‘อยากขอกองทัพเปิด กศน.’ สุรชาติ ทอล์กเข้ม ฝาก รมว.กลาโหม ‘ทำให้ได้ คิดให้เป็น’

‘อยากขอกองทัพเปิด กศน.’ สุรชาติ ทอล์กเข้ม ฝาก รมว.กลาโหม ‘ทำให้ได้ คิดให้เป็น’

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยรัฐ (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22’ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายนนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 16.45 น. พบประชาชนต่างตั้งตารอ ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจำนวนมาก พร้อมที่จะฟังเรื่องราวการถกเถียงเสนอทางรอดของกองทัพไทยที่ควรจะเป็นในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งยังถ่ายภาพและขอลายเซ็นกับ ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ กันอย่างคึกคัก

เวลา 17.00 น. Matichon’s Special Talk “ปฏิรูปกองทัพไทย” กับ ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ โดยกล่าวว่า สาเหตุที่ชอบเขียนเรื่องทหารเพราะตนเหมือนเด็กในยุคก่อนที่อยากเป็นทหาร พอมาเรียนรัฐศาสตร์ก็สอดรับในสิ่งที่เรียน โดยการเรียนการสอนมีการเรียนวิชาทหารจริงๆ เรียนในมหาวิทยาลัยพลเรือน การเรียนปริญญาเอก เรียนบริบทที่เขาสร้างคนให้บรรจุในกระทรวงกลาโหม เมื่อเข้าสู่กระทรวงกลาโหมแล้วจะถูกสอนว่าอย่าถูกทหารหลอก เพราะอย่างนั้นเราจะถูกสอนทุกอย่างว่าอะไรจะถูกหลอก เช่น ตัวเลขต่างๆ

Advertisement

“การทำรัฐประหารในระยะแรกๆ ผมเป็นตัวประหลาด เพราะไม่มีใครพูดเรื่องทหาร เป็นคนเขียนเรื่องทหารในช่วงยุคแรกๆ ในช่วงสงครามเย็นคนก็มองว่าผมเป็นสายลับของชาติไหม แต่ตอนหลังคนก็เข้าใจมากขึ้นว่าเราเป็น อาจารย์คนหนึ่งที่สนใจเรื่องดังกล่าว” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวต่อไปว่า ข้อดีคือพอเราทำเรื่องนี้นานๆ ทำได้เห็นเรื่องกองทัพยาวๆ พอเราเห็นกองทัพยาว เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อกระแสโลกที่กระทบกับกองทัพ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ กระแสโลกที่กระทบมากับบริบทการเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทย กองทัพเป็นสถาบันที่มีความผูกพันของสังคม พอสังคมเปลี่ยนก็กระทบกับกองทัพรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

Advertisement

เช่น กองทัพยุโรป ความรู้สึกของเราคือบางยุคอยากเห็นลูกสาวแต่งงานกับทหารเพราะเป็นเกียรติ แต่มาอีกยุคไม่อยากให้แต่งกับทหาร เพราะทหารเมาเหล้า

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งกระแสลมในบ้านและนอกบ้าน นอกบ้านลมนอกคือกระแสโลกาภิวัฒน์ในบ้านคือกระแสการเมือง ความน่าสนใจคือกองทัพจะยืนอย่างไร” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า อาจารย์เขียนเรื่องการปฏิรูปกองทัพมาตั้งแต่เมื่อใด

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวว่า เมื่อปี 2528 เรื่องการปรับโครงสร้างของรัฐและการปฏิรูปที่เพิ่งกลับมาจากการเรียนจบปริญญาโท ตนไปสอนโรงเรียนทหาร และมีนักเรียนทหารท่านหนึ่งพูดว่าอาจารย์จำได้ไหมว่าบทความของการปฏิรูปกองทัพออก ปีนี้ 2567 ปีหน้า ครบ 40 ปี

เมื่อถามว่า ช่วงระยะเวลาการเลือกตั้งที่ผ่าน การปฏิรูปกองทัพเริ่มถูกหยิบยกมามากขึ้น ในประเด็นเรื่องการเกรณ์ทหาร เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รับราชการทหารต่างๆ สิ่งที่กองทัพไทยที่ยังเป็นอยู่ มาจากการตกทอดในยุคสงครามเย็นหรือไม่?

