สถานีคิดเลขที่ 12 : ไม่ได้มีแค่ความใหม่ž : โดย ปราปต์ บุนปาน

นักวิเคราะห์-คอการเมืองจำนวนมาก อาจมองกลุ่มเยาวชนปลดแอก, แนวร่วมนวชีวิน, #ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน, #วิ่งกันนะแฮมทาโร่ และ #เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ ฯลฯ เป็น ตัวละครใหม่Ž เป็น องค์ประกอบใหม่Ž ของการเมืองไทยร่วมสมัย

เป็น ความใหม่Ž อันขับเคลื่อนโดย คนรุ่นใหม่Ž ซึ่ง คนรุ่นเก่าŽ โดยเฉพาะที่กำลังมีอำนาจบริหารปกครองประเทศอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวันจะเข้าใจ

เป็น พัฒนาการใหม่Ž อีกเฟสหนึ่ง ถัดจากการเคลื่อนไหวของคนเดือนตุลาฯ, การชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 และสงครามสีเสื้อเหลือง-แดง ในปลายทศวรรษ 2540 ถึงทศวรรษ 2550

และ/หรือเป็น แนวทางการต่อสู้แบบใหม่Ž ที่มีความข้องเกี่ยวหรืออ้างอิงไปยังประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนๆ น้อยมาก

Advertisement

เหล่านี้คือแนวคิดรวบยอดที่หลายคนกำลังใช้อธิบายอัตลักษณ์-ตัวตนของบรรดา
คนรุ่นใหม่Ž ซึ่งพากันออกมากู่ร้องส่งเสียงบนท้องถนน

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาไปถึงรายละเอียด แม้ในด้านหนึ่ง ม็อบคนรุ่นใหม่Ž จะใช้ เครื่องมือ/อาวุธใหม่ๆŽ เช่น โซเชียลมีเดีย, วัฒนธรรมมีม และวัฒนธรรมไอดอล ได้อย่างทรงพลัง ไปพร้อมๆ กับการพึ่งพา เครื่องมือเก่าๆŽ อาทิ เพลงเพื่อชีวิต น้อยลง

แต่อีกด้านหนึ่ง เราก็สามารถพบเห็น ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมŽ ที่ ไม่ใหม่Ž ปรากฏขึ้นเคียงคู่กับการต่อสู้ของ คนรุ่นใหม่Ž อย่างน่าสนใจ

Advertisement

ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม แจวŽ ที่ฝังตัวอยู่ในสถาบันการศึกษาแทบทุกระดับมาหลายทศวรรษ

กระทั่งเพลงการ์ตูน แฮมทาโร่Ž ที่โลดแล่นมีชีวิตชีวาอย่างน่าตื่นเต้น ก็มีจุดกำเนิดที่ย้อนไปได้ถึงทศวรรษ 2540

ส่วนเพลง ยินดีไม่มีปัญหาŽ ที่เด็ก เกียมอุดมŽ นำมาแปลงอย่างแสบสัน ก็คือผลงานของ อัสนี-วสันต์Ž ซึ่งนับเป็นศิลปิน รุ่นปู่Ž ของพวกเขาและเธอได้เลยด้วยซ้ำ

ถ้าถามว่าปรากฏการณ์เหล่านี้บ่งบอกอะไรต่อสังคมบ้าง?

คำตอบที่คิดได้ ณ เบื้องต้น ก็คือ คนรุ่นใหม่Ž ที่ออกมารวมตัวเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะ ไม่ได้ตัดขาดตัวเองจาก อดีตŽ ดังที่คนจำนวนไม่น้อยทึกทัก

ทว่าพวกเธอและเขาได้เลือกสรร อดีตŽ บางอย่าง มาดัดแปลงเนื้อหาใจความ เพื่อรับใช้เป้าหมาย ความใฝ่ฝัน จินตนาการ และอุดมการณ์ของพวกตน

(นอกจากกิจกรรมสันทนาการ/วัฒนธรรมป๊อปอายุหลายทศวรรษซึ่งถูกนำมาฉาบเคลือบขบวนการเคลื่อนไหวแล้ว ประวัติศาสตร์ 2475Ž ก็เป็น อดีตŽ อีกหมวดหมู่ ที่ คนรุ่นใหม่Ž ไม่ได้ละทิ้ง)

นี่หมายความว่าเป้าหมายหลักที่ ม็อบคนรุ่นใหม่Ž จะพุ่งทะยานเข้าปะทะชน ย่อมไม่ใช่ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างวัยหรือเจเนอเรชั่นเสียทีเดียว

หากมองผ่านสัมพันธภาพทางอำนาจใน แนวดิ่งŽ พวกเขาและเธอก็ไม่ได้มุ่งต่อต้าน ผู้ใหญ่Ž ของบ้านเมือง เพราะคนเหล่านั้น แก่Ž

ขณะเดียวกัน ถ้ามองผ่านความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายใน แนวระนาบŽ พวกเขาและเธอก็มิได้พยายามจำกัดตัวเองด้วยค่านิยม-วัฒนธรรมเฉพาะแบบวัยรุ่น แต่พร้อมจะขยายการเคลื่อนไหวให้กว้างขวางครอบคลุมทุกกลุ่มคน (นำไปสู่การประกาศตั้ง คณะประชาชนปลดแอกŽ)

ท้ายที่สุด ม็อบคนรุ่นใหม่Ž จะต้องเดินหน้าไปเผชิญกับปัญหาเรื้อรังชุดเดิมๆ เช่น ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยŽ หรือ เผด็จการŽ?

ถ้ามีคนกล่าวอ้างว่าเราปกครองประเทศด้วยระบอบ ประชาธิปไตยแบบไทยๆŽ ประชาธิปไตยแบบดังกล่าวสามารถจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรและผลประโยชน์ต่างๆ
รวมถึงอำนวยความยุติธรรมให้แก่สมาชิกทุกคนทุกกลุ่มในสังคมได้อย่างทั่วถึงหรือไม่?

ทำไมเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของสังคมไทยจึงเต็มไปด้วยอุปสรรคกีดขวาง
นานัปการ?

นี่คือหัวใจหรือประเด็นหลักที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ท่ามกลางสีสันวูบวาบเก่าๆ ใหม่ๆ อันวิ่งวนรายรอบการเคลื่อนไหวบนถนนระลอกล่าสุด

ซึ่งมีทั้งคนที่เอาใจช่วยอย่างเปี่ยมความหวัง และคนที่เฝ้ามองด้วยความหวาดกลัววิตกกังวลยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ปราปต์ บุนปาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image