สุจิตต์ วงษ์เทศ : ยังมีอีก 2 วัดร้างในบางกอก อยู่รวมกับ “อารามนามวัดประโคนปัก” ของสุนทรภู่ ในนิราศภูเขาทอง

เรือน พ.ศ. 2500 ผมเคยไปอาศัยบ้านญาติอยู่หน้าวัดดาวดึงษ์ ฝั่งธนบุรี (ขณะนั้นเป็นนักเรียนมัธยมต้น โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์)
แล้วเคยตามเด็กๆ ชาวสวนรุ่นราวคราวเดียวกันแถวนั้นเดินข้ามท้องร่องสวนขนาดใหญ่ไปเที่ยวถึงวัดเสาประโคน
ครั้งนั้นไม่รู้ประสีประสาอะไรคือวัดเสาประโคน? รู้แต่ว่าเดินไกลชิบหายปากทางท่าน้ำจากวัดดาวดึงษ์

ครั้นโตขึ้นเรียนชั้นมัธยม 7 ที่วัดนวลนรดิศ (ไปทางตลาดพลู) ต้องท่องอาขยานนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ ตอนหนึ่งจึงรู้ว่าเป็นวัดสำคัญที่เคยไปเห็นในสวนคราวก่อน ดังนี้

๏ ถึงอารามนามวัดประโคนปัก      ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน
เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน      มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา
ขอเดชะพระพุทธคุณช่วย      แม้นมอดม้วยหลับชาติวาสนา
อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา      อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง
ไปพ้นวัดทัศนาริมท่าน้ำ      แพประจำจอดรายเขาขายของ
มีแพรผ้าสารพัดสีม่วงตอง      ทั้งสิ่งของขาวเหลืองเครื่องสำเภา ฯ

กว่าจะรู้ก็อีกนานว่าวัดเสาประโคน ปัจจุบันคือวัดดุสิดาราม (เชิงสะพานปิ่นเกล้า)

Advertisement

ก็อีกนั่นแหละ ไม่เคยรู้ว่าละแวกนั้นมี 3 วัด อยู่ติดกัน จนได้อ่านจากหนังสือวัดร้างในบางกอก ของ อ. ประภัสสร์ ชูวิเชียร ว่ามีอีก 2 วัด คือ วัดน้อยทองอยู่ กับวัดราชปักษี

วัดน้อยทองอยู่ ใกล้ปากคลองบางกอกน้อย ถูกระเบิดจากสงครามมหาเอเชียบูรพา และค่อยๆเลือนหายจากความทรงจำของผู้คน
วัดน้อยทองอยู่ ใกล้ปากคลองบางกอกน้อย ถูกระเบิดจากสงครามมหาเอเชียบูรพา และค่อยๆเลือนหายจากความทรงจำของผู้คน
ภาพถ่ายเก่าวัดน้อยทองอยู่ โดยสถาปนิกชาวเยอรมัน สมัยรัชกาลที่ 5
ภาพถ่ายเก่าวัดน้อยทองอยู่ โดยสถาปนิกชาวเยอรมัน สมัยรัชกาลที่ 5
วัดภุมรินทร์ราชปักษี อารามเก่าแก่ยุคอยุธยาตอนปลายหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณที่สัมพันธ์กับเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่ขาดคนเหลียวแล ทว่า ยังมีร่องรอยของความงดงามไม่เสื่อมคลาย
วัดภุมรินทร์ราชปักษี อารามเก่าแก่ยุคอยุธยาตอนปลายหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณที่สัมพันธ์กับเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่ขาดคนเหลียวแล ทว่า ยังมีร่องรอยของความงดงามไม่เสื่อมคลาย

ถ้าดูในนิราศอื่นๆ สุนทรภู่เคยบอกว่าบริเวณปากคลองบางกอกน้อยเป็นตลาดเรือนแพที่สุนทรภู่อาศัยอยู่กับแม่ ยิ่งเป็นพยานว่าตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยยาวไปถึงบาง ยี่ขันเป็นตลาดเรือนแพผู้คนคับคั่ง
ยังไม่มีใครศึกษาเรื่องนี้จริงๆ จังๆ หรือจะลองดู อ. ด้วง ประภัสสร์?

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image