The Hel(l)met Show EP.57 : หลักเกณฑ์กู้ยืม กยศ. ต้องเป็นคนดีนะจ๊ะถึงจะกู้ได้

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี 2538 และมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2539 ดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน กองทุนฯ เริ่มเปิดให้กู้ยืมตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.2539 โดยให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษา ซึ่งมาจากครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวก็เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ

แต่จากปัจจุบันที่พบข่าวคราวของผู้ที่จบการศึกษาไปแล้วไม่ยอมชำระเงินกู้ยืมซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่าอัตราการเบี้ยวหนี้สูงขึ้นแม้แต่อาชีพบุคลากรในวงการสาธารณะสุขซึ่งน่าจะมีรายได้ค่อนข้างดีกว่าหลายๆอาชีพก็มีสัดส่วนการผิดชำระหนี้สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้กู้รายใหม่และมีการเพิ่มความเข้มงวดในกฎเกณฑ์ของผู้กู้มากขึ้น

กระทั่งเกิดประเด็นดราม่าผ่านโลกออนไลน์ ที่สถานศึกษาแห่งหนึ่งจัดกิจกรรมให้นักศึกษาที่ต้องการกู้ไปร่วมเชียร์กีฬาท่ามกลางอากาศร้อนเพื่อให้ได้กู้เงินเนื่องจากการกู้กยศ.ต้องเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อเก็บชั่วโมงจิตอาสาเทอมละไม่ต่ำกว่า 18 ชม. เริ่มดำเนินการปี 58

Advertisement

อ.พิชญ์มองว่าขณะนี้ กยศ.เจอปัญหาอยู่ 2 เรื่องเรื่องแรก คือนักเรียนนักศึกษาที่กู้แล้วไม่ยอมจ่ายเมื่อเรียนจบและประเด็นที่ที่สองคือ การเพิ่มกฎเกณฑ์ต้องเป็นคนที่มีจิตอาสา มีการบำเพ็ญประโยชน์ให้ครบตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด

ด้านคุณสุรนันทน์เห็นด้วยว่าต้องมีกองทุนการกู้ยืมเงินแต่ถ้านักศึกษาไม่มีความสามารถใช้คืนในกรณีที่ตั้งใจไม่จ่ายคืนก็ต้องมีบทลงโทษแต่กรณีที่มีเงินเดือนแต่ไม่พอจ่ายอาจต้องมีกระบวนการช่วยเหลือเช่นหลังเวลาเลิกงานอาจจัดให้ผู้กู้ยืมไปทำงานช่วยหลือชุมชน โดยเฉพาะสายงานบางประเภทที่ยังขาดบุคลากรทำงานให้ชาวบ้านหรือชุมชนโดยไม่เก็บเงินแต่ให้รัฐบาลหักเงินจากส่วนการทำงานนี้ไป

ส่วนทางมหาลัยเองควรจะมีกองทุนที่ให้นักศึกษามาแข่งทำโครงการทีดีทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมและความรู้สึกที่อยากจะเป็นจิตอาสาจริงๆดีกว่าการบังคับให้ทำเพราะกิจกรรมจิตอาสาต้องทำมาจากใจผู้ทำจึงจะได้ประโยชน์ด้วย

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image