ความต่างของ 2 คดี โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

แฟ้มภาพ

คดีสลายม็อบ 7 ตุลาคม 2551 ที่กลับมาเป็นข่าววิพากษ์วิจารณ์กันในขณะนี้ น่าสนใจว่า ควรพุ่งเป้าตั้งคำถามไปยัง ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ซึ่งมี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ เป็นประธาน ซึ่งกำลังทบทวนให้ความเป็นธรรมกับจำเลยที่ถูกฟ้องร้อง

หรือควรตั้งเป้าคำถามไปยังการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.ชุดที่แล้ว ผู้เดินหน้าฟ้องร้องผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้

รวมทั้งไม่อาจละเลยที่จะกล่าวถึงการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.ชุดที่แล้วต่อคดีสลายม็อบปี 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตใจกลางเมืองหลวงถึง 99 ศพ

เพราะเป็น 2 คดีสลายม็อบ ที่หากนำมาเทียบเคียงกัน จะเห็นถึงการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.ชุดที่แล้วได้อย่างกระจ่างถึงกลางใจ

Advertisement

จะว่าไปแล้วความตายของประชาชนในการชุมนุมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นม็อบสีไหน ไม่ควรเกิดขึ้น หรือหากมีการสูญเสีย ควรจะต้องให้ความเป็นธรรมอย่างถึงที่สุด

เหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 เป็นการสลายม็อบพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองในยุครัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยใช้ตำรวจปราบจลาจล ไม่มีอาวุธจริง มีเพียงแก๊สน้ำตา

มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 รายช่วงเกิดชุลมุนและเจ้าหน้าที่ยิงแก๊สน้ำตาใส่ จากนั้นมีอีกรายเสียชีวิตในรถซึ่งเกิดระเบิดขึ้นภายในรถอย่างรุนแรง รวมเป็น 2 ราย แต่การพิสูจน์สาเหตุการตายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุด เพราะเจ้าหน้าที่ใช้เพียงแก๊สน้ำตา

Advertisement

คดีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านได้ยื่นร้อง ป.ป.ช.ในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ให้เอาผิดกับการสลายม็อบ

ป.ป.ช.มอบหมายให้ นายวิชา มหาคุณ รับผิดชอบ มีการเดินเครื่องไต่สวนอย่างจริงจัง ใช้เวลาไม่ถึงปี สรุปชี้มูลความผิดต่อนายกฯและรองนายกฯขณะนั้น รวมทั้งผู้รับผิดชอบฝ่ายตำรวจ แต่น่าสนใจว่ามติแรกชี้ว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ขณะนั้น ผิดวินัยไม่ร้ายแรง

แต่ไม่กี่วันถัดมา ป.ป.ช.ได้ประชุมเพิ่มข้อกล่าวหาต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท แล้วชี้มูลความผิดใหม่ว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ผู้ยื่นร้องคดีนี้ ซึ่งมีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2552 ก็ได้สั่งเด้ง พล.ต.อ.พัชรวาทพ้น ผบ.ตร. ทั้งที่จะเกษียณอายุราชการอีกไม่กี่วัน

ฝ่าย พล.ต.อ.พัชรวาทได้ใช้เวลาหลังเกษียณต่อสู้เรื่องนี้ โดยยื่นร้องทุกข์ต่อ ก.ตร. ซึ่ง ก.ตร.พิจารณาแล้วมีมติให้นายกฯยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาท

ถัดมาเข้าร้องศาลปกครองต่อ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลปกครองกลางมีคําพิพากษาให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติตามมติของ ก.ตร. ที่ให้ยกเลิกคำสั่งปลด

เรื่องมาตกในยุคที่ คสช.เข้าควบคุมการปกครอง จึงทำให้มีคำสั่งลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ให้ยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง จึงถือว่าได้ตำแหน่ง ผบ.ตร.กลับมาเรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกันในส่วนของคดีอาญา ที่ ป.ป.ช.ชุดที่แล้วยื่นฟ้องอดีตนายกฯ รองนายกฯและผู้นำตำรวจ ลงเอยอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง

แต่ ป.ป.ช.ชุดที่แล้วก็ไปฟ้องเองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

นี่จึงกลายเป็นภาระที่มาตกกับ ป.ป.ช.ชุดใหม่

ที่น่าสนใจกว่านั้น ป.ป.ช.ชุดที่แล้ว ซึ่งพิจารณาคดีสลายม็อบเสื้อแดง 99 ศพในปี 2553 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา แต่ใช้เวลาถึง 4-5 ปี จนกระทั่งก่อนสิ้นปี 2558 ที่ ป.ป.ช.ชุดที่แล้วกำลังจะหมดวาระเพียงไม่กี่วัน ก็สรุปชี้มูลว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่มีความผิด

ขณะที่ความต่างอย่างยิ่งระหว่างการสลายม็อบปี 2551 กับ 2553 ก็คือ ปี཯ รัฐบาลนั้นใช้ตำรวจปราบจลาจลกับแก๊สน้ำตา มีคนตาย 2 ศพ

ปีཱ รัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างเหตุมีชายชุดดำ จึงใช้เจ้าหน้าที่หน่วยรบและใช้กระสุนจริงมีคนตาย 99 ศพ

คดีแรก ป.ป.ช.ชุดที่แล้วบอกว่าผิด คดีหลังบอกว่าไม่ผิด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image