพียรพยายาม เกิด “อธิษฐานบารมี” มีจุดมุ่งมั่นเป้าหมายที่แน่นอน สร้าง “สัจจบารมี” เกิดความจริงใจที่ต้องกระทำปฏิบัติให้บรรลุ รวมถึงเกิด “ปัญญาบารมี ศีลบารมี” และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ การสวดมนต์หลายจบมากเท่าใดก็ยิ่ง “สร้างบารมี” มากเท่านั้น

Advertisement

ในการสวดมนต์ หรือบริกรรมคาถา เรามักจะพบว่ามีการกำหนดรอบในการสวดเอาไว้ว่า ให้สวด 3 จบบ้าง 7 จบบ้าง 9 จบบ้าง 108 จบบ้าง บางท่านอาจสงสัยว่าการกำหนดรอบในการสวดกำหนดจากอะไร คำตอบคือ กำหนดตามจำนวนพระรัตนตรัย 3 กำหนดตามโพชฌงค์ 7 กำหนดตามพระพุทธคุณ 9 มีอะระหัง เป็นต้น
สำหรับที่มา 108 นี้ มีที่มา 2 ประการคือ

1) ถือเอาตามกำลังพระเคราะห์ที่ท่านกำหนดไว้ในทางโหราศาสตร์ ซึ่งถือว่าชะตาชีวิตของคนเราตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวพระเคราะห์ 8 ซึ่งจะผลัดกันเข้าเสวยอายุและแทรกในแต่ละช่วงอายุของคน กล่าวคือ อาทิตย์ 6 ปี จันทร์ 15 ปี อังคาร 8 ปี พุธ 17 ปี พฤหัส 19 ปี ศุกร์ 21 ปี เสาร์ 10 ปี ราหู 12 ปี เมื่อนำเลขกำลังดาวพระเคราะห์ทั้งหมดมารวมกัน 6+15+8+17+19+21+10+12 จะได้เท่ากับ 108 พอดี

2) มาจากพระพุทธคุณ 56+พระธรรมคุณ 38+พระสังฆคุณ 14 จากจำนวนพยางค์ในบทสวดซึ่งรวมกันแล้วเท่ากับ 108 พอดีเช่นกัน

Advertisement

การสวดมนต์ : สวดได้ทุกที่ทุกทางทุกเวลา : ในการจะสวดมนต์นั้นจะสวดวันไหนก็ได้ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อเรา “คิดดี ทำดี พูดดี” ในเวลาใด เวลานั้นแหละเป็น “ฤกษ์ดี” ขอแต่เพียง “ให้ใจพร้อม” ก็เริ่มสวดได้เลย

ในการสวดจำนวนจบ หรือ 108 จบ ขึ้นอยู่กับผู้สวดตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรก ถามว่าจำเป็นต้องสวดให้จบในคราวเดียวกันหรือไม่ คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของแต่ละคน หมายความว่าผู้สวดกำหนดด้วยตัวเอง จะสวดอิติปิโส 108 นี้ให้ได้ใน 1 วัน หรือตั้งจิตอธิษฐานว่าข้าพเจ้าจะสวดอิติปิโสให้ได้ 108 จบในคราวเดียวกัน เป็นต้น การสวดมนต์ควรออกเสียงหรือไม่ขึ้นอยู่กับความถนัดและความตั้งใจของแต่ละท่าน

การสวด 108 จบนั้นแต่ละท่านสามารถแบ่งสวดได้เอง สวดในขณะประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ เช่น ขณะนั่งสวดไปทำงาน ขณะรถติด ขณะก่อนทำงาน นั่งรถกลับบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน เก็บสะสมไปเรื่อยๆ จนจบ 108 จบ
พระอริยสงฆ์หลายท่านได้ให้ “นานาทัศนคติธรรม” เกี่ยวการสวดมนต์ ได้แก่

1) หลวงปู่มั่นได้กล่าวไว้ว่า สวดเองได้เอง สวดชาตินี้ดีกว่ารอชาติหน้า คุณเลือกได้ จะสวดมนต์เอง หรือจะนอนฟังเสียงพระสวด หลวงปู่ว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดมนต์ก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ เช้า-เย็น หรือชาวพุทธทุกคน สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล สวดมนต์ออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล สวดมนต์เช้า-เย็น ธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล สวดมนต์เต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล

