สปสช. เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็น โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจและความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สิทธิบัตรทอง)ของประชาชน” 

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

การสำรวจในครั้งนี้ ตัวอย่าง 75 % เป็นเพศหญิง 25% เป็นเพศชาย และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นเพศทางเลือก ซึ่งมีอายุระหว่าง 31–40 ปี รองลงมามี อายุระหว่าง 41–50  ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว รองลงมาโสด และเป็นหม้ายหรือหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ โดยตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รองลงมาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า และสูงกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สำหรับอาชีพหลักของตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัท รองลงมาประกอบอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพผู้ใช้แรงงานรับจ้างทั่วไป ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001-30,000 บาท

การใช้สิทธิการรักษาพยาบาล พบว่า ตัวอย่างใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากที่สุด รองลงมาสิทธิหลักประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น สิทธิประกันสุขภาพเอกชน/บัตรประกันชีวิต และยังมีตัวอย่างบางส่วนที่ไม่มีสิทธิใดๆ เพราะเลือกที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง

ส่วนที่ 2 : การรับรู้ และความรู้ความเข้าใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และพึงพอใจต่อระบบ

Advertisement

จากการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ รู้จักสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. (ร้อยละ 75)แต่ก็มีบางส่วนที่ยังไม่รู้จักสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. (ร้อยละ 25)และจากการสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ทราบว่าหน่วยงานใดรับผิดชอบเรื่องสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (ร้อยละ 50%) สายด่วนหมายเลขใดเป็นช่องทางสอบถามข้อมูลหลักประกันสุขภาพ (ร้อยละ 41.7) ทราบ (ร้อยละ 25) ไม่ทราบ  และ (ร้อยละ 50 )เคยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่ (สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง) ประเภทของการรับบริการครั้งล่าสุด (ร้อยละ 50 ) บริการผู้ป่วยนอก

การรับรู้ รับทราบของตัวอย่างว่า สามารถสอบถามข้อมูลการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียนได้ที่ “สายด่วน สปสช. โทร 1330” ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งที่ทราบว่ามีสายด่วนโดยสามารถสอบถามข้อมูลได้ (ร้อยละ 48.92) แต่มีบางส่วนที่ยังไม่ทราบ (ร้อยละ 42.52) และยังไม่แน่ใจ (ร้อยละ 8.57) สำหรับตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ทราบว่ามีสายด่วนแต่ก็ยังไม่เคยใช้บริการ (ร้อยละ 72.71) ส่วนตัวอย่างที่เคยใช้บริการสายด่วน (ร้อยละ 27.29) ซึ่งเคยใช้บริการสอบถามข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากที่สุด รองลงมาเคยใช้บริการในการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลด้วยระบบอัตโนมัติ ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพการเข้ารับบริการสาธารณสุข และในเรื่องการร้องเรียนหรือร้องทุกข์

ประเด็นทราบหรือไม่ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สปสช. มีนโยบายและการดำเนินงานเพื่อดูแลประชาชน ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

Advertisement
  1. ตรวจคัดกรองโควิด-19 ประชาชนทุกสิทธิ    ทราบ (ร้อยละ 80) ไม่ทราบ (ร้อยละ 20)
  2. ผู้ป่วยโควิด-19 รักษา รพ.รัฐ/เอกชน ฟรี ทราบ (ร้อยละ 70) ไม่ทราบ (ร้อยละ 30)
  3. ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) หรือที่ชุมชน (Community Isolation) 

ทราบ (ร้อยละ 70) ไม่ทราบ (ร้อยละ 30)

  1. ช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19  ทราบ (ร้อยละ 50) ไม่ทราบ (ร้อยละ 50)
  2. สายด่วน สปสช. 1330 ร่วมหาเตียงดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19ทราบ (ร้อยละ 80) ไม่ทราบ (ร้อยละ 20)
  3. สายด่วน สปสช. 1330 ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อส่งเข้าระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ

ทราบ (ร้อยละ 75) ไม่ทราบ (ร้อยละ 25)

ประเด็นท่านเคยรับบริการตามที่ สปสช. มีนโยบายและดำเนินการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หรือไม่ 

  1. ตรวจคัดกรองโควิด-19 ประชาชนทุกสิทธิ  ทราบ (ร้อยละ 80) ไม่ทราบ (ร้อยละ 20)
  2. ผู้ป่วยโควิด-19 รักษา รพ.รัฐ/เอกชน ฟรี  ทราบ (ร้อยละ 70) ไม่ทราบ (ร้อยละ 30)
  3. ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) หรือที่ชุมชน (Community Isolation)ทราบ (ร้อยละ 70) ไม่ทราบ (ร้อยละ 30)
  4. จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19  ทราบ (ร้อยละ 50) ไม่ทราบ (ร้อยละ 50)
  5. สายด่วน สปสช. 1330 ร่วมหาเตียง ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19(ร้อยละ 80) ไม่ทราบ (ร้อยละ 20)
  6. สายด่วน สปสช. 1330 ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อส่งเข้าระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ 