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวว่า กองทัพเป็นอะไรที่เปลี่ยนช้าสุด

“การเรียนวิชาทหารมีการขับเคลื่อนช้าและไม่เปลี่ยน แต่ลักษณะเช่นนี้ในกองทัพยุโรปก็ไม่แตกต่างกัน อะไรคือการเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมใหญ่ในการปฏิรูปกองทัพคือแพ้สงคราม หรือรู้ว่าสงครามเริ่มเปลี่ยนแต่รบไม่ได้ สังคมไม่อยากเห็นกองทัพแบบนี้ ซึ่งมีนัยเกี่ยวกับสงครามปฏิวัติ” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวต่อไปว่า เมื่อเรารบแพ้แล้วแพ้ใหญ่จะกลับมาสู่คำถามว่าถ้าเข้าสู่สงครามครั้งหน้าจะรบอย่างไร หากเข้าสู่การรบครั้งหน้ายังใช้ความคิดเดิม คำตอบก็คือยังแพ้เหมือนเดิม

“วันที่กองทัพอเมริกันแพ้สงครามเวียดนาม นายทหารอเมริกันกับไปถามคำถามที่ใหญ่ที่สุด กองทัพอเมริกันมีทุกอย่าง รบชนะในทุกสนามรบ คำตอบของการปฏิรูปกองทัพอเมริกันไปเป็นคำตอบที่สงครามอ่าวเปอร์เซีย เราเห็นการถกเรื่องนี้จำนวนเยอะมาก กองทัพจีนก็ปฏิรูปใหญ่ เมื่อกองทัพอเมริกันชนะสงครามใหญ่ที่สุด ผู้นำกองทัพจีน ก็ยังเปิด CNN ดู CNN นำกล้องตั้งหน้ารถถัง ทุกคนได้ดูสงครามพร้อมกับการเคลื่อนตัวของทหาร

ในเรื่องการเกณฑ์ทหาร ปกติเดือนเมษายนผมจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก สิ่งที่พูดมานานตอนเรียนหนังสือเรียนที่สหรัฐเห็นวันที่สงครามเวียดนามกำลังจบ สงครามสหรัฐมีปัญหา วันนี้มีลูกศิษย์ผม นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ปฏิเสธการเกรณ์ทหาร นึกถึงยุคอเมริกันในอดีต การปฏิเสธแบบนี้ทำให้เกิดความปั่นป่วน

ในยุคสงครามเวียดนามถ้าจะหนีก็ต้องไปแคนนาดา แต่ถ้าไม่ไปแคนนาดาคำตอบเดียวคือคุณเอาเวียดนาม พอเป็นแบบนี้จึงเกิดความพยายามลดแรงต้านของสังคม ในวิธีแบบอเมริกันเขาจะใช้งานวิจัยเป็นตัวนำ เป็นหนึ่งในยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนทหารของสังคมอเมริกัน คือกองทัพทหาร

ผมคิดว่าเรื่องทหารอาสาในประเทศไทย มีการคิดแบบไม่ค่อยเป็นกรอบใหญ่ เช่น ผมเสนอเรื่อง ถ้าคิดมาเป็นอาสา ทหารอาสาต้องอยู่เกิน 2 ปี เราจะฝึกเขามากขึ้นให้เป็นทหารอาชีพมากขึ้น แต่ก็จะกระทบสวัสดิการใหม่ หลังเลือกตั้งการปฏิรูปกองทัพมันถูกแบ่งเป็นส่วนเสี้ยว ทั้งการเกณฑ์ทหาร การปฏิรูปกองทัพ งบประมาณ อาวุธต่างๆ” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวต่อว่า ในวันนี้เรายังไม่เห็นแผนรวมของการปฏิรูป หลังจากสิ้นสุดสงครามคอมมิวนิสต์เราเคยทำมาแล้ว เช่น วันนี้ถ้าเราลดกำลังพลทหาร เราจะเปิดให้พลเรือนเข้าไป แต่ไม่แต่งเครื่องแบบ ปรากฏว่าเสนอไปตอนนั้นคนไม่เอา แม้แต่ไปรษณีย์ยังขอเครื่องแบบ ทุกหน่วยงานขอเครื่องแบบหมด

