ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

ผู้เขียนได้อ่านบทความของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม “ป.อ.ปยุตโต” แห่งวัดญาณเวศกวัน ต.บางระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ผู้เขียนเชื่อว่า ผู้ที่มีโอกาสอ่านจะเข้าใจได้ลึกซึ้งกับคำพูดที่พบเจอเสมอๆ ว่าไปวัดทำไม คนส่วนใหญ่ไม่ว่าหญิงชายก็จะต้องเป็นคำเดียวกับคำว่า “ไปปฏิบัติธรรม” ความสำคัญท่านเจ้าประคุณ ท่านได้อธิบายขยายความง่ายๆ ควรแก่การเรียนรู้และนำไปสู่ปฏิบัติจริงในชีวิตจริง จะเกิดประโยชน์อย่างมาก ความว่า :

“ปฏิบัติธรรม” หลวงพ่อท่านได้ให้ความหมายว่า คือ การเอาธรรมมาปฏิบัติมาใช้ในการดำเนินชีวิต การทำงาน คือ เอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุขนั่นเอง

หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม แบ่งเป็น 2 ชุด คือ

ชุดที่ 1 หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม

Advertisement

ชุดที่ 2 หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม

ชุดที่ 1 หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม ส่วน ทาน ศีล ภาวนา เรียกว่า “บุญสิกขา” ก็มีสาระสำคัญเดียวกับ “ไตรสิกขา” นี่เอง

ก) ทาน คือ การให้การเผื่อแผ่แบ่งปันเพื่อช่วยเหลือกันเพื่อยึดเหนี่ยวสังคม และเพื่อส่งเสริมความดีงามและการทำสิ่งที่ดี “ทาน” คือ เป็นเครื่องส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เป็นไปด้วยดี มีระเบียบ มั่นคงยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็เป็นเครื่องฝึกหัด ขัดเกลาทั้งพฤติกรรม “ภายนอก” ทางกาย วาจา และฝึกฝนอบรมจิตใจให้เจริญยิ่งขึ้นไปคุณธรรมและเอิบอิ่มเบิกบานผ่องใส

Advertisement

ข) ศีล ก็มีสาระอย่างศีลในไตรสิกขาข้างต้น

ค) ภาวนา แยกเป็นภาวนาในด้าน “สมาธิ” และภาวนาในด้าน “ปัญญา” ตรงกับสิ่งที่จะกล่าวต่อไป คือ

การปฏิบัติธรรมในความหมายที่พูดกันมาก ตามที่นิยมกันในปัจจุบันนี้เป็นการจำกัดแคบๆ ในระดับภาวนาที่เน้นรูปแบบ เช่นไป “นั่งสมาธิ” เข้าไปในวัด วิเวกเข้าไปในป่า ก็จะขอพูดเจาะจงระดับนี้แล้วที่หนึ่งก่อนว่า ในแง่ที่เรานิยมปฏิบัติธรรม คือ การไปบำเพ็ญสมาธิ เป็นต้นนี้ เราจะต้องรู้จัก “ภาวนา” เสียก่อนว่ามันเป็นอย่างไร

ภาวนานั้นจะต้องแยกจากภาวนาในภาษาไทยก่อน คือ ไม่ใช่เพียงมามุบมิบแต่ปากแล้วบอกจำเป็น “ภาวนา” หรือเอาถ้อยคำในภาษาพระเอามนต์เอาคาถามาท่องมาบ่นแล้วบอกว่าเป็น “ภาวนา” ไม่ใช่อย่างนั้น

ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดมีขึ้น ทำให้เป็นขึ้นสิ่งที่ยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น เรียกว่า “ภาวนา” เพราะฉะนั้นจึงเป็นการปฏิบัติฝึกหัดลงมือทำ ภาวนา จึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม อบรมนั้นเมื่อยังไม่มีก็ทำให้มีขึ้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิดให้มีขึ้นมาแล้วก็ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นได้ด้วยจนเต็มที่

“ภาวนา” จึงมีความหมายตรงกับคำว่า พัฒนาด้วยและจึงแปลง่ายๆ ว่า เจริญในภาษาไทยแต่โบราณนิยมแปล ภาวนา ว่า เจริญ เช่น เจริญวิปัสสนา เรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา”

ตกลงว่า “ภาวนา” แปลว่า การฝึกอบรม หรือการเจริญหรือการทำให้มีขึ้นมา และพัฒนาให้งอกงามบริบูรณ์ การภาวนาในระดับที่เราต้องการในที่นี้แยกเป็น 2 อย่าง คือ

จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจอย่างหนึ่ง และปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญาอีกอย่างหนึ่ง

ถ้าใช้ตามนิยมของภาษาสมัยใหม่ เจริญ แปลว่า พัฒนาเพราะฉะนั้น “จิตตภาวนา” ก็แปลว่า การพัฒนาจิต หรือพัฒนาจิตใจ ส่วนปัญญาภาวนาก็แปลว่า การพัฒนามาปัญญา จิตตภาวนา เรียกง่ายๆ ว่า “สมถะ” เพราะสมถะนั้นแปลว่า “ความสงบ” ตัวแก่นของความสงบ ก็คือ “สมาธิ” ความมั่นใจแน่วแน่ สมถะนั้นมุ่งที่ตัวสมาธิ จะว่าสมาธิเป็นสาระของสมถะก็ได้ ฉะนั้นก็เลยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สมาธิภาวนา” คำว่า จิตตภาวนาก็ดี สมถะภาวาก็ดี สมาธิภาวนาก็ดี จึงใช้แทนกันได้หมด

