รัฐราชการžดำดิ่ง

การกระจายอำนาจคืออำนาจที่กระจายไปให้ท้องถิ่น ประชาชนเป็นคนเลือกผู้บริหารเพื่อมาพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง
ตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจโดยผ่าน คสช. ก็มีฐานความคิดใช้ระบบราชการครอบงำท้องถิ่น สวนทางกับนโยบายการกระจายอำนาจที่ประเทศเดินหน้ามาหลายสิบปี

ยุค คสช.ความไม่ไว้ใจท้องถิ่นปรากฏชัดเจนตั้งแต่ต้นของการยึดอำนาจ การอ้างวาทกรรม ท้องถิ่นมีการทุจริตคอร์รัปชั่นŽ แต่ลึกๆ แล้วเป้าหมายหลักคือการทำลายฐานเสียงของนักการเมืองมากกว่า

สังเกตได้จากประกาศ คสช.ให้ผู้ว่าฯและนายอําเภอ ติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบฯ อปท. ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง
อย่างเข้มงวด และแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรเงินอุดหนุนให้ อปท. ซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการทหาร รองเสนาธิการทหาร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และปลัดบัญชีทหาร เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยไม่มีตัวแทนของ อปท.เข้าไปมีส่วนจัดสรรงบ มอบอำนาจให้ข้าราชการและทหารเข้าไปควบคุมท้องถิ่นอย่างสิ้นเชิง

กว่า 5 ปีเมื่อต้องถึงเวลาคลายอำนาจ ไฟเขียวเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งล่าสุด กกต.กำหนดให้ 20 ธันวาคม เป็นวันเลือกตั้ง อบจ. 76 จังหวัด

Advertisement

ผลลัพธ์ของ 5 ปีของการบริหารประเทศภายใต้โครงสร้างรัฐราชการนั้นสำเร็จหรือล้มเหลว

ซึ่งผลลัพธ์นั้นถูกสะท้อนออกมาจากเนื้อหางานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2563 แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ: จากบทเรียนการรับมือวิกฤติโควิด-19 สู่ความพร้อมรับมือความท้าทายในโลกใหม่Ž

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ สะท้อนว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ประสิทธิภาพของระบบราชการของไทยอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยสิ่งที่น่าเป็นกังวลคือหากปล่อยให้ขีดความสามารถเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ช้าประเทศจะเดินถอยหลังและไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญได้

Advertisement

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดขึ้น ยังเป็นความโชคดีที่รัฐไทยมีขีดความสามารถด้านสาธารณสุขและการบริหารเศรษฐกิจมหภาคสูง ประกอบกับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชน จนทำให้ไทยไม่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย

รัฐกลับมีขีดความสามารถต่ำในอีกหลายด้านสำคัญ อาทิ การให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน แนวทางพัฒนาทักษะแรงงานผ่านระบบศึกษาและการฝึกอบรม ไปจนถึงการส่งเสริมเรื่องการวิจัยและพัฒนาและการบริหารเศรษฐกิจเพื่อลดการผูกขาดทางการค้าและความเหลื่อมล้ำ

ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองโดยรวมแล้ว รัฐไทยจึงไม่ได้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าในระดับสูง ซ้ำร้ายยังเป็นที่มาให้ไทยติดอยู่กับ กับดักรายได้ปานกลางž มาเป็นเวลานาน

หากเปรียบรัฐไทยเป็นระบบคอมพิวเตอร์ จะพบว่าระบบราชการซึ่งเปรียบเสมือนระบบปฏิบัติการ (OS) ของภาครัฐมีปัญหาอยู่มากในแทบทุกขั้นตอนการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนสูงต่อสังคม ทั้งยังเป็นต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าด้วย

ระบบราชการเสมือน OS ที่ตอบสนองช้า หน่วยความจำน้อย ล้าสมัย สร้างภาระให้ประชาชนŽ

ขณะที่ บุญวรา สุมะโน นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เปรียบระบบราชการเทียบได้กับระบบปฏิบัติการ (Operating System – OS) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะดึงทรัพยากรทั้ง Hardware และ Software ของประเทศมาใช้ให้บริการสาธารณะ หากสมรรถนะของ OS ไม่ทันสมัยหรือไม่ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็จะไม่สามารถประมวลผลออกมาเป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้

ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็สะท้อนข้อจำกัดนี้ได้ชัดเจนขึ้น โครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่
ผู้ได้รับผลกระทบมีปัญหาจากวิธีการช่วยเหลือที่ไม่ได้นำความต้องการหรือความสะดวกของประชาชนเป็นตัวตั้ง และโครงการช่วยเหลืออื่นของภาครัฐก็สะท้อนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและแยกส่วนกัน เช่น บริการ e-Service ซึ่งแม้จะช่วยเพิ่มความสะดวกผ่านบริการออนไลน์ แต่ก็ยังเป็นบริการแยกส่วน ส่งผลให้ประชาชนต้องกรอกข้อมูลเดิมซ้ำๆ ที่รัฐเองเคยมีเก็บอยู่แล้วŽ

การปฏิรูประบบราชการเป็นสิ่งที่ภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญมานานแล้วกว่า 20 ปี นับตั้งแต่การออก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2540 โดยระบุสิ่งสำคัญที่ต้องการปฏิรูป เช่น การปรับลดกำลังคน ทบทวนบทบาทและภารกิจ ตลอดจนการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ดังนั้น ระบบราชการรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไร

สิ่งที่ อาจารย์สมเกียรติŽ ประธานทีดีอาร์ไอ ตอกย้ำไว้น่าสนใจคือ การปฏิรูปทั้งหมดต้องเริ่มจากการสร้างกติกาบ้านเมืองหรือรัฐธรรมนูญให้เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยที่ตอบสนองต่อประชาชนและมีขีดความสามารถสูง โดยแนะให้หันไปยึดต้นแบบจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540

นี่คือเหตุผลว่าทำไม รัฐราชการŽ ถึงทำประเทศดำดิ่งได้ขนาดนี้

โกนจา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image