ไชยชนก ชิดชอบ บอสใหญ่ “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต” เปลี่ยนคำว่า “เด็กติดเกม” ให้เป็นพลังบวก สู่แชมป์โลก RoV

คำว่า “เด็กติดเกม” อาจเป็นคำด่าที่ด้อยค่ากลุ่มคนที่รักการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่ในยุคที่เกม กลายเป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและโลกในชื่อ “อีสปอร์ต” สังคมก็ค่อยๆ เริ่มเปลี่ยน ความคิดที่มีต่อคำดังกล่าว เพราะมีบทพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เด็กติดเกมสามารถ ประสบความสำเร็จ เพราะ เกมได้มากกว่าที่คิด

ไชยชนก ชิดชอบ รองผู้อำนวยการสายงานการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ที่ยอมรับว่าครั้งหนึ่งตัวเองเคยเป็นเด็กติดเกม เป็นตัวอย่างสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จเพราะเกม ล่าสุดเขาสามารถพาทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต คว้าแชมป์โลก RoV จากสังเวียน Arena of Valor International Championship 2021 (AIC) มาครองได้สำเร็จ และแสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมา เขาคิดถูก แค่ ไหนที่ใจรักและทุ่มเทให้เกมขนาดนี้

ได้แชมป์ยาก ป้องกันแชมป์ยากกว่า

กว่าจะมีวันนี้ เส้นทางของทีม RoV ของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต เคยเข้าใกล้ความสำเร็จ ระดับ โลกมากที่สุดเพียงตำแหน่งรองชนะเลิศ AIC เมื่อปี 2019 แต่พอคว้าแชมป์มาครองได้จริงๆ  บอสใหญ่ ปราสาท  สายฟ้า ก็ไม่เชื่อสายตาว่าความฝันกลายเป็นจริงแล้ว พร้อมยกความดีความชอบ ให้นักกีฬาทุกคน ที่สู้ขาดใจตั้งแต่ต้นจนจบ

Advertisement

 “น้องๆ ในทีมทั้ง 6 คน มีความสามารถ ความตั้งใจ ความพยายาม เพื่อแชมป์ที่เฝ้ารอมานาน แต่จริงๆ แล้วเพอร์ฟอร์แมนซ์ของทีมเราเพิ่งดีช่วงรอบชิง AIC 2021 ข้อดีคือทำให้ทีมเราไม่ค่อยถูกจับจ้อง ไม่เจอแรงกดดันจากทีมอื่นมาก เลยมีเวลาเตรียมตัวสำหรับการคว้าแชมป์มากขึ้น”

แต่ก็เหมือนกับคำพูดที่ว่า “การจะเป็นแชมป์นั้นยาก แต่การรักษาแชมป์เอาไว้นั้นยากกว่า” แม้ตอนนี้ฤดูกาลใหม่ยังไม่เปิดม่านอย่างเป็นทางการ แต่ไชยชนกยอมรับว่าพวกเขา ไม่ใช่ทีมนอกสายตา อีกต่อไปแล้ว และเส้นทางการป้องกันแชมป์จะไม่เหมือนที่เคยเจอมาแน่นอน

“แทนที่จะรู้สึกว่า เราประสบความสำเร็จแล้ว ภารกิจจบแล้ว มันกลับรู้สึกว่าเราต้องลุยต่อเลย เราต้องพยายามกว่าเดิม เพื่อเป้าหมายเดียวคือต้องป้องกันแชมป์ให้ได้” หัวเรือใหญ่บุรีรัมย์กล่าวอย่างมั่นใจ

Advertisement

ลูกปลื้ม พ่อปลื้ม

กว่าทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต จะกลายมาเป็นแชมป์โลก RoV รู้หรือไม่ว่าอุปสรรคใหญ่ที่ต้อง ฝ่าฟันให้ได้ ไม่ใช่คู่แข่งทีมอื่นๆ จากทั่วทุกมุมโลก แต่เป็น เนวิน ชิดชอบ พ่อบังเกิดเกล้าของไชยชนกนี่เอง เนื่องจากที่ผ่านมา “ลุงเนวิน” ไม่เข้าใจว่าการเล่นเกมมีประโยชน์อะไร บุตรชายคนโตของ เนวินเล่าว่า สาเหตุที่พ่อไม่ปลื้ม เพราะภาพจำที่เห็นลูกๆ ติดเกมงอมแงม แถมพอโตมา ความชอบที่มีต่อเกมก็ยัง ไม่ หายไป ทำให้สงสัยว่า เกมมีประโยชน์อะไร และสามารถเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ได้จริงอย่างนั้น หรือแต่ทันทีที่เนวินเปิดโอกาสให้ไชยชนกได้ลองทำในสิ่งที่ชอบ เมื่อนั้นกำแพงที่เคยขวางกั้นพวกเขา ก็พังทลายลงอย่างราบคาบ“พ่อเริ่มเปิดใจมากขึ้น พ่อเห็นความพยายามมาตั้งแต่ตอนเราเป็นแชมป์ประเทศ ตอนยังไม่เป็นแชมป์โลก และด้วยความที่เขาทำทีมกีฬาอยู่แล้วด้วย พอเห็นมูลค่าเงินรางวัล และสถิติต่างๆ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับทีมฟุตบอลได้ พ่อก็เข้าใจ และเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น”