ต่อไปอย่างที่สอง “ปัญญาภาวนา” นั้น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา มุ่งให้เกิดปัญญา คือ ปัญญาที่เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย ปัญญาในขั้นที่รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เรียกว่า วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้ง ไม่ใช้รู้แค่ทำมาหาเลี้ยงชีพได้เท่านั้น แต่รู้สภาวะสู่สภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายจึงเรียกว่า วิปัสสนา ซึ่งก็เป็น “ปัญญา” ระดับหนึ่งขึ้นแหละ เพราะฉะนั้น “วิปัสสนาภาวนา” ถ้าจะเรียกให้กว้างถ้าเป็น “ปัญญาภาวนา”

ตกลงก็แยกภาวนาเป็น 2 อย่าง อย่างที่หนึ่ง เรียกว่า จิตตภาวนา สมถะภาวนาบ้าง สมาธิภาวนาบ้าง อย่างที่สอง เรียกว่า “ปัญญาภาวนา” หรือเรียกให้แคบจำกัดลงไปว่า “วิปัสสนาภาวนา” นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ท่านมุ่งสำหรับคฤหัส ดังนั้น “บุญสิกขา” จึงเน้นปฏิบัติ หรือขั้นพื้นฐาน คือ ทาน เน้นที่อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ ศีล เน้นที่ ศีล 5 หรือขยับขึ้นไปเป็น ศีล 8 ภาวนา ในที่นี้ก็เน้นแค่ เมตตาภาวนา ก็คือ เจริญเมตตาหรือไมตรีที่จะเป็นพื้นฐานแห่งสันติสุขของสังคม ถ้าสามารถทำให้มากกว่านี้เองก็ขยายไปสู่ “จิตตภาวนา” เป็น “ปัญญาภาวนา” เติมรูปแบบอย่างที่ว่าข้างต้น

ทั้งสองชุด คือ “ทาน ศีล ภาวนา” กับ “ศีล สมาธิ ปัญญา” นี้ว่าที่จริงก็เรื่องเดียวกัน แต่ชุดหนึ่งเน้นภายนอก เน้นด้านหยาบ จัดเป็น ทาน ศีล และภาวนา ได้ขยายด้านนอกออกเป็น 2 อย่าง คือ ทาน กับ ศีล เอาข้างใน 2 อย่าง คือ “สมาธิและปัญญา” ไปยุบเป็น ภาวนาอย่างเดียว ส่วน “ศีล สมาธิ ปัญญา” เอาด้านใน คือ ภาวนาไปแยกละเอียดเป็น จิตใจ (สมาธิ) กับ ปัญญา แต่ด้านนอก ก็คือ ทานกับศีล รวมเป็นอันเดียวเพราะว่าศีลนั้นหลักการ ก็คือ อยู่ร่วมกันด้วยดีกับผู้อื่นในสังคม ส่วนทานก็เป็นองค์ประกอบในการที่จะอยู่ร่วมกันด้วยมีกับผู้อื่นในสังคมได้เลยมารวมอยู่ในคำว่า ศีล

เพราะฉะนั้นเมื่อท่านได้ฟังคำว่า ทาน ศีล ภาวนา กับ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ก็ให้ทราบว่าที่แท้จริงเป็นระบบอันเดียวกัน แต่เราแยกให้เห็นจุดเน้นที่ต่างกัน สำหรับคฤหัสจะเน้นด้านนอกจัดเป็น “ทาน ศีล ภาวนา” แต่สำหรับ “พระธรรม” จะเน้นด้านในอ่านหลักเป็น “ศีล สมาธิ ปัญญา”

อนึ่ง ชื่อเรียกก็คล้ายๆ กันชุด ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่านรู้จักกันดีแล้วว่าไตรสิกขา ไตรสิกขา ไตร แปลว่า 3 สิกขา แปลว่า การศึกษา รวมเป็นไตรสิกขา แปลว่า การศึกษา 3 อย่าง

ส่วนชุด “ทาน ศีล ภาวนา” เรียกต่างไปนิดหนึ่ง เรียกว่า “บุญสิกขา” คือ การฝึกฝนในเรื่องความดี การฝึกเกิดทำความดี (บุญ แปลว่า ความดี รักษา แปลว่า การศึกษา) การฝึกอบรม การปฏิบัติธรรมในเรื่องความดี ทำให้คนเจริญงอกงามขึ้น ในความดีต่างๆ ด้วยทาน ศีล ภาวนา รวมแล้วก็สองชุดก็เป็นอันเดียวกันต่างกันที่จุดเน้น

โดยสรุปกล่าวได้ว่า การปฏิบัติธรรมตามหลัก “ไตรสิกขา” หรือ “บุญสิกขา” 3 ประการ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ดีแล้ว ก็จะเข้าถึงชีวิตที่ดีงาม มีความสุขอย่างแท้จริง โดยเข้าถึงธรรมและความสุขทั้ง 3 ระดับได้จนถึงที่สุดดังกล่าวแล้ว ในเบื้องต้น ไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image