สุจิตต์ วงษ์เทศ : ท้องถิ่นถูกทำลาย ด้วยประวัติศาสตร์แห่งชาติ

เกาหลี, ญี่ปุ่น, ยุโรป, อเมริกา และนานาชาติที่เจริญก้าวหน้า ล้วนตั้งต้นที่หนุนอำนาจท้องถิ่นจัดการตนเอง

มิวเซียมท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญมาก เพื่อกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าด้วยการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร “รู้เขา รู้เรา รู้โลก” ส่งผลคนท้องถิ่นจัดการตนเองให้ “เท่าเทียมกัน เท่าทันโลก”

[ต่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดต่างๆ ในท้องถิ่นไทย ไม่เป็นแหล่งเรียนรู้ แต่เป็นห้องแสดงของเก่าและเก็บรักษาโบราณศิลปวัตถุของคนชั้นนำ]

ประเทศเจริญแล้วไม่มีที่ไหนที่อำนาจทั้งหมดขึ้นตรงกับส่วนกลาง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ผู้มีอนาคตใหม่) บอกไว้ แล้วบอกเพิ่มเติมอีกมาก แต่สาระสำคัญตอนหนึ่งมีว่า

Advertisement

“คนต่างจังหวัดที่จน ไม่ได้เพราะโง่ แต่จนเพราะไม่มีอำนาจ” ดังนั้น แนวคิดหลักคือกระจายอำนาจส่วนกลางออกไปสู่ท้องถิ่น ให้อำนาจจังหวัดจัดการตัวเอง สร้างความเจริญให้ตัวเอง

“คนที่มีอำนาจบริหารจัดการในท้องถิ่น ขึ้นกับองค์กรส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ขึ้นกับข้าราชการส่วนภูมิภาคที่นั่น หรือขึ้นกับส่วนกลาง”

[ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2561 หน้า 8]

Advertisement

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีสตอรี่หลากหลายและมีส่วนสำคัญกระตุ้นสำนึกท้องถิ่นของเราอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจังหวัดจัดการตนเอง ขณะเดียวกันยังมี ชื่อบ้านนามเมือง บอกความเป็นมาของภูมิสถานท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ท้องถิ่น

แต่ส่วนกลางมุ่งสถาปนา “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” แล้วตัดทิ้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อทำลายความมั่นใจตนเองของท้องถิ่น เช่น

“ผู้มีบุญ” หมายถึง ผู้นำท้องถิ่นที่ชาวบ้านทั้งชุมชนยกย่องนับถือ แต่ถูกส่วนกลางเห็นว่าแข็งข้อ จึงปราบปรามรุนแรงด้วยการใส่ร้ายป้ายสี มีเฮต สปีช ว่าผู้นำคนนั้นเป็นผู้ร้ายในนาม “ผีบุญ”

ทางแก้ไขเรื่องนี้เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่น ต้องไม่ผูกขาดความทรงจำชุดเดียวของทางการ แต่เปิดช่องความทรงจำชุดอื่นที่ต่างไปให้เป็นที่รับรู้อย่างเท่าเทียมกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image