จีนส่ง ‘ลองมาร์ช 5’ สำเร็จ : โดย ศ.ชยานันต์ ศุกลวณิช

ภาพรอยเตอร์

การยิงจรวดขนส่งของจีนประสบความล้มเหลวถึง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดประเทศจีนก็ประสบความสำเร็จโดยจรวด Long March 5 ได้นำ “ดาวเทียมสื่อสาร” (Communication satellite) เข้าสู่วงโคจรเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2019

“ลองมาร์ช 5” ได้ส่งดาวเทียมสื่อสารน้ำหนัก 8 ตัน เข้าสู่วงโคจร ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นดินประมาณ 36,000 กิโลเมตร เป็นการปูพื้นสร้างฐานและวางแผนการสื่อสารในอนาคต

ถือเป็นดาวเทียมที่มีกำลังบรรทุกที่หนักที่สุดของจีน

อันเทคนิคเกี่ยวกับดาวเทียมนั้น เริ่มแรกใช้เพียงประโยชน์ทางการทหารเท่านั้น

Advertisement

แต่ปัจจุบันสามารถนำมาใช้เพื่อการบริการทางการพาณิชย์อีกด้วย

อดีต จรวดมีกำลังเพียงบรรทุกดาวเทียมขนาดเบาเท่านั้น

ปัจจุบัน จรวดมีพลังบรรทุกดาวเทียมขนาดหนักได้แล้ว

Advertisement

เป็นสัญลักษณ์แห่งมาตรฐานของเทคนิคที่ได้รับการพัฒนา

สมรรถนะของ “ลองมาร์ช 5” สามารถบรรทุกดาวเทียมได้หนักถึง 25 ตัน

ใกล้เคียงกับจรวดขนาด 28 ตันของสหรัฐ

“ลองมาร์ช 5” ของจีนกว่าจะมีวันนี้ก็ได้ประสบพบพานปัญหานานัปการ

ครั้งที่ 1 ปี 2016 เผชิญการพลิกผันมากโข แต่ในที่สุดก็ส่งขึ้นไปได้อย่างทุลักทุเล

ครั้งที่ 2 ปี 2017 หลังจากการส่ง 5 นาที เครื่องยนต์ขัดข้อง จรวดดิ่งลงทะเล

ครั้งที่ 3 วันที่ 22 ธันวาคม 2019 ประสบผลสำเร็จ

ณ บัดนี้ แผนการอวกาศของประเทศจีนก็ได้ย่างก้าวเข้าสู่ Lengthy dark night! แน่นอนแล้ว

หลังจากการล้มเหลวเมื่อปี 2017 จีนได้ทำการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในด้านต่างๆ รวม 193 รายการ ทั้งนี้ ได้ใช้เวลารวม 908 วัน จึงประสบความสำเร็จ

การที่ “ลองมาร์ช 5” สามารถเข้าสู่วงโคจรได้ในครั้งนี้ย่อมเป็นการยืนยันถึงซึ่งดาวเทียมของจีนเป็นที่ยอมรับ คือเทคนิคสมัยใหม่ และเป็นเวทีสื่อสารสมัยใหม่

ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าอยู่บนเครื่องบิน ไม่ว่าล่องเรือเที่ยว ไม่ว่าอยู่ในรถไฟความเร็วแรงสูง

ล้วนมีสิทธิใช้บริการระบบ Wi-Fi แรงสูง จากดาวเทียมสื่อสารของจีนได้ไม่ยาก

แม้เทคนิคด้านจรวดของจีนเริ่มต้นช้ากว่าประเทศอื่น

แต่ผลงานก็ไม่น้อยหน้าประเทศใด

ประเทศจีนเริ่มต้นเทคนิคด้านจรวดตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 ของศตวรรษที่ 20

บัดนี้ได้ไล่ทันและนำหน้าประเทศที่เริ่มก่อน อาทิ

ปี 2018 จีนยิงจรวด 39 ครั้ง ในขณะที่สหรัฐยิง 34 ครั้ง

ประเทศที่เคยมีพลานุภาพทางด้านเทคนิคสูงอย่างสหภาพยุโรปและรัสเซีย

ปี 2018 เพียงยิงจรวดเป็นจำนวน 8 และ 20 ครั้งตามลำดับ

ต้องยอมรับว่า ประเทศจีนกำลังมาแรงในด้านอวกาศ ที่น่าสนใจคือ คณะทำงานของจีนเกี่ยวกับด้านอวกาศยังอ่อนเยาว์ อายุเฉลี่ยอยู่ในระดับ 33 เท่านั้น

เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ทีมงานอวกาศของจีนนั้นทรงพลังยิ่ง เป็นการ “ช็อกโลก”

เป็นการสร้างแรงกดดันให้สหรัฐโดยปริยาย

ความสำเร็จทางด้านอวกาศของจีนมิใช่เป็นเรื่องที่ได้มาโดยง่าย นอกจากทีมงานทำงานหนัก หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนได้ให้ความร่วมมือที่ดียิ่ง

และที่สำคัญที่สุดคือ พวกเขามีความสำนึกในความเป็นเจ้าของประเทศ อย่างที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า “Sense of belonging” หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ “ความรักชาติ” นั่นเอง

จากนวนิยายพื้นเมืองจีน เทพธิดาดวงจันทร์ “ฉางเอ๋อ” ย่างก้าวเหยียบบาทพื้นผิวดวงจันทร์

บัดนี้ได้กลายเป็นเบื้องหลังแห่งความสำเร็จอย่างแท้จริงที่ยานอวกาศจีนขึ้นสู่ดวงจันทร์

ถือเป็นความสำเร็จของทีมงานอวกาศ

ถือเป็นความฝันจีนที่กลายเป็นความจริง

ไม่ว่าชนชาติใดในเอกภพนี้ ล้วนมีความฝันที่แตกต่างกันไป

หากจะรอให้ความฝันหล่นลงมาจากบนฟ้านั้น ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้

มีอยู่ทางเดียวคือ “ต้องทำ” และต้องร่วมมือกัน อย่าเอาตัวอย่างแบบ “รัฐอิสระ”

และต้องทำอย่างทีมงานอวกาศของจีน คือกล้าที่จะต่อสู้กับงานหนัก ต่อสู้กับปัญหา ต่อสู้กับอุปสรรค และที่สำคัญที่สุดคือ การเสาะแสวงหาข้อมูล เพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า

ความฝันอวกาศของจีน มิใช่เส้นทางที่ราบรื่น หากต้องเผชิญปัญหานานัปการ

ความล้มเหลวของ “ลองมาร์ช 5” เมื่อ 2017 นั้น นำมาซึ่งความสงสัยคลางแคลงใจมากมาย อีกทั้งเป็นเหตุให้การพัฒนาการด้านอื่น ต้องหยุดชะงักไปด้วย

แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ในที่สุดก็พบกับความสำเร็จ

เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของประเทศจีน

ศ.ชยานันต์ ศุกลวณิช

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image