การปฏิบัติพหุภาคีกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง : โดย รัฐมนตรีหลี่อิ้งหยวน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจ

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไต้หวันประสบกับฝนตกหนักและต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้าง ในเวลาเพียง 9 ชั่วโมง ปริมาณน้ำฝนสะสมในเขตซานจือ นครนิวไทเป ทางตอนเหนือของไต้หวันมีอยู่ราว 615 มม. ในขณะที่บริเวณภูเขารอบนครเกาสง ทางตอนใต้ของไต้หวันมีปริมาณน้ำฝนสะสมโดยรวมมากถึง 1,446 มม.

เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม อำเภอเจียตง เมืองผิงตง ที่ตั้งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของไต้หวันได้เผชิญกับพายุไต้ฝุ่น (พายุเนสาดและไห่ถัง) สองลูกต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วัน 690 มม. ยังได้ทำลายสถิติ “ปริมาณฝนชุกในระยะสั้น” และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างมาก

จากนั้นในเดือนสิงหาคมทางตอนเหนือของไต้หวันยังเผชิญกับคลื่นความร้อน อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่าสถิติคลื่นความร้อนทั้งหมดที่บันทึกไว้ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา จากรายงานของวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศได้ยืนยันว่าปี พ.ศ.2559 เป็นปีที่อบอุ่นที่สุดในประวัติการณ์ สภาพอากาศที่ย่ำแย่เหล่านี้ต่างเป็นหลักฐานที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน

Advertisement

อย่างไรก็ตาม การเผชิญกับภัยคุกคามอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศที่จะมาถึงนั้น อยากใคร่ขอให้ทุกคนไม่ต้องตื่นตระหนกจนเกินกว่าเหตุ ขอเพียงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราผ่านการกระทำโดยตรงก็จะมีหนทางที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

เพราะสุขภาพของโลกก็คือสุขภาพของเรา

ไต้หวันถูกโอบล้อมด้วยมหาสมุทร ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงและรุนแรงต่อไต้หวัน เพื่อตอบสนองต่อแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลกตามมาตรฐานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจัดการก๊าซเรือนกระจก ไต้หวันจึงได้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติว่าด้วยวิธีการควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Advertisement

อีกทั้งยังได้ร่างแผนปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแผนปฏิบัติการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 6 ด้านหลัก ดังต่อไปนี้ ด้านพลังงาน การผลิต การขนส่ง ที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมกว่า 200 โครงการ อีกทั้งยังให้ทุกกระทรวงร่วมมือกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยกำหนดให้มีการทบทวนทุก 5 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อเสริมสร้างโครงสร้างการผลิตพลังงานสะอาดและปรับปรุงคุณภาพอากาศในไต้หวัน รัฐบาลไต้หวันได้กำหนดเป้าหมายเรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 20% และก๊าซธรรมชาติ 50% โดยลดการผลิตจากถ่านหิน 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ.2568 ในเวลาเดียวกันยังได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นการพัฒนาพลังงานสีเขียว นำหลักเกณฑ์ “การพัฒนาด้านพลังงาน” และ “การเปลี่ยนแปลงพลังงานสมุดปกขาว” โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมพร้อมทั้งส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพลังงาน

ในขณะเดียวกันก็จัดหาเงินทุน การลงทุน ช่องทางการจัดหาเงินและการฝึกอบรมบุคลากรและด้านอื่น เสริมสร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว ไต้หวันกำลังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องตามข้อตกลงปารีสและเพิ่มความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ.2593

เมื่ออดีตการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร้ข้อจำกัดของทั่วโลก ได้ใช้พลังงานฟอสซิลและทรัพยากรธรรมชาติของโลกมากเกินไป แต่สิ่งที่ได้กลับมานั้นกลับเป็นสภาพภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยน อีกทั้งยังได้สร้างขยะมูลฝอยที่มีผลกระทบและทำลายระบบนิเวศไว้เป็นจำนวนมาก

ความพยายามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และการลดปริมาณของเสียทำให้เป็นจุดสนใจของคนในโลก

เมื่อเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2559 หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ไต้หวัน : อัจฉริยะด้านการกำจัดขยะมูลฝอยของโลก” ซึ่งบทความนี้ชี้ให้เห็นว่าไต้หวันซึ่งเคยเป็นเมืองแห่งขยะมูลฝอยได้กลายมาเป็นประเทศต้นแบบด้านการรีไซเคิล เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาภายใต้พื้นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรีไซเคิล 3 อันดับแรกของโลกครอบคลุมทั้งทรัพยากรขยะ ห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรม การจัดตั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจรีไซเคิล การหาโอกาสแปรรูปอุตสาหกรรม ไต้หวันยังหวังเป็นอย่างยิ่งในปี พ.ศ.2565 ไต้หวันจะกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจรีไซเคิลในเอเชีย ผลักดันให้เศรษฐกิจไต้หวันเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรและพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสีเขียวให้มั่นคงยั่งยืนต่อไป

ผู้นำทั่วโลกเรียกร้องให้ตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน ของไต้หวัน ได้ให้คำมั่น ว่าจะป้องกันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและปกป้องโลกของมวลมนุษยชาติ ไต้หวันจะเข้าร่วมทุกครั้งและจะยืนหยัดอุดมการณ์อย่างไม่ถดถอย เพราะเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง ด้วยความตกลงทวิภาคีและความร่วมมือพหุภาคีไต้หวันหวังว่าจะได้ร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อปกป้องโลกของเราจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อีกทั้งยังยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์และตอบแทนสังคมและประเทศที่ต้องการ เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หวังจะเป็นผู้ริเริ่มการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมสีเขียว

รัฐมนตรีหลี่อิ้งหยวน
อธิบดีกรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สภาบริหารสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image