‘ปีเตอร์ แจ็กสัน’ ชี้ ศาสนาไทย รสหลากหลาย นักวิชาการแค่ ‘ไม่เก็ท’ ความเชื่อเปลี่ยนตามเจน

‘ปีเตอร์ แจ็กสัน’ ชี้ ศาสนาไทย รสหลากหลาย นักวิชาการแค่ ‘ไม่เก็ท’ ความเชื่อเปลี่ยนตามเจน

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22’ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายนนี้

บรรยากาศเวลา 17.30 น. พบประชาชนร่วมรอฟังเสวนา “พุทธพาณิชย์ ชีวิตไทยไทย” โดยศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ เอ. แจ็กสัน เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการแจกลายเซ็น การถ่ายรูป แก่แฟนคลับ ที่เลือกซื้อหนังสือภายในบูธสำนักพิมพ์มติชน J47 พร้อมทั้งมีการเลือกซื้อหนังสือที่ตนเองสนใจ ทั้งในแนวประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา จิตวิทยาพัฒนาตนเอง และศิลปวัฒนธรรม เป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ทางสำนักพิมพ์ยังมีโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษกว่า 15-20% พร้อมรับของแถมสุดเก๋ไก๋เมื่อซื้อหนังสือครบ 500 บาท ขึ้นไปอีกจำนวนมาก

Advertisement

เวลา 18.00 น. ปีเตอร์ แจ็กสัน มาร่วมเวที Book Talk “พุทธพาณิชย์ ชีวิตไทยไทย” ในเรื่องของทุนนิยมที่สอดแทรกในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้แต่ความเชื่อทางศาสนา

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า หนังสือ Capitalism Magic Thailand จุดเริ่มต้นที่ผมมาประเทศไทย มีความสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ผมเก็บข้อมูลพระพุทธศาสนา ปริญญาเอกเก็บข้อมูลกับพุทธทาสภิกขุ อาจารย์ต่างประเทศหลายคนก็มีจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาที่นี้

Advertisement

“สมัยเศรษฐกิจบูมๆ ของประเทศไทย ช่วง30-40ปีที่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ในวัดที่คนไทยสนใจ เกี่ยวกับความเชื่อ คนไทยมักมองหาองค์เทพใหม่ๆ เพื่อหาความสำเร็จทางธุรกิจ มีองค์เทพใหม่ๆ ที่คนไม่เคยบูชามาก่อน” ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าว

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวต่อว่า ผมเคยอ่าน บทความของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่องราวของเจ้าแม่กวนอิม เป็นบทความที่น่าสนใจมาก มีโอกาสที่น่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมความเชื่อทั้งรูปแบบเก่า และมาเป็นรูปแบบใหม่ แม้จะเป็นนักธุรกิจ หรือคนค้าขาย เราต้องการความช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความสำเร็จในชีวิต อาจารย์ในต่างประเทศมักมองข้ามสิ่งนี้ เพราะเขาคิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเกินขึ้นในวัดเท่านั้น

ช่วงนั้นพระที่ดังมากก็คือ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา มีทั้งการปลุกเสก เครื่องรางของขลังจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเชื่อการนับถือ เครื่องรางของขลัง ของพ่อค้า แม่ค้าจำนวนมาก

เมื่อถามว่า ในหนังสือ Capitalism Magic Thailand เล่าถึงเรื่องใดบ้าง ?

