‘ข้างหลังภาพ 14 ตุลาฯ’ ทะยานยืน 1 บูธมติชน ‘สถาปัตย์-สถาปนา’ ควบตามติดๆ

‘ข้างหลังภาพ 14 ตุลาฯ’ ทะยานยืน 1 บูธมติชน ‘สถาปัตย์-สถาปนา’ ควบตามติดๆ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) และพันธมิตร ร่วมเปิดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 (Book Expo Thailand 2023) ซึ่งปีนี้มาในธีม “Book Dreams: เพราะหนังสือช่วยเติมเต็มความฝันให้สมบูรณ์ขึ้น”

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่บูธสำนักพิมพ์มติชน J47 ซึ่งตกแต่งในธีม ‘มติชน(ด)รามา’ ว่ามีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมและเลือกซื้อหนังสือต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

สำหรับ 10 อันดับขายดี ของสำนักพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 12 ตุลาคม ได้แก่

Advertisement

อันดับ 1 “ข้างหลังภาพ 14 ตุลาฯ: จากระบอบปฏิวัติของเผด็จการสู่การปฏิวัติของประชาชน”ผลงานเขียนโดย บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

อันดับ 2 “สถาปัตย์-สถาปนา: การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม”
ผลงานเขียนโดย ชาตรี ประกิตนนทการ

อันดับ 3 “Amidst the Geo-Political Conflicts สมรภูมิพลิกอำนาจโลก”
ผลงานเขียนโดย ปิติ ศรีแสงนาม และจักรี ไชยพินิจ

Advertisement

อันดับ 4 “ความหวังที่เคลื่อนไหว: โลกขวาๆ ซ้ายๆ และความท้าทายของประชาธิปไตย”
ผลงานเขียนโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

อันดับ 5 “นิธิ เอียวศรีวงศ์ กับตาข่ายแห่งความทรงจำและนิยามประชาธิปไตย”
ผลงานเขียนโดย สายชล สัตยานุรักษ์

อันดับ 6 “Getting Land Right ระบบกำกับดูแลที่ดินไทยต้องปฏิรูป”
ผลงานบรรณาธิการโดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร

อันดับ 7 “กำศรวลพระยาศรี”
ผลงานเขียนโดย ณเพ็ชรภูมิ และผลงานบรรณาธิการโดย นริศ จรัสจรรยาวงศ์

อันดับ 8 “ทหารกับประชาธิปไตยไทย: จาก 14 ตุลาฯ สู่ปัจจุบันและอนาคต”
ผลงานเขียนโดย สุรชาติ บำรุงสุข

อันดับ 9 “”สยามโมเดิร์นเกิร์ล”
ผลงานเขียนโดย ภาวิณี บุนนาค

อันดับ 10 “ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย”
ผลงานเขียนโดย มนฤทัย ไชยวิเศษ

ทั้งนี้ ข้างหลังภาพ 14 ตุลาฯ: จากระบอบปฏิวัติของเผด็จการสู่การปฏิวัติของประชาชน นำเสนอเนื้อหาย้อนกลับไปทบทวนประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในบริบทยุคสงครามเย็นที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศไทย ก่อนจะมุ่งเล่าไปยังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 และทิ้งท้ายถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เอาไว้อย่างน่าสนใจ

ความน่าสนใจคือการเล่าด้วยมุมมองการเมืองทัศนา (visual politics) มิได้หยิบยกเพียงข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาเล่าแต่เพียงอย่างเดียว กล่าวคือ มีการวิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมืองและการต่อสู้ทางการเมืองผ่านสื่อต่างๆ ที่ปรากฏในพื้นที่ทางวัฒนธรรม เช่น ภาพถ่ายจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือเก่า โปสเตอร์ ป้ายประท้วง ผลงานศิลปะ ฯลฯ เพื่อที่จะเข้าใจความซับซ้อนของความสัมพันธ์ทางอำนาจ ช่วงชั้นทางสังคม ความหมายทางการเมือง ตลอดจนเห็นภาพของการแข็งขืนและการต่อต้านอำนาจที่แสดงออกมาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ได้แจ่มชัด และสะท้อนภาพจำ ความทรงจำ ความรู้สึกนึกคิด เสียง และอารมณ์ในช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติอันแสนสั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image