สุจิตต์ วงษ์เทศ : สงกรานต์ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ๆ ซึ่งไม่เป็นความจริง

สงกรานต์สาดน้ำรดกัน ประเพณีสร้างใหม่ ขายการท่องเที่ยว

สงกรานต์ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ๆ มาแต่โบราณกาล ซึ่งไม่เป็นความจริง

เพราะสงกรานต์เป็นพิธีขึ้นราศีใหม่ที่รัฐโบราณทุกแห่งในอุษาคเนย์รับจากพราหมณ์ชมพูทวีป (อินเดีย) เหมือนๆ กัน ไม่มีที่ไทยแห่งเดียว

ปีใหม่ไทย (เรียกตามสากล) ตรงกับเดือนอ้าย (เดือน 1) หลังลอยกระทง (เดือน 12) เป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ มีลำดับเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1. ยุคดึกดำบรรพ์ ลอยกระทง คือสิ้นปีเก่า เดือน 12 ขึ้นปีใหม่ เดือน 1 ของไทยและอาเซียน (ถ้าเรียกตามปฏิทินสากล) มีมาแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ราว 3,000 ปีมาแล้ว ปีนักษัตร (ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ ฯลฯ) ก็เปลี่ยนในช่วงเวลาหลังลอยกระทงนี้
[สงกรานต์เป็นประเพณีเปลี่ยนราศีของพราหมณ์อินเดีย ซึ่งไม่มีปีนักษัตร ส่วนปีนักษัตรมีใช้ในอุษาคเนย์ที่รับจากตะวันออกกลาง (เช่น เปอร์เซีย) ผ่านมาทางจีน]

Advertisement

2. ยุคอยุธยา สิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ แยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนราชการ กับส่วนราษฎร
ราชการ ราชสำนักอยุธยากำหนดสิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีแขกพราหมณ์อินเดีย คือ สงกรานต์
ราษฎร สิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์อุษาคเนย์ คือเดือนอ้าย (เดือน 1) หลังลอยกระทง (เดือน 12) ราวพฤศจิกายน-ธันวาคม (เพราะไม่รู้จักศาสนาพราหมณ์)

3. ยุคกรุงเทพฯ สิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ ยุคกรุงเทพฯ ของทางราชการมี 2 ระยะ ได้แก่
ระยะแรก 1 เมษายน ขึ้นปีใหม่ เริ่ม พ.ศ. 2432 (สมัย ร.5) ครั้งสุดท้าย เมื่อ 1 เมษายน 2483 (สมัย ร.8)
ระยะหลัง 1 มกราคม ขึ้นปีใหม่ เริ่ม พ.ศ. 2484 (สมัย ร.8 มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) แล้วสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ราษฎรยังคงมีประเพณีลอยกระทง เดือน 12 แล้วขึ้นปีนักษัตรใหม่เดือนอ้าย (เดือน 1) เหมือนเดิม
แต่ค่อยๆ ลดความสำคัญลง จนท้ายที่สุดก็ลืม เปลี่ยนเป็นขึ้นปีใหม่ไทยตอนสงกรานต์ ตามที่ทางการบอก

ราชการสร้างสงกรานต์ปีใหม่ไทยขึ้นแทนที่เดือนอ้าย เพื่อขายการท่องเที่ยว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image