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า ในหนังสือ Capitalism Magic Thailand ได้รวบรวมราชพิธี ทั้งความเชื่อจากเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่อง เทพใหม่ๆ อาทิ เทพทันใจ ประเทศพม่า ที่คนไทยก็นับถือเช่นกัน ตนพยายามรวบรวมข้อมูลว่ามีความหลากหลายอะไรบ้าง ความสัมพันธ์เศรษฐกิจสมัยใหม่ต่างๆ

สร้างไอเดียหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อ เศรษฐกิจ ทั้งความเชื่อคนไทย คนจีน เกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม องค์เทพฮินดู จตุคามรามเทพ สงสัยว่าทำไมองค์เทพต่างๆ ถึงมาดังในช่วงนี้เพราะอะไรบ้าง ทั้งสื่อมวลชนก็มีความสนใจในประเด็นนี้

“เมื่อก่อนมีความคิดว่า ถ้าระบบทุนนิยมเข้ามาจะมีความคิด หรือว่าความเชื่อกับศาสนา ในความเชื่อเดิม อาจจะหายไป แต่ใน30-40 ปี ที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เลย แม้ว่าศาสนามีความเปลี่ยนแปลง แต่ความเชื่อไม่ได้หายไปเลย และยังขยายตัวมากขึ้นตามสถานการณ์อีกด้วย

อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสให้ความเชื่อรูปแบบใหม่เข้ามา ไม่ว่าใครก็สามารถสนใจเรื่องความเชื่อใหม่ๆได้ ทุกชนชั้นเช่นกัน”ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าว

เมื่อถามว่า ทำไมความเชื่อต่างๆ อยู่ๆ ถึงบูมขึ้นมาในประเทศไทย เกิดปรากฏการณ์อะไร

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า ยกตัวอย่าง พระเครื่อง เหมือนเป็นสิ่งที่คนไทยติดตัวเอาไว้ เพื่อป้องกัน ไม่ให้สิ่งไหนมาทำอะไรเราได้ แต่ความคิดในสมัยนี้ พระเครื่องมีความเชื่อมากกว่านั้น ทั้งการขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากพระเครื่องในเรื่องของธุรกิจ การขอพรทางด้านการศึกษา สิ่งที่ความเชื่อนั้นบูมขึ้นมาก็คือ ความคิดของคนสมัยใหม่ ที่จะเป็นสิ่งที่เป็นที่พึ่งของเขาได้นั้นเอง

เมื่อถามว่า ในหนังสือมีการใช้คำว่า “ลัทธิบูชาความมั่งคั่ง” ทำไมถึงใช้คำนี้?

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า สมัยก่อนไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ความเชื่อและพฤติกรรมแบบนี้ คนเรามักเน้นความสำเร็จ ตนเคยไปที่ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา ผมประทับใจมากที่พระเครื่องที่หลวงพ่อคูณปลุกเสก จะมีชื่อทุกรุ่น และกำไลก็มีชื่อ ตนคิดว่านี่คือสิ่งที่เป็นความสำเร็จทางธุรกิจ

“ในช่วงที่เศรษฐกิจบูม ผมมาเมืองไทยก่อนในช่วงนั้น จากเมืองที่เป็นเกษตรกรรม แต่ตอนนี้เป็นอุตสาหกรรมแล้ว คนสมัยก่อนอาจจะคิดว่าพิธีการมันเกิดขึ้นแต่ในหมูบ้านเล็กๆ เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน กับเข้ามาในเมืองมากขึ้น นั้นแปลว่าความเชื่อในหมู่บ้าน ชนบท ก็ส่งผลต่อคนมนเมืองหลวงเหมือนกัน ซึ่งนักกิจกรรมต่างๆ ก็สนใจเรื่องเช่นนี้ด้วย”ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าว

เมื่อถามว่า ปรากฏการณ์ในสื่อที่เห็นได้มากมาย ที่คนชอบมาแสดง อภินิหาร ความเชื่อต่างๆ คิดเห็นอย่างไร ?