ทราบ(ร้อยละ 75) ไม่ทราบ (ร้อยละ 25)

ความพึงพอใจต่อการรับบริการสาธารณสุขโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

ประเด็นการให้บริการของแพทย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 37.33 มีความพึงพอใจปานกลาง รองลงมาร้อยละ 371 มีความพึงพอใจมาก และร้อยละ 16.33 มีความพึงพอใจมากที่สุด ตามลำดับ (ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับปานกลาง)

ประเด็นคุณภาพของยาหรืออุปกรณ์การแพทย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 41.80 มีความพึงพอใจปานกลาง รองลงมาร้อยละ 26.48 มีความพึงพอใจมาก และร้อยละ 14.31 มีความพึงพอใจมากที่สุด ตามลำดับ (ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับปานกลาง)4. ยาและเวชภัณฑ์ ร้อยละ 80 พอใจ

ประเด็นเรื่องคัดกรองโรคโควิด-19   ตัวอย่าง ร้อยละ 37.33 มีความพึงพอใจปานกลาง รองลงมาร้อยละ 371 มีความพึงพอใจมาก และร้อยละ 16.33 มีความพึงพอใจมากที่สุด ตามลำดับ (ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับปานกลาง)

ประเด็นเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการรับบริการสาธารณสุขโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่   ไม่เคยเสียค่าใช้จ่าย ร้อยละ 91 เสียค่าใช้จ่าย ร้อยละ 9

นอกจากนี้การสำรวจการรู้จักหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 87.23) และมีเพียงส่วนน้อยที่ยังไม่รู้จักหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 12.39)

สิทธิประโยชน์และบริการที่เป็นข้อเสนอเพิ่มเติมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 45.6% ต้องการให้เพิ่มการคุ้มครองให้ทัดเทียมกับสิทธิประกันสุขภาพอื่นๆ ครอบคลุมโรคมากขึ้น 25.5% ต้องการให้ปรับปรุงการให้บริการของบุคลากร รวมไปถึงการเสียเวลาในการรอคอยนานมากและ 20.1% ต้องการให้ใช้ยาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย

ปัญหา อุปสรรคของการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องระยะเวลาของการรอตรวจที่โรงพยาบาลใช้เวลานาน มาเป็นอันดับแรก รองลงมาปัญหาเรื่องระบบการส่งต่อผู้ป่วย ปัญหาการรักษาพยาบาลไม่เท่าเทียมกับสิทธิอื่น ปัญหาการได้รับบริการจากเจ้าหน้าที่ ที่ไม่เท่าเทียมกับผู้ที่ใช้สิทธิอื่น ปัญหาเรื่องจำนวนบุคลากรสาธารณสุขไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้บริการของผู้มีสิทธิ และปัญหาในการสวมสิทธิของบุคคลอื่น

ข้อเสนอเพิ่มเติมในการปรับปรุงและพัฒนาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ตัวอย่างมีความต้องการที่จะให้ปรับปรุงหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยส่วนใหญ่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของสิทธิในการรักษา การดูแลผู้ป่วยควรมีความเท่าเทียมกันไม่ลำเอียง และไม่จำกัดสิทธิในการรักษา รองลงมาต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขให้ประชาชนสามารถเลือกสถานพยาบาลที่สะดวกหรือใกล้ภูมิลำเนาของผู้ป่วยได้ และต้องการให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีสิทธิเท่ากับประกันสังคม/สิทธิข้าราชการหรือสามารถที่จะใช้สิทธิร่วมกันได้ด้วย

ท้ายที่สุดข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตัวอย่างแสดงความคิดเห็นว่าควรพัฒนาสถานที่และระบบการให้บริการให้มีความสะดวกหรือรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงจิตสำนึกที่ดีของผู้ให้บริการ รองลงมาอยากให้พัฒนาประสิทธิภาพของยา, อุปกรณ์การแพทย์, บุคลากรทางการแพทย์ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อการรักษา และมีความคิดเห็นว่าควรจัดกิจกรรมหรือประชาสัมพันธ์หน่วยงาน สปสช.ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้เป็นที่รู้จัก ให้ความรู้ แจ้งข่าวสาร แก่บุคคลทั่วไปได้รับทราบอย่างทั่วถึง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image