สุจิตต์ วงษ์เทศ : สุนทรภู่ผ่านคลองโอ่งอ่าง นั่งเรือไปเมืองสุพรรณบุรี

คลองหลอดเชื่อมคลองโอ่งอ่างทะลุผ่านกำแพงพระนคร ใกล้ป้อมมหากาฬ ใกล้บ้านสายรัดตะคด มีถนนมหาไชยตัดผ่าน

สุนทรภู่ออกบวชลี้ภัยการเมือง ต่อมา ร.3 โปรดให้จำพรรษาอยู่วัดเทพธิดาราม ในกำแพงพระนคร (ตรงประตูผี สำราญราษฎร์) ใกล้ป้อมมหากาฬ

หลังออกพรรษา และรับกฐินแล้ว ไปธุดงค์เมืองสุพรรณ ออกจากวัด(ซึ่งมีคลองหลอดคั่นระหว่างวัดเทพธิดาราม กับวัดราชนัดดาราม อยู่เรียงกัน) ออกเรือไปชานก..ำแพงพระนคร คลองโอ่งอ่าง เยื้องปากคลองมหานาค

มีแมกไม้ขึ้นเต็มสองฝั่งคลอง และมีศาลาท่าน้ำ สุนทรภู่แต่งโคลงนิราศเมืองสุพรรณ พรรณนาว่า

มหานาคชะวากวุ้ง คุ้งคลอง

Advertisement

ชุ่มชื่นรื่นรุกข์สอง ฝั่งน้ำ

ขุกคิดมิตรหมายครอง สัจสวาท ขาดเอย

กล้าตกรกเรื้อซ้ำ โศกทั้งหมางสมร [2]

Advertisement

ขอฝากซากสวาทสร้อย สุนทร

ไว้ที่ท่าสาคร เขตนี้

ศาลาน่าวัดพร พี่ฝาก มากเอย

ใครที่พี่เป็นผี้ พี่ให้อภัยครัน [3]

ก่อนแผ่นดิน ร.3 พื้นที่ในก..ำแพงพระนครด้านตะวันออก เป็นสวนหลวงมีหมากไม้แน่นขนัด ต่อมา ร.3 โปรดให้หักร้างถางพงเพื่อสร้างวัดเทพธิดารามกับวัดราชนัดดาราม แล้วลงเขื่อนไม้ริมคลองโอ่งอ่างไว้ด้วย

ดังนั้น บริเวณด้านนอกซึ่งเป็นชานกำแพงพระนคร ก่อนสมัย ร.3 เป็นพื้นที่ป่าชายน้ำชายเลน ไมมี่บ้านเรือน ถ้าจะมีก็เพิงหมาแหงนชั่วคราวของชาวบ้านหาปลา หรือหาฟืน

แต่นับต่อไปนี้ หลังปรับเปลี่ยนสวนหลวงเป็นที่สร้าง 2 วัด จะเริ่มมีผู้คนไปตั้งบ้านเรือนชานกำแพงพระนคร เพราะในสมัย ร.3 กวาดต้อนเชลยจากบ้านเมืองต่างๆ เข้ามามาก โดยให้ตั้งหลักแหล่งตามที่ว่างเปล่าเป็นหย่อมๆ ไป

คนเหล่านั้นไม่ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งแน่นอน เพราะยังไม่มั่นใจว่าจะมีชีวิตอยู่รอดอย่างไร?

คนบางส่วนจึงไร้บ้าน แสวงหาอาหารไปตามแหล่งที่มีของกินแล้วไม่ตาย

พยานเรื่องนี้มีในเนื้อร้องเพลงลาวแพน บรรยายความทุกข์ยากของเชลยจากเวียงจัน ไปตีกบหาอึ่งอ่างหาเขียดในทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ไปท..ำกับข้าวและแกล้มเหล้า เพราะยุคนั้นถ้าไม่มีงานพระเมรุก็เป็นหนองบึงแหล่งอาหารดีเลิศของคนไร้บ้านกลางกรุง

 

คลองหลอดระหว่างวัดเทพธิดาราม กับวัดราชนัดดาราม ที่สุนทรภู่ลงเรือ
คลองหลอดระหว่างวัดเทพธิดาราม กับวัดราชนัดดาราม ที่สุนทรภู่ลงเรือ
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image