เป็นเหมือนเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว มีมาตั้งนานแล้ว ในหมู่บ้านตามชนบท อาจจะมีทั้งผู้หญิง และผู้ชายที่เป็นทั้งคนทรงเจ้า ผมสังเกตว่า คนทรงเจ้า มักทรงเจ้าเป็น เจ้าแม่กวนอิม เทพอาจารย์ มีความหลากหลายทั้งพฤติกรรม และความเชื่อ และเป็นสิ่งตรงข้ามกับคำว่าสังคมสมัยใหม่

สิ่งที่น่าสนใจคือ อาทิ วัดแขก จะมีงานทุกปี งานนวราตรี
จะมีคนมาบูชาองค์พระพิฆเนศ คนที่จะมาร่วมงานมักมากขึ้นทุกปีขยายขึ้น10เท่า จากเมื่อก่อน เป็นการขยายความเชื่อ คนที่เป็นองค์เทพจากทั่วประเทศก็เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อที่จะมาร่วมงาน

และเทศกาลกิเจ จังหวัดภูเก็ต ก็มีความเชื่อจากคนในพื้นที่ต่างๆ เป็นความเชื่อที่มีความหลากหลาย ทั้งองค์เทพ หรือพระเครื่องก็ได้ เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และทุกชนชั้นก็จะเข้ามามีบทบาทด้วยเช่นกัน

เมื่อถามว่า คำว่าร่างทรง มีคำว่า “การทรงเจ้า” ขึ้นมา ทำให้ความเชื่อมากขึ้นจริงหรือไม่?

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า เห็นด้วย คำว่า ร่างทรง ในชนบทโบราณ มักใช้คำว่าผีเข้า เป็นคำที่ไม่น่ากลัว ถ้าเราพูดว่าเทพเจ้าเข้า เหมือนยกระดับคำว่าร่างทรง เพราะคำว่าเทพ เป็นคำที่สูงกว่าผี ไม่ใช่พฤติกรรมอย่างเดียว เป็นเหมือนการยกระดับ พิธีกรรม ความเชื่อไสยศาสตร์ ถ้าเรายกระดับภาษาไปด้วย ก็จะทำให้มีคนสนใจมากขึ้น ความเชื่อมักตามมาด้วยบารมีที่มากขึ้น อาจจะเรียกว่าเป็นการเสริมบารมี องค์เทพก็เสมือนฐานนะของวิญญาณที่ค่อยช่วยเหลือในสมัยนี้ได้

เมื่อถามว่าการเปลี่ยนรูปลักษณ์ ของขลังให้เป็นสิ่งที่น่ารักมากขึ้น ความขลังจะมีอยู่ไหม?

การมูเตลูมักจะเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทุกคนต้องหาที่พึ่งจากคนทรงเจ้า จากอินเตอร์เน็ตต่างๆ สิ่งเหล่านี้มักมาตามเศรษฐกิจด้วย แต่ก็มีคำถามว่า ความเชื่อยังอยู่ไหม บางคนก็คงเชื่ออยู่ บางคนบอกว่าคนที่มาขายของแบบนี้อาจจะเน้นความน่ารักของ แต่ผมว่าอยู่ที่ความเชื่อว่าคนที่นับถือสิ่งเหล่านั้น ว่านับถือจริงไหม บางคนก็ไม่เชื่อ บางคนก็เชื่อ

ของขลังมักเข้ามากับเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจมักจะเข้ามากับคนรุ่นใหม่ กับนักศึกษา กับคนที่ไม่เข้าวัด แสดงว่า ความเชื่ออาจะเปลี่ยนตามรุ่น

“ความหลากหลายของประเทศไทย เป็นสิ่งที่สร้างรสชาติ เหมือนอาหารไทย ที่ต้องมีหลายอย่างในหนึ่งมื้อ หวาน เค็ม เผ็ด ต้องครบ เหมือนกับ ความหลายหลายในโต๊ะบูชาของคนไทย ก็มีทั้งองค์เทพในไทย ในจีน หรืออินเดียได้ ความเชื่อของประเทศไทยมีความหลากหลายมาก แต่ก็เป็นปัญหาของนักวิชาการ ที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาของความหลากหลายเหล่านี้ได้ เราต้องสร้างไอเดียที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม”ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวทิ้งท้าย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image