สวดมนต์เองได้เอง ไม่มีใครจะมาแย่ง กุศลผลบุญอานิสงส์นี้ได้ ชีวิตย่อมเป็นไปตามวิถีแห่งกรรมที่ลิขิต วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้ ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ มีแต่บุญกุศลที่ตามเราไปทุกภพทุกชาติ วันนี้เรามีชีวิตอยู่ไม่ทำบุญให้ทาน สวดมนต์ ภาวนา แล้วจะให้ใครทำให้เรา ตายแล้วหมดสิทธิทำ ทำบทสวดนี้เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ อ่านแล้วเก็บรักษา บุญรักษาเนืองนอง รู้แล้วบอกกันถ้วนทั่ว บุญกุศลเรืองรอง (บำเพ็ญไว้ไว)

2) “พระวรคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ชีวิตนี้น้อยนัก อย่าประมาทจะทำให้พลาดจากกรรมดี ชีวิตนี้น้อยนัก คือชีวิตในภพภูมินี้ ในชาตินี้ น้อยกว่าชีวิตที่ผ่านมาแล้วในอดีตชาติมากมาย อย่างไม่อาจประมาณได้ถูกถ้วน

ผู้มีปัญญาเมื่อมานึกถึงความจริงนี้ย่อมไม่ประมาท ย่อมเห็นภัยที่จะตามมา เป็นภัยที่จักเกิดแต่กรรมทั้งหลายที่ได้ประกอบกระทำไว้ด้วยตนเองในอดีตชาติมากมายพ้นที่ประมาณ

ผู้มีปัญญาย่อมพยายามหนีให้พ้น หนีให้กรรมไม่ดีตามไม่ทัน หรือไม่ก็พยายามสร้างกำลังที่จะเอาชนะความแรงของกรรมไม่ดีให้ได้ เพื่อไม่ต้องรับผลของกรรมไม่ดี ที่อาจร้ายแรงทำความชอกช้ำให้แก่ชีวิตได้เป็นอันมาก

พลังสำคัญประการหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้พ้นกรรมไม่ดีที่ไล่ตะครุบอยู่ได้ และเป็นพลังที่สามารถทำให้เกิดขึ้นไม่ยาก คือการนึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพุทโธ นึกไว้ให้คุ้นเคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจ ความสวัสดีย่อมมีแก่ผู้ที่กรรมไม่ดีกำลังติดตามนั้นอย่างเป็นที่น่าอัศจรรย์นัก

3) อานิสงส์แห่งการชักชวนผู้อื่นถวายทาน ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บุคคลใดถวายทานด้วยตัวเอง แต่ไม่ชักชวนให้ผู้อื่นถวายทานด้วย บุคคลนั้นเมื่อตายไปแล้วไม่ว่าจะเกิดในที่ใด ย่อมได้ซึ่งโภคสมบัติ (ความร่ำรวย) แต่จักไม่ได้ซึ่งบริวารสมบัติ มิตรสหาย, บริวาร

บุคคลใดชักชวนผู้อื่นให้ถวายทาน แต่ตนเองกลับไม่ถวาย บุคคลนั้นเมื่อตายไปแล้วไม่ว่าจะเกิดในที่ใด ย่อมได้ซึ่งบริวารสมบัติ (มากด้วยมิตรสหาย, บริวาร) แต่จักไม่ได้ซึ่งโภคสมบัติ (มีความยากจน)

บุคคลใดตนเองก็ไม่ถวายทานด้วย แม้คนอื่นก็ไม่ได้ชักชวนด้วย บุคคลนั้นเมื่อตายไปเกิดในที่ใดๆ ย่อมไม่ได้แม้สักว่าข้าวปลายเกรียน (ข้าวสารหัก) พออิ่มท้อง เขาย่อมเป็นคนอนาถา หาที่พึ่งไม่ได้

บุคคลใดถวายทานด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ถวายทานด้วย บุดคลนั้นเมื่อตายไปเกิดในที่ใดๆ ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ (ความร่ำรวย) ทั้งบริวารสมบัติ (มิตรสหาย, บริวาร) สิ้นร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง

4) การสวดมนต์มีประโยชน์มากมาย “เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)” ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์ของการสวดมนต์ที่บ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็ก ตามคำนิมนต์ มีใจความว่า

“ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามาก หรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์นั้นมีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยเจ้ามีคุณเช่นไร

ดูก่อนท่านเจ้าพระยา และอุบาสกอุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อจิตมีที่พึ่ง คือคุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดีความสะดุ้งกลัวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใดๆ ก็ดี จะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์แล” ไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image