“ในตอนนั้นเราเสนอว่าถ้าเอาพลเรือนเข้าสู่กระทรวงกลาโหม และต้องลดกำลังพลทหารลง เราจะปลดเครื่องแบบพวกนี้ คนไม่รับ เพราะคนอยากแต่งเครื่องแบบ แต่ดูในต่างประเทศนี้คือการลดกำลังพลที่ง่ายที่สุด” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

เมื่อถามว่า การที่กองทัพจะปฏิรูปได้ ต้องเปิดโอกาสให้พลเรือนเข้ามายุ่ง แต่ถ้าหากเขาไม่อยากให้เรายุ่งจะแก้ปัญหาอย่างไร?

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวว่า ในช่วงต้นการปฏิรูปพลเรือนเข้าไปอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด แต่มีนัยว่ากำลังพลที่ต้องเข้าไป ต้องมีการถูกถอดเครื่องแบบ คือการถูกถอดเครื่องแบบทหารให้เป็นพลเรือน ยกตัวอย่างบางหน่วยงานไม่จำเป็นต้องแต่งเครื่องแบบ เช่น หน่วยงานเรื่องการเงิน

“เช่นกรณีโลกตะวันตก ในโรงพยาบาลทหาร ทหารที่ไม่ได้อยู่ในยามสงคราม อาจจะไม่ได้อนุญาตให้มีการแต่งเครื่องแบบ ทหารหมอจะแต่งเครื่องแบบก็คือสนามรบเท่านั้น หรือในกองทัจะพอเมริกัน ไม่ว่าคุณจะมียศอะไร จะไม่มีการทำความเคารพในเวลาอยู่ในโรงพยาบาลทหาร เพราะถือว่าโรงพยาบาลมี 2 อย่าง คือหมอ และคนไข้” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวต่อว่า จุดเริ่มต้นไม่ได้เอาพลเรือนเข้า เพราะว่าเข้าไปไม่ได้ แต่หน่วยบ้างหน่วยอาจจะต้องถูกปรับ การเป็นข้าราชการพลเรือน พอเป็นข้าราชการในกระทรวงกลาโหมทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากแต่งเครื่องแบบ พอเป็นแบบนี้โอกาสที่จะคิดแผนการปฏิรูปจริงๆ มันเหมือนกับการติดอะไรเล็กๆ น้อยๆ เต็มไปหมด พอเจอเรื่องใหญ่ๆ ก็จะไม่สามารถทำแผนใหญ่ได้

“หากทหารเกณฑ์เปิดอาสาสมัคร แต่เราไม่ได้ถามต่อว่าแล้วตัวระบบล่ะจะเป็นอย่างไร เราเพียงแค่ให้คนไปยื่นอาสา เราเป็นทหารอาสา อาจจะใช้เวลาและระยะเวลาในการฝึกน้อยกว่าด้วย

ทหารอาสาในอเมริกันบอกว่าถ้าคุณยื่นอาสาไม่ใช่กี่เดือนจะกลับบ้าน แต่แปลว่าคุณจะอยู่ยาว เพราะคุณจะถูกฝึกมากขึ้น นั่นคือเหตุผลที่กองทัพยุโรปเริ่มใช้ ในภาษาบ้านเราเรียกการจับใบดำ ใบแดง วันนี้ยังเหลือไม่กี่กองทัพที่ยังจับใบดำ ใบแดง มันไม่เป็นคำตอบ ยกเว้นเราคงทำไม่ได้ในบริบทของ อิสราเอล เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ผู้ชายทุกคนต้องเกณฑ์ทหาร

