สุจิตต์ วงษ์เทศ : พญานาคจากยูนนาน ขุดแม่น้ำโขง, ชี, มูล และหนองหาน สกลนคร, อุดรธานี

น้ำน้อยในหนองหานหลวง สกลนคร

ออกจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่บ่ายวันพฤหัสฯ 16 มิถุนายน ถึงขอนแก่นตอนเย็น
รุ่งเช้าวันศุกร์ 17 มิถุนายน ออกจากขอนแก่นไปกาฬสินธุ์ ถึงบ้านเชียง อุดรธานี ตอนก่อนเที่ยง
เดินดูพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงพร้อมได้ยินเสียงพูดโทรศัพท์ตลอดจากคนว้าเหว่ที่เอาเปรียบเบียดเบียนคนอื่น
ออกจากบ้านเชียง ตอนบ่าย แวะหาแม่น้ำสงครามจนเย็น ก็เข้าเขตสกลนคร ตระเวนรอบหนองหานหลวง (หนองหาน ผมเคยเข้าใจคับแคบว่าต้องเขียนสะกดด้วย น แต่ความจริงมาจากคำเขมรว่า ละหาล ไทยยืมมาสะกดได้ทั้ง น และ ร คือ หนองหาร ก็ได้)
แล้วเข้าไปปราสาทนารายณ์เจงเวง (ผู้รู้ภาษาอีสานฯ บอก เจงเวง แปลว่า เป็นที่ ร่ำลือ, เลื่องลือ)
พอเย็นย่ำค่ำคืนไปนอนค้างในโรงแรมกลางตลาด เช้าตรู่วันเสาร์ 18 มิถุนายน ไปวัดพระธาตุเชิงชุม ไม่ได้เลื่อมใสในพระศาสนาและพระสงฆ์ แต่จะไปดูอย่างอื่น
องค์พระธาตุเชิงชุม (สกลนคร) เป็นฝีมือช่างแบบล้านช้าง (ลาว) สร้างครอบซากปราสาทแบบขอม (เขมร) ที่มีมาก่อน แต่พังไป

น้ำน้อยในหนองหานหลวง สกลนคร
น้ำน้อยในหนองหานหลวง สกลนคร
หน้าวัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร
หน้าวัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร
ศาลผีหลักเมือง
ศาลผีหลักเมืองสกลนคร

 

ภูน้ำลอด
ภูน้ำลอด

อ. สมชาย นิลอาธิ พาไปดูบ่อน้ำโบราณหน้าวัด ชาวบ้านเรียก “ภูน้ำลอด” ก็คือ น้ำผุดจากใต้ดิน ถือเป็นแหล่งน้ำดั้งเดิม ศูนย์กลางของชุมชนแรกเริ่มเหมือนแหล่งอื่นๆ (เช่น วัดพลาญชัย จ. ร้อยเอ็ด)

บรรยากาศคลาสสิคสุดๆ คือ ลานหน้าวัดพระธาตุเชิงชุม

Advertisement

(1.) ไม่สร้างกำแพงวัดสูงปิดบังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัด (2.) บ้านเรือนตึกรามหน้าวัดไม่รกรุงรัง แล้วไม่สูงข่มวัด (3.) ทั้งหมดสะอาดสะอ้านน่าเดิน โดยไม่ต้องโฆษณาเป็นถนนคนเดิน

ต่อจากนั้นไปหอผีกลางบ้าน ทางการเรียกศาลหลักเมือง (แต่ความจริงไม่ใช่) สะอาดสะอ้านร่มรื่นมาก

จนถึงเวลานัดหมายจึงนั่งรถตู้มติชนเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ไปเล่าเรื่องต่างๆ จนถึงเที่ยง ก็ออกจากสกลนคร ข้ามภูพานเข้าร้อยเอ็ด ไปนอนมหาสารคาม

คนดึกดบ.

อ. สมชาย นิลอาธิ พาไปดูบ่อน้ำโบราณหน้าวัด ชาวบ้านเรียก “ภูน้ำลอด” ก็คือ น้ำผุดจากใต้ดิน ถือเป็นแหล่งน้ำดั้งเดิม ศูนย์กลางของชุมชนแรกเริ่มเหมือนแหล่งอื่นๆ (เช่น วัดพลาญชัย จ. ร้อยเอ็ด) บรรยากาศคลาสสิคสุดๆ คือ ลานหน้าวัดพระธาตุเชิงชุม (1.) ไม่สร้างกำแพงวัดสูงปิดบังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัด (2.) บ้านเรือนตึกรามหน้าวัดไม่รกรุงรัง แล้วไม่สูงข่มวัด (3.) ทั้งหมดสะอาดสะอ้านน่าเดิน โดยไม่ต้องโฆษณาเป็นถนนคนเดิน ต่อจากนั้นไปหอผีกลางบ้าน ทางการเรียกศาลหลักเมือง (แต่ความจริงไม่ใช่) สะอาดสะอ้านร่มรื่นมาก จนถึงเวลานัดหมายจึงนั่งรถตู้มติชนเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ไปเล่าเรื่องต่างๆ จนถึงเที่ยง ก็ออกจากสกลนคร ข้ามภูพานเข้าร้อยเอ็ด ไปนอนมหาสารคาม
คนดึกดําบรรพ์ 2,500 ปีมาแล้ว บริเวณหนองหานหลวง แอ่งสกลนคร เคลื่อนไหวแขนขา แสดงท่าทางศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม [คัดลอกจากภาพเขียนสีในถ้ำผาผักหวาน ต. ท่าศิลา อ. ส่องดาว จ. สกลนคร จากหนังสือ ศิลปะถ้ำสกลนคร กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2532 หน้า 79-80]

