สุจิตต์ วงษ์เทศ : พระปฐมเจดีย์ กว่าจะเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้

เมืองนครปฐมโบราณ สมัยแรกการค้าโลก ราวเรือน พ.ศ. 1000 มีศาสนสถานสำคัญ 2 แห่ง

แม้รัฐล่มสลาย และผู้คนโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่ผู้คนเหล่านั้นจากที่ต่างๆ ยังมีศรัทธาเดินทางไปกราบไหว้ศาสนสถาน 2 แห่งนั้นต่อเนื่องจนทุกวันนี้ (เรียกชื่อตามปัจจุบัน) ดังนี้

1.พระปฐมเจดีย์ อยู่นอกคูเมืองนครปฐมโบราณ ด้านตะวันตก

2.พระประโทณเจดีย์ อยู่กลางเมืองนครปฐมโบราณ

Advertisement

มีร่องรอยและหลักฐานความเปลี่ยนแปลง ดังนี้

พระปฐมเจดีย์องค์แรกสุด แบบสันนิษฐาน โดย พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญฯ ประจำกรมศิลปากร
พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณ (นครปฐม) แบบสันนิษฐาน โดย ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม อดีตอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คนสมัยปลายอยุธยา รับรู้ความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ของ พระธมŽ มหาธาตุหลวง ในนามพระประธม (ปัจจุบันคือ พระปฐมเจดีย์) กับ พระประโทณเจดีย์ ในนามปรางค์พระประโทณ (ปัจจุบันคือ พระประโทณเจดีย์ ในวัดพระประโทณ) จึงวาดรูปไว้คู่กัน (ซ้าย) ปรางค์พระประทมคู่กับ (ขวา) ปรางค์พระประโทณ รูปเขียนบนสมุดภาพไตรภูมิ (จากสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา เลขที่ 6 ในหนังสือสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1 กรมศิลปากร จัดพิมพ์ 2542)
พระปฐมเจดีย์ “พระมหาธาตุหลวง” เมื่อปฏิสังขรณ์ครั้งแรกเป็นยอดปรางค์ ทำจำลองสมัย ร.6 จึงไม่ใช่ของเดิมยุคต้นอยุธยา แต่เป็นของทำใหม่สมัยรัตนโกสินทร์ จากคำบอกเล่าของผู้พบเห็นว่าเคยมียอดปรางค์ สอดคล้องกับรูปเขียนในสมุดภาพไตรภูมิ ยุคอยุธยา และตามที่เสมียนมี (กวี ร.3) กับสุนทรภู่มองเห็นแล้วพรรณนาไว้ในกลอนนิราศ (ขวา) พระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบัน สมัยรัตนโกสินทร์ สร้างครอบองค์เดิมซึ่งพังทลายไว้ข้างใน
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image