สุจิตต์ วงษ์เทศ : พระรถ เมรี ตำานานบรรพชนลาว ละครยอดนิยมของชาวบ้านยุคอยุธยา

พระรถ เมรี เป็นตำนานบรรพชนลาว (ล้านช้าง) มีจดไว้ในต้นเรื่องพงศาวดารล้านช้าง
“ลาวถึงไหน พระรถเมรีถึงนั่น” เป็นคำอธิบายว่าพระรถ เมรี เป็นตำนาน บรรพชนลาว ที่พวกลาวต้องเอาติดไปด้วยไม่ว่าจะโยกย้ายอพยพและถูกกวาดต้อนไปถึงไหน ก็เอาพระรถ เมรีไปถึงที่นั่น แล้วเล่าเป็นนิทานประจำาถิ่นนั้นๆ เช่น ถูกกวาดต้อนไปอยู่ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, หรือโยกย้ายอพยพไปอยู่ อ. พนัสนิคม จ. ชลบุรี ก็มีนิทานพระรถ เมรี อยู่ที่นั่นจนทุกวันนี้ (แต่บางแห่งอาจลืมไปแล้วก็ได้)

เรื่องพระรถ เมรี น่าจะรับจากชนเผ่ากำมุ (หรือ ขมุ) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมก่อนพวกลาวจะโยกย้ายจากเมืองแถน (ในเวียดนาม) เข้าไปล้านช้างในสมัยหลัง
มีร่องรอยอยู่ในเนื้อความซึ่งพวกลาวแต่งขึ้นใหม่ ว่าบริเวณเมืองหลวงพระบางล้าน ช้างดั้งเดิมเป็นที่อยู่ของพระยายักษ์ มีลูกสาวชื่อนางกังฮี หรือกางฮี (คือ นางเมรี) ภาย หลังมีผัวชื่อ พุทธเสน (คือ รถเสน) สอดคล้องกับนางเมรี (ฉบับลาว) เป็นลูกสาวยักษ์ ครองเมืองยักษ์

เมื่อลาวล้านช้างเคลื่อนย้ายจากลุ่มน้ำโขง ลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็มีนิทานตำนานพระรถ เมรี ติดลงไปด้วย แล้วแต่งเป็นบทขับไม้ใช้ขับในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระราชพิธีสมโภชสำคัญ เสมือนเรื่องพระรถ เมรี ได้รับยกย่องเป็นพิเศษกว่าเรื่องอื่นใด

มีคำอธิบายในหนังสือนามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี (มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2550 หน้า 320-322) ว่า

Advertisement

“ชื่อตัวเอกของเรื่องคือท้าวรถเสนและนางกังฮีตรงกับชื่อบรรพบุรุษของราชวงศ์ล้านช้าง”
“การที่บทขับไม้ซึ่งร้องในพระราชพธิสีมโภชชั้นสูงขับนิทานเรื่องนี้ แสดงใหเห็น ความสัมพันธ์ของราชสำนักอยุธยากับอาณาจักรล้านช้าง”

นอกจากนั้น ยังมีคำอธิบายในหนังสือประชุมเรื่องพระรถ (กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2552 หน้า 9) ว่ากาพย์ขับไม้เรื่องพระรถบทขึ้นเรือนหลวง ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ
จากนั้นแต่งเป็นบทละครนอก (คือละครชาวบ้าน) เรื่องพระรถ เมรี แล้วแต่งเพิ่มเติม ต่อไปให้กลับชาติเกิดใหม่เป็น พระสุธน มโนห์รา

พระรถขี่ม้าวิเศษเหาะหนีออกจากเมืองยักษ์ของนางเมรี เพื่อเอายาวิเศษไปรักษาป้าและแม่ จิตรกรรมปลาย ร.3 บนผนังบานแผละในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ (บานแผละ คือ ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแตะอยู่)
พระรถขี่ม้าวิเศษเหาะหนีออกจากเมืองยักษ์ของนางเมรี เพื่อเอายาวิเศษไปรักษาป้าและแม่ จิตรกรรมปลาย ร.3 บนผนังบานแผละในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ (บานแผละ คือ ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแตะอยู่)

