สสส. หนุนองค์กรสุขภาวะผ่านแนวคิด Happy Workplace ชูสถานประกอบการดีเด่นแห่งปี 67

ในยุคปัจจุบัน สุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความสำเร็จขององค์กร พนักงานที่สุขภาพดีจะมีความมุ่งมั่นกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น อีกทั้งการจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ ยังช่วยลดอัตราการขาดงานและลาป่วย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและความยุ่งยากในการทดแทนพนักงานในอนาคตได้

เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในองค์กร สำนักงาน   สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงแรงงานและ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดพิธีมอบรางวัลสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านสุขภาวะในองค์กร 29 แห่ง ประจำปี 2567 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแรงงานสัมพันธ์ด้านสุขภาวะ ในองค์กร หนุนการใช้แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy workplace) มุ่งเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์กรมีความสุขในการทำงาน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ที่ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น

นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเเรงงานให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทย   เติบโตช้า ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่โดนเลิกจ้าง ขาดรายได้ และความมั่นคงในการทำงาน นำมาสู่ปัญหาข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานสถานการณ์ด้านแรงงาน ไตรมาสที่ 1 เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2567 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน พบว่า อัตราการเกิดข้อขัดแย้งต่อสถานประกอบการ 100,000 แห่ง เพิ่มขึ้นเป็น 7.76% จาก 5.86% ในไตรมาสสุดท้าย ปี 2566 สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ขาดการสื่อสารระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง รวมถึงขาดทัศนคติและความจริงใจต่อกัน

กระทรวงแรงงาน และ สสส. ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแรงงานสัมพันธ์ด้านสุขภาวะในองค์กร มุ่งเน้นให้เครือข่ายแรงงานสัมพันธ์ทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานประกอบการ และรัฐวิสาหกิจ ร่วมพัฒนานโยบายสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรทุกมิติ ช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสถานประกอบการและรัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านสุขภาวะในองค์กรทั้ง 29 แห่ง ที่ขับเคลื่อนเรื่องสุขภาวะในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ จะเป็นพลังสำคัญให้สถานประกอบการทั่วประเทศพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักคิด ร่วมสร้าง ร่วมมี ร่วมธำรงไว้ ต่อไป

Advertisement

อยากให้โครงการนี้ขยับขยายออกไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เพียง 29 บริษัท เพราะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนในวัยทำงาน ลดปัญหายาเสพติด ซึ่งตอนนี้เรื่องยาเสพติด มีมากมาย เมื่อคนว่างงาน นำมาสู่ความเครียด เครียดแล้วไม่รู้จะทำยังไง วิ่งเข้าไปหาที่พึ่ง แทนที่จะไปวัดก็ย้อนไปหายาเสพติด แต่หากมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อน เข้ามาช่วยดูแล ปัญหานี้คงจะเบาบางลงแล้ว ก็จะหมดไป”

Advertisement

ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เล่าให้ฟังว่า สสส. สนับสนุนให้สถานประกอบการนำแนวคิดองค์กรสุขภาวะ หรือ Happy Workplace มุ่งพัฒนาสุขภาวะคนทำงานทุกคน ซึ่งเป็นกำลังหลักของครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ภายใต้การดำเนินงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน สสส. ได้สนับสนุนทั้งมาตรการสุขภาวะองค์รวมของวัยทำงาน ชุดความรู้สุขภาพและนวัตกรรม HAPPINOMETER เครื่องมือวัดค่า

ความสุข 8 มิติ ของพนักงานผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์

จากรายงานผลการสำรวจคุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร และความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ของคนทำงาน 7,989 คนจากสถานประกอบการ 30 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2567 พบว่าหลังเข้าร่วมโครงการคนทำงานมีสุขภาวะในมิติจิตวิญญาณดีสูงถึง 73.1% รองลงมาคือมีน้ำใจดี 70.6% ใฝ่รู้ดี 69.5% ครอบครัวดี 65.8% และสุขภาพร่างกายดี 62.5% สะท้อนให้เห็นว่าแนวคิด Happy Workplace ช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีสุขภาวะที่ดี คนทำงานมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ครอบครัวอบอุ่น และร่วมสร้างสังคมที่น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้ความขัดแย้ง

สสส. มุ่งสร้างสุขภาวะที่ดีไปสู่แรงงาน คนที่ยังอายุน้อยก่อนที่จะเป็นโรคสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ เมื่ออายุมากขึ้นก็กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง การดูแลสุขภาพตัวเองก่อนที่จะป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรสามารถช่วยกันขับเคลื่อนและเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อช่วยให้คนมีงาน มีสุขภาพที่ดี แรงงานต่างๆ ก็จะมีสุขภาวะที่ดี” ผู้จัดการกองทุน สสส. ทิ้งท้าย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image