เงินลิบรา(Libra)

เมื่อเร็วๆ นี้ เฟซบุ๊กได้ประกาศว่าจะออกเงินดิจิทัล ลิบราŽ Libra ออกมาใช้ ทำให้เป็นข่าวใหญ่โต ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณา ในทันทีที่มีข่าวการประกาศของเฟซบุ๊ก คณะกรรมาธิการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาได้ทำหนังสือถึงนายมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก ขอให้ยุติการพัฒนาเงินดิจิทัลลิบราไว้ชั่วคราว เพราะเงินลิบราและกระเป๋าเงินดิจิทัล คาลิบราŽ Calibra ยังไม่มีกฎระเบียบการกำกับดูแลเพียงพอ

เฟซบุ๊กเองก็เคยมีประวัติไม่ดีพอในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล หากปล่อยให้มีการสร้างเงินดิจิทัลแพร่หลาย โดยไม่มีระบบความปลอดภัยและระบบประกันการสูญหายของเงินในกระเป๋า Calibra ของสมาชิก ขณะเดียวกันเมื่อเป็นเงินที่อยู่นอกระบบตรวจสอบของทางการ เงินลิบราและกระเป๋าเงินลิบราอาจกลายเป็นที่ฟอกเงินของการกระทำผิดกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศได้ด้วย ยังไม่มีคำตอบจากเฟซบุ๊กว่าจะมีการชะลอโครงการนี้หรือไม่

คงจำได้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีข่าวว่ามีการสร้างเงินดิจิทัลขึ้นที่เรียกว่าบิทคอยน์ ที่เป็นที่ฮือฮากันมาก แม้ว่าบิทคอยน์จะไม่ใช่เงินที่ธนาคารกลางทั่วไปสร้างขึ้น ไม่ได้ยอมรับเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย legal tender แต่บัดนี้ก็กลายเป็นเงินดิจิทัลที่ใช้กันอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม เงินบิทคอยน์กับเงินลิบรานั้นไม่เหมือนกัน เงินบิทคอยน์เกิดขึ้นจากการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาบิทคอยน์ mining ซึ่ง บัดนี้สมาชิกได้ค้นหาหมดแล้วสำหรับขนาดของคอมพิวเตอร์ในขณะนี้ บิทคอยน์เริ่มต้นมูลค่าจากเพียง 1 ดอลลาร์ ราคาขึ้นอยู่กับความต้องการของ ผู้ที่เป็นสมาชิกและเคยมีราคาสูงถึง 60,000 ดอลลาร์ต่อ 1 บิทคอยน์มาแล้ว ก่อนจะลงมาอยู่ที่ประมาณ 6,000 ถึง 20,000 ดอลลาร์ ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับตลาด บ้านเราก็มีหลายบริษัทที่จดทะเบียนรับซื้อขายบิทคอยน์ ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เงินลิบราที่เฟซบุ๊กจะออกเป็นเงินดิจิทัล เฟซบุ๊กเป็นเจ้าของ

Advertisement

เฟซบุ๊กจะเป็นเหมือนธนาคารกลางของประเทศที่ออกเงินสกุลต่างๆ โดยสมาชิกของ เฟซบุ๊กทั่วโลกมีจำนวนถึง 2,380 ล้านบัญชี ถ้าโดยเฉลี่ยคนหนึ่งมี 3 บัญชี ก็เท่ากับมีคนเป็นสมาชิกถึง 700-800 ล้านคน มีจำนวนมากกว่าประชากรของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเสียอีก

วิ ธีการสร้างลิบราของเฟซบุ๊กก็เหมือนกับการสร้างเงิน SDRs หรือ สิทธิถอนเงินพิเศษ Special Drawing Rights ของไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินที่ไม่มีธนบัตร เป็นแต่เพียงบัญชีระหว่างกันของธนาคารกลางของประเทศที่เป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นเงินที่ใช้กันระหว่างธนาคารกลางของประเทศสมาชิก

เงินลิบรามีลักษณะคล้ายๆ กับเอสดีอาร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพราะจะมีการตั้งสมาคมลิบราหรือ Libra Association ทำหน้าที่เหมือนธนาคารกลางประเทศต่างๆ ที่ควบคุมการออกเงินสกุลต่างๆ ของแต่ละประเทศ เหมือนระบบทุนสำรองกลางของสหรัฐ หรือ Federal Reserve System หรือธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ที่ออกเงินสกุลอื่นๆ เอามาใช้ โดยมีทั้งทองคำและหรือเงินตราสกุลหลักหรือตะกร้าของเงินสกุลหลัก basket of currencies เป็นทุนหนุนหลังเช่นเดียวกับ SDRs สำหรับทุนหนุนหลังดังกล่าวยังไม่ชัดเจนว่าจะมีจำนวนเท่าใดของเงินลิบราที่เฟซบุ๊กจะออก