ละครชาวบ้าน

พระรถ เมรี เป็นตัวเอกละครยอดนิยมของชาวบ้านยุคอยุธยา ที่สมัยหลังๆ เรียก ละครนอก หรือละครชาตรี ทางภาคใต้เรียกโนรา ล้วนเป็นละครอย่างเดียวกัน แต่เรียกชื่อต่างกันตามความนิยมของคนต่างกลุ่ม และต่างเวลากับสถานที่
อธิษฐานเกิดใหม่ เป็นพระสุธน มโนห์รา
พระรถ เมรี เริ่มด้วยเรื่องราวของนางสิบสอง เป็นแบบเรื่องนิทานที่มีความคิดเป็นสากล จึงมีกระจายทั่วไปทั้งในอินเดีย, พม่า (รัฐฉาน), ลาวและไทย
[ดร. กิ่งแก้ว อัตถากร (2519) อ้างไว้ในหนังสือทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการ วิเคราะห์ ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน ของ ศิราพร ณ ถลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2548]
จบลงที่พระรถขี่ม้าเหาะหนี นางเมรีรำพึงรำพันสดุท้ายว่า “ชาตินี้น้องตามพี่มา ชาติหน้าพี่ต้องตามน้องไป” แล้วร้องหาพระรถจนขาดใจตาย
หมายถึง ครั้งนี้พระรถหนีนางเมรี ครั้งหน้าเมื่อเกิดใหม่เป็นพระสุธน มโนห์รา นางมโนห์ราจะหนีพระสุธน ดังนี้

Advertisement

ในบทละครพระรถ เมรี ยุคอยุธยา ตอนนางเมรีอธิษฐานหากเกิดใหม่ในชาติหน้า ขอให้พระรถต้องเป็นฝ่ายติดตามนางบ้าง โดยมีการนำมาผูกโยงเรื่องราวให้ต่อเนื่องกับ เรื่องพระสุธน มโนห์รา ว่า

ชาตินี้น้องตามพระองค์มา ได้ความเวทนาจาบัลย์
ไปชาติหน้าขอองค์พระทรงพุทธ ต้องตามนุชสุดโศกกันแสงศัลย์
ในกลอนอ่าน (เลขที่ 11) ความว่า
แม้นกำเนิดเกิดไปในภายหน้า ขอพบพระภัสดาให้จงได้
ขอเป็นพระมเหสีที่ร่วมใจ ให้ข้านี้หนีไปไกลนคร

มีอีกตอนหนึ่งว่า

ประทมนิ่งกริ่งกรึกแล้วนึกกรอง ตั้งจิตจองเวรพระภัสดา
พอแก้แค้นแทนทำให้หนำจิต ที่ทรงฤทธิ์ลวงเล่ห์สิเนหา
ในชาตินี้พระหนีเมรีมา ไปชาติหน้าเมรีจะหนีไป
ให้พระองค์ทรงพระกันแสงโศก ด้วยวิโยคจากมิตรพิสมัย
ต้องร้อนจิตคิดตามเราร่ำไป ให้ลำบากยากใจเหมือนอย่างนี้

ราชสำนักอยุธยา ยกย่องพระรถ เมรี

ราชสำนักอยุธยายกย่องเรื่องพระรถ เมรี ตำนานบรรพชนลาว มีหลักฐานร่องรอย สำคัญในบทขับลำเห่กล่อมยอพระเกียรติในวงดนตรี กับบทร้องเล่านิทานเชิงสังวาสยอพระเกียรติในวงมโหรี

พระรถ เมรี ตอนพระรถขี่ม้าข้ามน้ำหนีนางเมรีอยู่อีกฝั่ง นางเมรีกำลังร้องไห้เสียใจรำพึงรำพันว่า “ชาตินี้น้องตามพี่มา ชาติหน้าพี่ต้องตามน้องไป” อยู่ริมแม่น้ำที่กำลังไหลแรงอันเกิดจากยาวิเศษ บรรดารี้พลกองทัพยักษ์ที่กำลังเดินข้ามภูเขาป่าไม้ใหญ่ที่เป็นเครื่องกีดกั้น ก็เกิดจากยาวิเศษที่พระรถทรงโปรยไว้ (จิตรกรรมวรรณคดีใส่กรอบ สมัย ร.5 ปัจจุบันเก็บรักษาในพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา ภาพจากหนังสือจิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม 2, กรุงเทพฯ : สำนักพระราชวัง, 2537.)

