คุณภาพคือความอยู่รอด ตอน ระบบราชการ 4.0 (2) : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คําขวัญที่เป็นความมุ่งมั่นของ ก.พ.ร. ก็คือ “ระบบราชการต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนและเชื่อถือได้” เป้าหมายนี้จึงเป็น “ศูนย์กลาง” ของแนวความคิด วิธีการบริหารจัดการและวิธีปฏิบัติงานของราชการ โดยมี “องค์ประกอบ” 3 ประการที่ยึดโยงถึงกันกับ “ศูนย์กลาง” ได้แก่

(1.) เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government)

(2) ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government)

คือ ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไรมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้เข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ (Proactive Public Services) รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐ (Big Government Data) และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการจัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน (Personalized หรือ Tailored Services) พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก โดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทางราชการเพื่อให้บริการได้เสร็จสิ้นในจุดเดียว ประชาชนสามารถเรียกใช้บริการของทางราชการได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตน และผ่านการติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน ทั้งการติดต่อมาด้วยตนเอง เว็บไซต์ โซเชียลมีเดียหรือแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ

Advertisement

(3) มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government)

คือ ต้องทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ในแบบสหสาขาวิชามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันเวลา ตลอดจนองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็นสำนักงานสมัยใหม่ รวมทั้งทำให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน

ความสำเร็จของการพัฒนาไปสู่ “ระบบราชการ 4.0” จึงต้องอาศัยปัจจัยอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ (1) การสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม (Collaboration) (2) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และ (3) การปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล (Digitization/digitalization)

Advertisement

ดังนั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้อง “คิดใหม่ทำใหม่” โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด (Mindset) ให้ตนเองมีความเป็น “ผู้ประกอบการสาธารณะ” (Public Entrepreneurship) พร้อมทั้งต้องเพิ่มทักษะให้มีสมรรถนะที่จำเป็น และปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนให้สามารถแสดงบทบาทของการเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Leader) เพื่อสร้างคุณค่าสาธารณะ (Public Value) และประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

ทุกวันนี้ จึงถึงเวลาของ “การนำสิ่งที่รู้แล้วไปสู่การปฏิบัติ” อย่างจริงจังให้ได้ผลทันยุค 4.0 ครับผม !

วิฑูรย์ สิมะโชคดี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image