ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศตร.กำหนดที่นั่งนิรภัยเด็ก ในรถกระบะ

ตร.ออกประกาศกำหนดที่นั่งนิรภัยเด็ก ในรถกระบะ

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของคนโดยสารที่เป็นเด็ก
อายุไม่เกินหกปี คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบห้าเซนติเมตร และผู้ขับขี่หรือคนโดยสาร ที่มีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่
และการโดยสาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดที่นั่งนิรภัย สำ หรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
พ.ศ. 2566”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“รถกระบะ” หมายถึง รถบรรทุกตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และให้รวมถึงรถยนต์กระบะสี่ประตู
“รถกึ่งกระบะ” หมายถึง รถกระบะที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab)
ข้อ 4 ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ต้องมีลักษณะและมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

4.1 ลักษณะของที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ได้แก่
(ก) ที่นั่งนิรภัยชนิดนั่งหันไปทางด้านหลังรถ
(ข) ที่นั่งนิรภัยชนิดนั่งหันไปทางด้านหน้ารถ
4.2 ในกรณีที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับที่นั่งนิรภัย
สำหรับเด็กแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
ที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้น
ข้อ 5 ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย ต้องมีลักษณะและมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
5.1 ลักษณะของที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย ได้แก่ ที่นั่งพิเศษแบบ
ที่นั่งเสริมที่ไม่มีพนักพิง (Booster Seat)
5.2 ในกรณีที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับที่นั่งพิเศษ
สำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้น

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image