พระรถ เมรี ตอนพระรถขี่ม้าข้ามน้ำหนีนางเมรีอยู่อีกฝั่ง นางเมรีกำลังร้องไห้เสียใจรำพึงรำพันว่า “ชาตินี้น้องตามพี่มา ชาติหน้าพี่ต้องตามน้องไป” อยู่ริมแม่น้ำที่กำลังไหลแรงอันเกิดจากยาวิเศษ บรรดารี้พลกองทัพยักษ์ที่กำลังเดินข้ามภูเขาป่าไม้ใหญ่ที่เป็นเครื่องกีดกั้น ก็เกิดจากยาวิเศษที่พระรถทรงโปรยไว้ (จิตรกรรมวรรณคดีใส่กรอบ สมัย ร.5 ปัจจุบันเก็บรักษาในพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา ภาพจากหนังสือจิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม 2, กรุงเทพฯ : สำนักพระราชวัง, 2537.)
พระรถ เมรี ตอนพระรถขี่ม้าข้ามน้ำหนีนางเมรีอยู่อีกฝั่ง นางเมรีกำลังร้องไห้เสียใจรำพึงรำพันว่า “ชาตินี้น้องตามพี่มา ชาติหน้าพี่ต้องตามน้องไป” อยู่ริมแม่น้ำที่กำลังไหลแรงอันเกิดจากยาวิเศษ บรรดารี้พลกองทัพยักษ์ที่กำลังเดินข้ามภูเขาป่าไม้ใหญ่ที่เป็นเครื่องกีดกั้น ก็เกิดจากยาวิเศษที่พระรถทรงโปรยไว้ (จิตรกรรมวรรณคดีใส่กรอบ สมัย ร.5 ปัจจุบันเก็บรักษาในพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา ภาพจากหนังสือจิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม 2, กรุงเทพฯ : สำนักพระราชวัง, 2537.)

ลาวขับแคน เรื่องพระรถ เมรี

เมืองหลวงพระบางราวหลัง พ.ศ. 2400 (ตรงกับไทยสมัย ร.5) ยังนิยมเล่นขับแคน เล่านิทานเรื่องพระรถเมรี มีบอกในนิราศเมืองหลวงพระบาง [ของนายร้อยเอก หลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2434] สมัย ร.5 ในงานเลี้ยงทหารที่ยกทัพขึ้นไปจากกรุงเทพฯ ถึงหลวงพระบาง ว่ามีเล่นลาวขับแคนเรื่องพระรถเมรี (ลาวขับแคน เป็นคำของคนกรุงเทพฯ เรียกการละเล่นขับแคนของลาว แต่ในลาวเรียกอย่างอื่น เช่น ขับแคน ไม่มีคำว่าลาว)
ลาวขับแคน บางทีเรียกรวบว่า ลาวแคน แล้วคำกลายเป็น ลาวแพน หมายถึง ทำนอง

