สุจิตต์ วงษ์เทศ : ศิลปะ ไม่เคยอยู่เหนือการเมือง

สุจิตต์ วงษ์เทศ

ศิลปะอยู่เหนือการเมือง หรืออยู่ใต้การเมือง? ยังเป็นข้อข้องใจสงสัยแล้วถกเถียงในไทยจนทุกวันนี้ แต่ในประเทศอื่นๆ จะมีอย่างนี้หรือไม่? ผมไม่ฉลาดพอจะบอกอะไรได้

“ศิลปะนั้นไม่เคยอยู่เหนือการเมือง ข้องเกี่ยวกับการเมืองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะมองย้อนกลับไปก็เกี่ยวข้องกับการเมือง ศิลปะเองก็ถูกใช้ในทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเมืองแบบไหน รับใช้อะไรสักอย่างมาโดยตลอด”

ไลลา พิมานรัตน์ คิวเรเตอร์ และเจ้าของแกลเลอรี่ Lyla Gallery ให้สัมภาษณ์มติชนสุขสรรค์ (ฉบับวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2559 หน้า 13)

 

Advertisement

รับใช้เจ้าขุนมูลนาย

อ.เขียน ยิ้มศิริ (อดีตคณบดี คณะจิตรกรรมประติมากรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร) ราว 50 ปีมาแล้ว เคยเขียนบทความวิชาการ มีสาระสำคัญโดยสรุปว่าช่างชั้นสูง หรือช่างหลวง ทำงานรับใช้เจ้าขุนมูลนาย ส่วนช่างชาวบ้านอยู่ในวิถีชีวิตแบบบ้านๆ จะคัดโดยสรุปมา ดังนี้

ช่างชั้นสูง ในเมืองหลวง “ทำงานรับใช้ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ ทำงานให้เป็นที่พอใจของเจ้านายที่เป็นผู้วางแบบอย่างในการสร้างงานศิลปะ เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนา และเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ราชูปถัมภ์ในศาสนานั้น ดังนั้น การแสดงออกซึ่งอารมณ์ในงานศิลปกรรมของช่างชั้นสูง จึงเป็นเรื่องอยู่ในขอบเขตจำกัดของอิทธิพลและอุดมคติทางศาสนาและพระมหากษัตริย์”

ช่างท้องถิ่น หรือช่างพื้นบ้าน “ทำงานอย่างมีอิสระเป็นส่วนตน ไม่อยู่ในอิทธิพลของเจ้าขุนมูลนาย มีพื้นฐานขึ้นอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีพื้นบ้านสืบต่อกันมา แม้จะมีฝีมือหยาบ ดูง่ายๆ แต่ก็มีชีวิตชีวา ลางครั้งดูตลกชวนให้ขบขันตามคติของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น เรื่องที่ทำขึ้นก็เกี่ยวกับประเพณีและชีวิตประจำวันของตนเป็นส่วนใหญ่—-งานประติมากรรมพื้นบ้านจึงเป็นศิลปะที่แพร่หลายไปในหมู่ชนธรรมดาสามัญ”

Advertisement

(จากบทความเรื่องประติมากรรมพื้นบ้านของอู่ทอง โดย เขียน ยิ้มศิริ พิมพ์ในหนังสือโบราณวิทยา เรื่องเมืองอู่ทอง กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2509 หน้า 62-63)

สนองการเมือง เจ้าขุนมูลนาย

ในไทย บรรดาศิลปกรรมที่เรียกทวารวดี, ศรีวิชัย, ลพบุรี, อู่ทอง, อยุธยา-สุโขทัย-ล้านนา ฯลฯ ล้วนสนองอำนาจการเมืองเจ้าขุนมูลนายของรัฐยุคนั้นๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image