Advertisement

ตอนเริ่มต้นเงินลิบราจะมีมูลค่าเท่าใดเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐและหรือทองคำ หรือค่าเฉลี่ยของสกุลเงินในตะกร้าเงินเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เมื่อตอนเริ่มต้นไอเอ็มเอฟกำหนดให้ 1 SRD มีมูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้มีมูลค่าสูงกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐมาก เพราะค่าเงินดอลลาร์ลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ที่อยู่ในตะกร้า ซึ่งบัดนี้มีเงินหยวนของจีนรวมอยู่ด้วย

ถ้าสมมุติคณะกรรมการสมาคมลิบราซึ่งมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์กเป็นประธาน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ มีพนักงานไม่เกิน 1,000 คน มีเลขาธิการสมาคม ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมือนผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

สมมุติต่อไปว่าคณะกรรมการสมาคมมีมติออกเงินลิบราประเดิมเท่ากับ 10,000 ล้านลิบรา 1 ลิบรา
เท่ากับ 1 ดอลลาร์ตอนเริ่มต้น ปัญหาแรกก็คือจะแจกเงินลิบราให้กับบัญชีเงินลิบราบัญชีละเท่าใด
ผู้ใช้เฟซบุ๊กทั่วโลก 2,500 ล้านจากประชากรโลก 7,700 ล้านคน หรือ 30% ของประชากรโลก ซึ่งเป็นเด็กและคนชราส่วนหนึ่งแต่ก็นับว่าเป็นจำนวนมาก แต่จะสมัครขอเปิดบัญชีลิบราเท่าใดไม่มีใครทราบ ชื่อเจ้าของบัญชีเป็นความลับมีแต่เลขที่บัญชีที่เปิดเผย ค่าใช้จ่ายของสมาคมในการบริหารจัดการก็คงต้องเก็บจากเจ้าของบัญชี บัญชีละเท่าไหร่ต่อเดือนหรือต่อปี ถ้าแพงเกินไปก็คงมีสมาชิกน้อย ถ้าถูกเกินไปก็อาจจะขาดทุน ไม่เพียงพอกับการบริหารจัดการ

หลักเกณฑ์การจะแจกลิบราเมื่อตอนเริ่มต้นก็น่าจะเป็นปัญหาเสียแล้ว จะแจกคนละเท่าๆ กันสำหรับผู้สมัครเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง หรือจะรอให้มีสมาชิกจำนวนอย่างน้อยจำนวนหนึ่งเสียก่อน กรรมการสมาคมต้องกำหนดและเป็นที่รับได้สำหรับสมาชิกทุกคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ หรือจะให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการแจก
ลิบราว่าจะแจกสมาชิกในตอนใดเริ่มต้นอย่างไร

ที่สำคัญในตอนเริ่มต้นจะออกเงินลิบราจำนวนเท่าไหร่ จะกำหนดขายลิบราหน่วยละกี่ดอลลาร์ จำนวนเท่าไร เฟซบุ๊กได้ดอลลาร์มาแล้วจะจัดการอย่างไร ถ้าเฟซบุ๊กเอาไปลงทุนแล้วขาดทุนจะจัดการอย่างไร หรือจะใส่ไว้เป็นทุนสำรองโดยเฟซบุ๊กเป็นเจ้าของ เจ้าของเฟซบุ๊กก็จะรวยที่สุดในโลกและมีอำนาจทางการเงินมากกว่าธนาคารกลางสหรัฐเสียอีก สหรัฐจะยอมให้เกิดขึ้นหรือ กฎเกณฑ์จะเป็นอย่างไร เช่น จะออกเท่ากับสัดส่วนเท่าใดของปริมาณเงินดอลลาร์ที่ใช้อยู่ทั่วโลก ถ้าจะออกมากค่าของมันก็จะต่ำ เพราะความต้องการเงินลิบราตอนเริ่มต้นยังไม่ทราบว่าจะมีเท่าใด

ไอเอ็มเอฟคงไม่ยอมรับลิบราว่าเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ คงไม่อาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศได้แบบเดียวกับเงินตราสกุลหลักของโลก เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐเงินยูโร เงินเยน เงินปอนด์สเตอริง เงินหยวนของจีน ซึ่งหลายประเทศยินดีถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศเหมือนกัน แม้ว่าจะยังมีจำนวนไม่มาก

