‘สมชัย’เสนอ3แนวคิด’กรธ.’ สร้างพรรคการเมืองเข้มแข็ง แนะ’ฟังพรรคการเมือง’ฟังหูไว้หู'(คลิป)

เมื่อวันที่ 8 กันยายน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยภายหลังจากการเข้าชี้แจงเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง(พ.ร.บ.) กับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ว่า ได้ชี้แจงถึงร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งกกต. ออกแบภายใต้แนวคิด 3ข้อหลัก ต้องการให้พรรรการเมืองเข้มแข็ง มีกระบวนการสรรหาผู้สมัคร และคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณภาพไม่ใช่ให้นายทุนหรือหัวหน้าพรรคเป็นผู้ชี้นำ และนโยบายของพรรคการเมืองต้องเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง และเมื่อนำไปใช้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศและเศรษฐกิจ

นายสมชัย กล่าวว่า ในแต่ละข้อได้สร้างกลไก เช่น การจัดตั้งพรรคการเมือง ที่ต้องมีสมาชิกพรรค มีสาขาพรรคมีการให้เงินสนับสนุนกองทุนพรรคการเมือง และให้ประชาชนสามารถบริจาคเงินให้พรรคการเมืองและสามารถนำไปลดหย่อน ภาษีได้ ซึ่งถือเป็นกลไกให้พรรคเข้มแข็ง ส่วนการสรรหาคัดเลือกผ้สมัคร กลไกที่ กกต.เสนอคือ ให้สาขาพรรคหรือประชาชน มีส่วนในการสรรหาผู้สมัคร โดยจากการประชุมสาขาพรรค

ขณะที่เรื่องการเสนอนโยบาย นายสมชัย กล่าวว่า กกต.เสนอให้พรรคการเมืองต้อง ส่งความเห็นรายละเอียดที่มางบประมาน ระยะเวลาดำเนินการ ผลกระทบความและความคุ้มค่าจากนโยบาย โดยให้ส่งมาที่กกต.โดยทางกกต.จะเปิดเผย ให้ประชาชาเป็นผู้ตรวจสอบเอง แต่หากพรรคการเมืองไม่ส่งนโยบายมา พรรคการเมืองก็ไม่สามารถใช้นโยบายดังกล่าวหาเสียงได้

Advertisement

นายสมชัย เปิดเผยด้วยว่า กรธ.ได้แสดงความเป็นห่วงถึงกลไกบางอย่างที่ตึงและหย่อนไป ซึ่งต้องไปปรับหาความพอดี โดยอาจผ่อน ปรนหรือกระชับ ในบางเรื่องขณะเดียวกัน ต้องมีการรับฟังความเห็นอีกหลายฝ่าย พร้อมระบุอีกว่า โดยเฉพาะความเห็นของพรรคการเมืองที่ต้องฟังหูไว้หู เพราะพรรคการเมืองอาจเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองส่วนพ.ร.บ.ฉบับที่อื่นๆ

นายสมชัย ระบุว่า จะทยอยส่งให้กรธ. ตามลำดับโดยร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่13 ก.ย.นี้ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งในวันที่ 20ก.ย.นี้ และพ.ร.บ.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิ จะส่งในวันที่27กันยายนนี้ ซึ่งหากกรธ.ต้องการเชิญมาชี้แจงอีกครั้ง ทางกกต.ก็ยินดี อย่างไรก็ตามในการพูดคุยวันนี้ กรธ.ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องการให้กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้งหรือกรณีการยุบกกต.จังหวัด เพราะอยู่ในกฎหมายประกอบคนละฉบับกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image