สุจิตต์ วงษ์เทศ: พระพนัสบดี เมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี นักโบราณคดีไทย ‘ศิลปากร’ ใครเคยเห็นองค์จริง?

พระพนัสบดี เมืองพระรถ อ.พนัสบดี จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธรูปศิลา แบบทวารวดี มีอายุราวหลัง พ.ศ.1000 ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ประทับยืนบนสัตว์ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายครุฑ เรียกพนัสบดี แปลว่าเจ้าป่า
ก่อน พ.ศ.2474 มีผู้ขุดได้ที่เมืองพระรถ โดยนางน้อย แซ่จัน เป็นชาวเมืองพระรถ
องค์พระพนัสบดีที่เป็นของจริง ไม่ได้เก็บเข้าพิพิธภัณฑสถาน คงให้เจ้าของถนอมรักษาอยู่ตามประสงค์ตั้งแต่ครั้งนั้น
ปัจจุบัน ยังยืนยันไม่ได้ว่าพระพนัสบดีองค์จริงอยู่ที่ไหน? ใครถนอมรักษา? ฯลฯ เพราะเจ้าหน้าที่โดยตรงของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ก็ไม่เคยเห็นและตรวจสอบไม่ได้

ความเป็นมาโดยย่อของพระพนัสบดี เมืองพระรถ

11 เมษายน 2474 เจ้าฟ้านริศฯ เขียนทูลกรมดำรงฯ ว่ากรมขุนชัยนาทฯ บอกว่าที่เมืองชลบุรี มีพระพุทธรูปยืนได้จากเมืองพระรถ

16 พฤษภาคม 2474 กรมดำรงฯ (นายกราชบัณฑิตยสภา) สอบถามผู้ว่าฯเมืองชลบุรี จึงรู้เรื่อง พร้อมรูปถ่ายพระพุทธรูปยืน ว่า นางน้อย แซ่จัน บอกว่า “ขุดได้ที่เมืองพระรถ”

18 พฤษภาคม 2474 เจ้าฟ้านริศฯดูรูปถ่ายแล้วเขียนทูลกรมดำรงฯ ว่ารูปแบบนี้พบในชวาหลายแห่ง อ้างถึงนักปราชญ์ชาวฮอลันดาเรียก “พนสับดี”

Advertisement

พ.ศ.2495 วารสารศิลปากร ปีที่ 5 เล่มที่ 6 ของกรมศิลปากร พิมพ์รายงานสำรวจของอธิบดีกรมศิลปากร ไปเมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เล่าเรื่องพระพนัสบดี เป็นมรดกตกทอดอยู่กับนายอ๋อง เสถียร (ผู้เป็นบุตรหลานนางน้อย แซ่จัน ที่ถึงแก่กรรม)

พ.ศ.2496 นายมานิต วัลลิโภดม (ข้าราชการกรมศิลปากร) เขียนบทความวิชาการ เรื่อง พนัสบดี-กาลา พิมพ์ในวารสารศิลปากร ปีที่ 6 เล่ม 12 (พฤษภาคม 2496) เล่าความเป็นมาทั้งหมดของพระพนัสบดี เมืองพระรถ [พิมพ์ซ้ำในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์-มีนาคม 2522) หน้า 81-85] โดยระบุตอนหนึ่งว่า กรมศิลปากร (สมัยนั้น) “มิได้ดำเนินการอย่างใดที่จะให้ได้พระพุทธรูปองค์นี้มาเป็นสมบัติพิพิธิภัณฑสถาน คงให้เจ้าของถนอมรักษาอยู่ตามประสงค์ เป็นแต่ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณวัตถุของชาติเท่านั้น”

พ.ศ.2543 กรมศิลปากร พิมพ์หนังสือชื่อ พระพุทธรูปสำคัญ มีรูปพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี จากเมืองพระรถ จ.ชลบุรี
แต่ไม่บอกว่าถ่ายรูปพระพนัสบดีจากที่ไหน? หรือได้รูปจากไหน? คำอธิบายอีกหน้าหนึ่งก็คลาดเคลื่อนต่างจากที่พิมพ์ในวารสารศิลปากร (พ.ศ.2496)
[ภาพพระพนัสบดีและคำอธิบายใน 2 หน้าต่อไปนี้ ถ่ายแบบจากหนังสือ พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2543 หน้า 96, 98]

Advertisement

พนัสบดี01

02

คำอธิบายอย่างละเอียด

พระพนัสบดี เมืองพระรถ มีคำอธิบายอย่างละเอียด เรื่องความเป็นมาและลักษณะศิลปกรรม อยู่ในบทความเรื่อง พนัสบดี-กาลา ของ มานิต วัลลิโภดม [พิมพ์ครั้งแรก ในวารสารศิลปากร ปีที่ 6 เล่ม 12 (พฤษภาคม 2496) หน้า 108-114] ถ่ายแบบจากต้นฉบับจริง ต่อไปนี้

 

03

04

05

06

07

08

09

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image