เงินลิบราที่เฟซบุ๊ก ฝันŽ ที่จะออกมาเป็นเงินดิจิทัลที่ต้องการจะให้เป็นที่ยอมรับและให้เป็นที่เชื่อถือกันทั่วโลก อาจจะต้องเริ่มต้นจากการมี ทุนสำรองŽ ที่เป็นทองคำและเงินตราต่างประเทศสกุลหลัก ต้องประกาศว่าเงินลิบราจะมีเงินตราสกุลหลักหนุนหลังไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าที่ออก เหมือนกับกรณีเงินบาทของเราที่กฎหมายกำหนดว่าต้องมีทองคำ และหรือเงินตราสกุลหลักอยู่ใน ทุนสำรองเงินตราŽ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ประเมินมูลค่าทุกสิ้นปี จนเมื่อเงินลิบราติดตลาดแล้ว แน่ใจว่าจะไม่เกิดจากการตระหนกแห่กันออกมาแลกเป็นเงินสกุลอื่นกับธนาคาร ซึ่งธนาคารอาจจะไม่ให้แลกก็ได้ จึงค่อยเลิกข้อกำหนดจำนวนทุนสำรองดังกล่าวกับเฟซบุ๊ก โดยไม่มีรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศใดรวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศบังคับได้

เราคงต้องติดตามเฝ้าดูพัฒนาการ การปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดโดยคณะกรรมการของสมาคมลิบรา ซึ่งคงจะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ เมื่อจัดตั้งสมาคมแล้วก็ต้องคอยดูว่าจะมีใครสมัครเป็นสมาชิก รับกระเป๋าเงินลิบราหรือ calibra ในกระเป๋าจะได้รับแจกเงินลิบรากระเป๋าละเท่าไหร่ เมื่อมีการใช้เงิน
ลิบราซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันจะมีระบบหักบัญชีระหว่างกันอย่างไร หรือถ้าจะมีการกู้ยืมเงินกันจะจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างไร หรือจะไม่มีการกู้ยืมกัน เอาเงินสดลิบราในกระเป๋าเท่านั้น หรือจะมีการซื้อขายลิบราโดยเงินตราจริงสกุลต่างๆ และมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยคอมพิวเตอร์โดยเวลาจริง real time เช่นเดียวกับเงินบิทคอยน์ การกำหนดปริมาณเงินลิบราที่จะออกมาหมุนเวียนโดยคณะกรรมการสมาคมจะมีกฎเกณฑ์อย่างไร เงินลิบราที่จะออกมาเพิ่มจะแจกเงินให้ใครจำนวนเท่าใด หรือจะใช้วิธีประมูลขายในรูปของเงินตราสกุลหลักของโลก ซึ่งก็มีหลายวิธี

แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่น้อย หากต้องการจะทำให้เงินดิจิทัลสกุลลิบราของเฟซบุ๊กเกิดขึ้น แต่ก็มีความเป็นไปได้ ประโยชน์คงมีไม่มาก แต่เฟซบุ๊กจะกลายเป็นธนาคารกลางของโลก เพราะออกเงินลิบราได้ โดยมีทองคำและเงินตราสกุลสำคัญหนุนหลัง อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างลิบรากับดอลลาร์เป็นไปโดยเสรีตามราคาตลาดระหว่างสมาชิก

อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความชื่นชมกับมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้เป็นเจ้าของเฟซบุ๊กเป็นอย่างยิ่ง ในความคิดอันก้าวไกล ที่หวั่นกลัวกันว่าธนาคารกลางสหรัฐผู้ออกเงินดอลลาร์สหรัฐจะสูญเสียอำนาจไปบ้างซึ่งไม่น่าจะจริง เพราะลิบราจะต้องเป็นที่ยอมรับสำหรับใช้ชำระหนี้ได้แทนดอลลาร์ก่อน โอกาสจะล้มไปก่อนก็มีมาก

หรือแม้ว่าอาจจะเป็นไปได้ก็ไม่น่าจะต้องกังวลอะไร เพราะปริมาณเงินลิบราที่กว่าจะแพร่หลายหมุนเวียนในตลาดโลก กว่าจะเป็นที่ยอมรับชำระหนี้ระหว่างประเทศอย่างกว้างขวางได้ก็คงอีกนาน คงต้องตามหลังเงินยูโร เงินเยน เงินปอนด์สเตอริง เงินหยวนและทองคำ แม้ว่าจะเริ่มต้นขึ้นแล้วก็ตามโดยองค์กรเอกชน

ในชีวิตเราคงไม่ได้เห็นและไม่อยากเห็น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image