สุจิตต์ วงษ์เทศ : เมืองกาญจน์ มาจากไหน? เมื่อไร? ทำไม? ยังไม่รู้

กำแพงเมืองกาญจนบุรี (ภาพจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกาญจนบุรี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ 2542)

เมืองกาญจน์  มาจากไหน? เมื่อไร? ทำไม? ยังไม่รู้

เมืองกาญจน์ (จ. กาญจนบุรี) ไม่มีมิวเซียมบอกความเป็นมาของดินแดนและผู้คนท้องถิ่นกาญจนบุรีและปริมณฑล ทั้งๆ มีพิพิธภัณฑ์ดีๆ แสดงเรื่องอื่นๆ หลายแห่ง

และเป็นพื้นที่ยอดนิยมแห่งหนึ่งในไทยของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและนานาชาติ เพราะอุดมด้วย “ศิลปวัฒนธรรมชาติ” (หมายถึง ศิลป+วัฒนธรรม+ธรรมชาติ)

บรรพชนคนไทยที่เมืองกาญจน์

Advertisement

เมืองกาญจน์เป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน ที่มีพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมของบรรพชนคนอุษาคเนย์ ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ทั้งหมดล้วนเป็นบรรพชนคนไทยทุกวันนี้

[คนเหล่านี้อาจมีกำเนิดพูดภาษาตระกูลต่างๆ ที่ไม่ไทย แต่ต่อมาเปลี่ยนไปพูดภาษาตระกูลไต-ไท แล้วกลายตนเป็นไทย เรื่องนี้โบราณคดีแบบอาณานิคมนิยมคลั่งเชื้อชาติ   ชนชาติไทยคงรับไม่ได้ แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยมานานแล้วกับแนวคิดโบราณคดีแบบอาณานิคม]

เมืองกาญจน์มีมากบรรดาหลักฐานข้อมูลทางมานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์, โบราณ คดี, วรรณกรรม ฯลฯ แต่ไม่ถูกเรียบเรียงอย่างง่ายๆ เพื่อแบ่งปันสู่สาธารณะ (ซึ่งไม่ต่างจากท้องถิ่นอื่นๆ ทั่วประเทศไทย) เหตุจากระบบเจ้าขุนมูลนายของราชการ

Advertisement

   

พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 3 (ภาพจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกาญจนบุรี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ 2542)

 ศิลปินแห่งชาติดูพื้นที่ รง.กระดาษ

ตั้ง ‘ภูมิบ้านภูมิเมืองกาญจนบุรี’

มื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ จ. กาญจนบุรี นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันต้อนรับมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ นำโดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กวีซีไรต์ น.ส. วนิดา พึ่งสุนทร สถาปนิกหญิงแห่งชาติผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรม นายธีรพล นิยม สถาปนิกชาวไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ผู้ร่วมบุกเบิกบริษัทแปลนคิเต็ค นายสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ สาขาศิลปะการแสดงโทรทัศน์และภาพยนตร์

ที่มาดูพื้นที่โรงงานกระดาษกาญจนบุรี ซึ่งหมดสัญญาเช่าจากกรมธนารักษ์ ที่มีแนวคิดจะปรับปรุงเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ชื่อว่า “ภูมิบ้านภูมิเมืองกาญจนบุรี” ในการธำรงรักษาสมบัติของชาติด้านศิลปวัฒนธรรม

ทั้งนี้ พื้นที่โรงงานกระดาษมีพื้นที่ประมาณ 53 ไร่ ที่ตั้งโรงงานทับซ้อนกับเขตโบราณสถานเมืองเก่าสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีประตูเมืองป้อมและกำแพงเมืองปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจน โดยประกาศขึ้นเป็นโบราณสถานในปีพุทธศักราช 2488

[จากมติชน รายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 หน้า 11]

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image