ระบบการเกณฑ์ทหารทั่วโลกมีหลายระบบมาก การจับใบดำ ใบแดง เป็น 1 ระบบเท่านั้น และเราไม่เคยเปิดชุดความคิดว่ามันมีการเกณฑ์ทหารอีกหลากหลายระบบบนโลกใบนี้เป็นสิ่งที่เลือกได้ แต่คำถามคือเราพร้อมจะปรับไหม บ้านเราไม่ได้ปรับ แต่ประกาศให้คนมาอาสา ไม่ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลง” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวต่อว่า หัวข้อการเกณฑ์เป็นเรื่องใหญ่ เพราะการเกณฑ์ทหารเป็นเรื่องของคนทั่วโลก การคิดแบบว่าการนำพลเรือนเข้ามาเป็นทหาร เราต้องคิดว่าไปไกลกว่าว่าถ้าเราตัดสินใจจะทำอะไรต้องเป็นเรื่องที่ต้องทำต่อ

“ผมพูดมาตลอดว่าผมอยากให้กองทัพเป็นโรงเรียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผมอยากขอกองทัพเปิด กศน. หากเปิดได้เราจะนำลูกหลานพี่น้องชาวนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ยกตัวอย่างในอินเดีย คนอยากเป็นทหาร หลักประกันเมื่อคุณพ้นเกณฑ์ คุณได้งานแน่ๆ ถ้ากองทัพเป็น กศน. ลูกหลานชาวนาจะได้เรียนและฝึกอาชีพ ให้ทำงานได้เป็นหลากหลายอย่าง

เมื่อผมเจอทฤษฎีของจริงจากคนขับรถแท็กซี่ เขาบอกได้ว่าเขาขับรถเป็นเพราะเป็นทหาร นี่คือทฤษฎีของผมที่ผมเจอกับตัวเอง รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมต้องทำให้ได้ คิดให้เป็น” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

เมื่อถามว่า ในเชิงโครงสร้างทางอำนาจรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมจะดีลอย่างไรกับผู้มีอำนาจในกองทัพ?

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวว่า เราตั้งโจทย์แบบนี้ การตั้งโจทย์แบบความกลัว ในยุคก่อนไม่มีใครอยากเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ทหารเก่ามาเป็นรัฐมนตรี เพราะรู้ถ้าเข้าไปจะมีปัญหา วันนี้การเมืองเริ่มเปลี่ยน

วันนี้ถ้าไม่มีรัฐประหาร ในอนาคตอีก 10 ปี การเมืองในระบบรัฐสภาเดิมเริ่มมีพลเรือนเข้าไปเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวง เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากกระแสสังคมที่จะเริ่มบีบรัฐมนตรีกลาโหมที่เป็นพลเรือนต้องเครียดมากขึ้น แน่นอนว่าในกระทรวงนี้มีประเพณี ระเบียบบางอย่าง ผมพูดเสมอว่าวันนี้ศิษย์เก่าที่จบมาที่ไหนแข็งแกร่งสุด ศิษย์เก่า จปร. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแข็งที่สุด ไม่จำเป็นต้องตั้งสมาคมด้วย

“กองทัพเป็นสถาบันที่ถูกสร้างมาอย่างยาวนาน ผมตั้งคำถามว่าปฏิรูปกองทัพไทยที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เมื่อไหร่ ตำตอบผมคือไม่ถูกใจแน่ๆ นั่นคือการปฏิรูปกองทัพไทยเกิดขึ้นใน ร.5

เมื่อพระองค์ท่านจัดตั้งกองทัพสยาม เป็นนกองทัพสมัยใหม่ นั้นคือจุดเริ่มต้นของการสร้าง modern army ของสยาม” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าวว่า สยามในยุค ร.5 เป็นกองทัพสมัยใหม่ ยุคนั้นยังเป็นยุคอาณานิคม การกำเนิดโรงเรียนนายร้อย จปร. สถาบันสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นที่มาก่อนจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กองทัพนั้นมาก่อน

“สิ่งที่พระองค์ท่านจัดตั้ง modern army เราทำเรื่องที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งคือ ‘การเกรณ์ทหาร’ คำถามเราจะให้ลูกไพร่เรียนนายร้อยหรือไม่? คำตอบคือต้องเข้า เพราะไม่งั้นเราจะสร้างกองทัพไม่ได้ เราต้องสร้างระบบราชการ อาวุธต่างๆ เราต้องสร้างระบบกำลังพลสมัยใหม่ เราต้องสร้างกองทัพสมัยใหม่เหมือนยุโรป” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image