ไชยชนก เผยอย่างปลาบปลื้มด้วยว่า รางวัลที่มีคุณค่าทางใจไม่แพ้แชมป์โลก คือคำชมที่พ่อมีให้เขา และทีมนั่นเอง“ถึงพ่อจะเป็นคนพูดน้อย ไม่ค่อยชมใครบ่อยๆ แต่วันที่ได้แชมป์โลก พ่อโทรมาหาผมแล้ว บอกว่าเก่งมาก มันเหมือนจะไม่มีอะไรนะ แต่คำชมของพ่อเนี่ย ไม่รู้ว่ากี่สิบปีจะได้ยินสักครั้งหนึ่ง ก็ค่อนข้าง ภูมิใจครับที่พ่อภูมิใจในทีมและน้องๆ นักกีฬาทุกคน” 

กายพร้อม ใจต้องพร้อมยิ่งกว่า 

ในฐานะที่คลุกคลีกับนักกีฬาอีสปอร์ตมาเยอะ ทั้งทีมตัวเองและทีมคู่แข่ง ไชยชนกพบว่า นักกีฬา อีสปอร์ต ทุกคนต่างมีแพชชั่นในการเล่นเกม ทุกคนเอาจริงเอาจัง และไม่ได้มาเล่นๆ เพราะคนเล่นเกมส่วน ใหญ่โดนตีตราว่าเป็น“เด็กติดเกม”มาก่อนจึงต้องการพิสูจน์ว่าพวกเขาก็สามารถประสบความสำเร็จจากการ เล่นเกมได้

การหล่อเลี้ยงไฟดังกล่าวให้ลุกโชนอาจไม่ยากแต่ความท้าทายของจริงอยู่ที่การดูแลสภาพจิตใจนัก

กีฬาและน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทีมอีสปอร์ตประสบความสำเร็จยิ่งกว่าการได้ชัยชนะเป็นมูลค่าเงินทองเสียอีก“การแข่งขันอีสปอร์ตต่างจากการแข่งขันกีฬาอื่นๆ ตรงที่ไม่ต้องใช้ร่างกายปะทะมากเท่าไหร่ แต่ในแง่ผลกระทบต่อจิตใจ กีฬาอีสปอร์ตมีผลกระทบมากกว่า“สมมติวันแข่งนอนไม่เต็มอิ่ม หรือเกิดอะไร ขึ้นที่บ้าน สามารถทำให้การตัดสินใจของนักกีฬาเป๋ได้เลย ในการแข่งขันอีสปอร์ตที่ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ก็รู้ผล ทำให้ทุกนาทีมีความหมาย ถ้าสภาพจิตใจไม่พร้อม ต่อให้เอาแชมป์โลกมาแข่ง ก็ไม่สามารถ ดึง ศักยภาพ ออกมาแล้วไปถึงเป้าหมายได้ ดังนั้นนี่คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด” ผู้บริหารทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต ยืนยัน

อีสปอร์ตเติบโตได้ รัฐต้องช่วยนำทาง

เมื่อมองย้อนกลับไป ไชยชนกพบว่า แวดวงอีสปอร์ตของไทยมาไกลกว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งผู้คนให้การยอมรับเยอะขึ้น กระแสตอบรับที่เป็นบวกมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะความพยายาม และความมุ่งมั่นของทุกคนในวงการจนมาถึงจุดนี้แต่วงการนี้จะอยู่รอดได้ หน่วยงานภาครัฐก็ต้อง สนับสนุนด้วยเช่นกัน แม้ที่ผ่านมามีการประกาศให้อีสปอร์ตเป็นกีฬาอาชีพ อย่างไรก็ตาม ไชยชนกยังอยาก เห็นการสนับสนุนในก้าวย่างต่อไปอย่างจริงจัง ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน ที่กำลังสนใจเส้นทางอาชีพในสายนี้

“ไม่แค่การเป็นนักกีฬาอาชีพ แต่ในอุตสาหกรรมอีสปอร์ต มีวิธีการสร้างรายได้ สร้างอาชีพมหาศาล เช่น เป็นช่างภาพ เป็นนักตัดต่อ เป็นนักพากย์ หรือเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มันมีโอกาสเต็มไปหมด ยิ่งใน สถานการณ์ที่มีวิกฤตหลายๆ อย่างในปัจจุบัน ทำให้การทำงานแบบปกติลำบาก

“หากรัฐให้การสนับสนุนเด็กๆและเยาวชนจัดทัวร์นาเมนต์ให้ได้ลองสัมผัสการแข่งขันแบบมืออา

ชีพ พร้อมกับผลักดันเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เปลี่ยนทัศนคติผู้ปกครองที่มีต่อเกม เพื่อให้ ลูกหลานเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง น่าจะเป็นวิธีที่ช่วยได้มากทีเดียว”

ในวันที่ 21-23 มกราคม 2565 ที่จะมีการจัดงาน META THAILAND 2022 : ESPORTS & DIGITAL LIFE โดยมีไฮไลท์สำคัญคือการแข่งขัน RoV และ Free Fire ในระดับสมัครเล่น ไชยชนกเชื่อว่า นี่คือก้าวย่างสำคัญของอุตสาหกรรมที่ไม่ควรพลาด

“งาน META THAILAND 2022 รวมเอาทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตมาไว้ในงานเดียว เป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้กำลังต้องการ ผมหวังว่างานจะประสบความสำเร็จ และจะมีกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ทุกปีครับ” ไชยชนกทิ้งท้าย

META THAILAND 2022 : ESPORTS & DIGITAL LIFE จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มกราคมนี้ ในรูปแบบออนไลน์ อัดแน่นความสนุกสุดมันส์จากเกมเมอร์ทั่วไทย และเต็มอิ่มกับสาระความรู้สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/metathailand2022/ 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image