มนุษย์-พลาสติก โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม

การรณรงค์ “ลด-ละ-เลิก” ใช้พลาสติกยังเป็นกระแสของโลกในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามพลาสติกนั้นมีหลากหลายชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกัน อย่าเหมารวมแง่ลบไปทั้งหมด เพราะยังมีความจำเป็นที่ต้องใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจว่าควรจะใช้พลาสติกประเภทไหน อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดอย่างไร

เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563 ที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “จีซี” เข้าร่วมด้วย เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยทำความเข้าใจกับพลาสติกมากขึ้น

“จีซี” เปิดพาวิลเลียน “Everlasting Forest by GC” ภายใต้แนวคิด “Circular Living” เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและประโยชน์สูงสุด ภายใต้คอนเซปต์ “BCG”

Advertisement

นั่นคือ “Bio economy” หรือเศรษฐกิจชีวภาพ มีนำเสนอการใช้พลาสติกชีวภาพ หรือไบโอพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“Circular economy” เศรษฐกิจหมุนเวียน มีการแสดงผลิตภัณฑ์ที่อัพไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เป็นการหมุนเวียนจากผลิตภัณฑ์หนึ่งไปสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่ง

“Green economy” เศรษฐกิจสีเขียว มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ Fiber Rebar หรือ Grass Fiber Reinforced Polymer (GFRP) เป็นวัสดุก่อสร้างทดแทนเหล็ก มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเหล็กถึง 3 เท่า อีกทั้งไม่เป็นสนิมและไม่เกิดการกัดกร่อน มีอายุการใช้งานยาวนาน

Advertisement

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตพรินต์ เพราะในกระบวนการผลิตสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 43% เมื่อเทียบกับเหล็ก และใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าเหล็กถึง 50%

พาวิลเลียนของ “จีซี” ช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้ผู้บริโภค นักออกแบบ รวมทั้งสินค้าแบรนด์ต่างๆ ได้รับรู้ว่าหากเลือกใช้พลาสติกอย่างถูกต้อง บริหารจัดการขยะถูกวิธี พลาสติกก็เป็นวัสดุที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เช่น พลาสติกชีวภาพ และพลาสติกอื่นๆ ที่แข็งแรงทนทาน จะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ยังมีสถานี Smart Recycling Center ที่ร่วมมือกับบริษัท Farm D ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกและจัดการขยะที่เกิดขึ้นในงาน ต่อยอดความคิดในการนำขยะไปสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านกระบวนการอัพไซคลิง ภายใน Customer Solution Center Shop by GC ที่นำผลิตภัณฑ์อัพไซคลิงมาจัดแสดงเพื่อให้เห็นว่าขยะไม่ใช่จะเป็นขยะตลอดไป แต่แปลงโฉมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้

ปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ “จีซี” หวังว่า ผู้เข้าชมจะตระหนักรู้และเข้าใจถึงการเลือกใช้งานพลาสติกแต่ละประเภท ซึ่งมีคุณสมบัติที่หลากหลายและมีคุณประโยชน์แตกต่างกัน รวมถึงการใช้วัสดุทางเลือก เช่น พลาสติกชีวภาพ

ตลอดจนรู้ถึงวิธีการการจัดการขยะที่ถูกต้อง เพื่อร่วมกันช่วยลดปริมาณขยะ และมีส่วนร่วมในกระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิล ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อนำไปต่อยอดและสร้างเป็นธุรกิจใหม่ เกิดเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจ

ยุคปัจจุบันแน่นอนว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นโจทย์หลัก แต่พลาสติกยังมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

ใช่ว่าสิ่งแวดล้อมกับพลาสติกจะอยู่กันคนละขั้วและไปกันไม่ได้เสียทีเดียว เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจถึงคุณสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิดในการใช้และตอบโจทย์ต่อสภาพสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

ดังนั้น การสร้างความเข้าใจจะช่วยให้ “สิ่งแวดล้อม-มนุษย์-พลาสติก” สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image