ลีลาขับคลอแคน มีระบุในกลอนนิราศ ดังนี้

ดูการเล่นเป็นที่เจริญรับ มีลาวขับแคนเสียงสำเนียงสนอง
ประชันวงคงคู่ดูทำานอง ที่ประลองโลมเลี้ยวเข้าเกี้ยวกัน
พวกทหารนักสวดประกวดเสียง ขึ้นร้านเรียงร้องลำคำกระสัน
พูดภาษาลาวญวนเสสรวลกัน แต่ตัดอันออกเรื่องเยื้องกระบวน
เมื่อพระรถพาเมรีเที่ยวลีลาศ ออกประพาสไพรพนมเที่ยวชมสวน
เขาแคลงจิตคิดความจะลามลวน แปลงสำนวนเป็นอิเหนาเมื่อเข้าดง
เขาเกรงร้ายหมายความไปตามเล่ห์ ว่าเมืองเมรีตั้งดังประสงค์
จะเท็จจริงกริ่งตรึกนึกจำนง ไม่ตกลงเหลือจะเล่าในเค้าเดิม

ถ้าดูตามเนื้อความในนิราศหลวงพระบาง จะเห็นว่ามีหมอแคนเป่าแคนคลอ แล้วช่างขับทำเสียง “โหยหวน” ขับเรื่องพระรถเมรี ซึ่งเป็นตำนานบรรพชนลาว

พระรถ เมรี กับ พระสุธน มโนห์รา

พระรถ เมรี กับพระสุธน มโนห์รา เป็นละครชาวบ้านเก่าสุดยุคอยุธยา ราว 500 ปีมาแล้ว ที่มีคนนิยมชมชอบมากที่สุดตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 2000
เพราะละครทั้ง 2 เรื่อง มีโครงสร้างการดำเนินเรื่องแบบบ้านๆ ไม่ตายตัว อาจปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาให้ถูกจริตชาวบ้านยุคนั้น
ต่างจากละครชาววัง หรือละครหลวงที่เรียกกันสมัยหลังๆ ต่อมาว่าละครใน เป็นการ ละเล่นตามเรื่องพงศาวดารยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน กับยอยกศาสนาที่ได้จากชาดก และคัมภีร์จากอินเดีย
พระรถ เมรี ที่กลับชาติเกิดใหม่เป็นพระสุธน มโนห์รา เป็นตำนานบรรพชนลาวลุ่มน้ำโขง ติดตัวกลุ่มชนที่ทยอยโยกย้ายลงไปลุ่มน้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตก ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1500 แล้วฟักตัวอยู่ในรัฐสุพรรณภูมิ (มีศูนย์กลางอยู่บริเวณสุพรรณบุรี) กับรัฐเพชรบุรี ฯลฯ หลังจากนั้นจึงแพร่กระจายลงไปถึงรัฐนครศรีธรรมราช
ศิลปวัฒนธรรมแบบลุ่มน้ำโขงจากรัฐสุพรรณภูมิทยอยเข้าสู่อยุธยา เมื่อพระราชารัฐ สุพรรณภูมิในตระกูลไทย-ลาว ยกกำลังไพร่พลยึดครองรัฐอยุธยาราวหลัง พ.ศ. 1952 แล้วปะปนกับศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ก่อนเป็นแบบมอญ-เขมร

นับแต่นี้ไปเป็นยคุใหม่ของศิลปวัฒนธรรมอยธุยา (แบบไทย-ลาว ปน มอญ-เขมร) ที่ต่อไปจะเรียกว่า ไทย
ศิลปวัฒนธรรมอยุธยาทั้งของราชสำนักและของราษฎร ที่มีหลักฐานและร่องรอยว่า มีรากเหง้าจากลุ่มน้ำโขง เช่น
สำเนียงหลวงของอยุธยาเหน่อแบบลาวลุ่มน้ำโขง, แถนของลาว แต่ไทยเรียกขนุแผน, ระเบ็ง ซึ่งเป็นการละเล่นในราชสำนัก มีขึ้นจากเซิ้งบั้งไฟของลาวและเรือมตรูจของเขมร, โคลงไทยได้จากโคลงลาว, ขับเสภามาจากลุ่มน้ำโขง ฯลฯ
พระรถ เมรี ตำนานบรรพชนลาว ได้รับยกย่องเป็นนิยายคำบอกเล่าความเป็นมาของราชวงศ์สุพรรณภูมิ ที่ใช้ขับลำยอพระเกียรติและขับกล่อมพระเจ้าแผ่นดินยุคอยุธยา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image