สกลนคร

สกลนคร มีความเป็นมาทั้งของผู้คนและดินแดน แยกไม่ได้จากประวัติศาสตร์ภูมิภาคอุษาคเนย์ หรืออาเซียน ที่บริเวณผืนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกเก่าแก่มาแต่ยุคดึกดําบรรพ์ว่าสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้ เพราะสกลนครเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำโขง ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

และประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทั้งของผู้คนและดินแดน เป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์อย่างแยกออกจากกันมิได้

(ซ้าย) รูปคน, (รูปเหมือนคนประกอบรูปสัตว์และสิ่งของอื่นๆ เช่น ต้นไม้ใบหญ้า เป็นรูปรอยเรขาคณิต [ลายเส้นคัดลอกจากภาพสลักราว 2,500 ปีมาแล้ว ถ้ำผาลาย ภูผายนต์ บ้านนาผาง ต. กกปลาซิว อ. เมือง จ. สกลนคร จากหนังสือ ศิลปะถ้ำสกลนคร กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2532 แผ่นแทรกระหว่างหน้า 32-57]
(ซ้าย) รูปคน, (รูปเหมือนคนประกอบรูปสัตว์และสิ่งของอื่นๆ เช่น ต้นไม้ใบหญ้า เป็นรูปรอยเรขาคณิต
[ลายเส้นคัดลอกจากภาพสลักราว 2,500 ปีมาแล้ว ถ้ำผาลาย ภูผายนต์ บ้านนาผาง ต. กกปลาซิว อ. เมือง จ. สกลนคร จากหนังสือ ศิลปะถ้ำสกลนคร กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2532 แผ่นแทรกระหว่างหน้า 32-57]

แอ่งสกลนคร ยุคดึกดําบรรพ์

แอ่งสกลนคร หมายถึง บริเวณอีสานเหนือ อยู่เหนือทิวเขาภูพาน

3,000 ปีมาแล้ว มีชุมชนยุคโลหะ อยู่ในวัฒนธรรมบ้านเชียง (ซึ่งแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับชุมชนในเวียดนาม) น่าจะมีหลายชาติพันธุ์อยู่ปะปนกัน

2,500 ปีมาแล้ว มีชุมชนถลุงเหล็ก บริเวณหนองหานหลวง สกลนคร

หลัง พ.ศ. 1000 มีบ้านเมืองรอบหนองหาน อยู่ในวัฒนธรรมเจนละและทวารวดี               มีเสมาหินในพุทธศาสนา มีคนหลายชาติพันธุ์ หรือร้อยพ่อพันแม่

หลัง พ.ศ. 1500 รัฐที่หนองหานหลวง สกลนคร อยู่ในวัฒนธรรมขอม สร้างคูน้ำกําแพงเมืองรูปสี่เหลี่ยม (คู่กันกับรัฐที่หนองหานน้อย อุดรธานี) เป็นเครือญาติพวกสยาม (เสียมกุก) มีศูนย์กลางอยู่ที่เวียงจัน

หลัง พ.ศ. 1700 คนจากรัฐที่หนองหานหลวง สกลนคร โยกย้ายอพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่อยู่เวียงจัน (มีนิทานเรื่องจันทบุรีอ้วยล่วย คําว่า อ้วยล่วย แปลว่าอ้วนพีมีพุง)          มีชื่อในตํานานว่ารัฐศรีโคตรบูร

หลัง พ.ศ. 1800 เจ้าฟ้างุ้มจากรัฐหลวงพระบาง ควบคุมรัฐศรีโคตรบูร ที่เวียงจัน รวมสองฝั่งโขง ถึงหนองหานหลวง สกลนคร และปริมณฑล

นับแต่นี้ไป หนองหานหลวงอยู่ในวัฒนธรรมลาว แล้วมีคนลาวโยกย้ายอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งสืบมา จนเป็น เมืองสกลทวาปี แล้วเปลี่ยนเป็น เมืองสกลนคร

 บรรพชนคนลุ่มน้ำโขงในวรรณกรรม

คนดึกดําบรรพ์หลายพันปีมาแล้วบริเวณลุ่มน้ำโขง มีเรื่องราวความเคลื่อนไหวบันทึกเป็นสัญลักษณ์ในวรรณกรรมคําบอกเล่าเก่าแก่ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ตํานาน และนิทาน

แต่จะเชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน? ขึ้นอยู่กับหลักฐานหรือร่องรอยสนับสนุนทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และมานุษยวิทยา ไม่ใช่เชื่อตําานานและนิทานโดดๆ ลอยๆ

ตํานานพระธาตุพนม

อุรังคธาตุ หรือตํานานพระธาตุพนม มีสาระสําคัญเป็นเรื่องราวความเคลื่อนไหวของคนดึกดําบรรพ์กลุ่มหนึ่งที่เคลื่อนย้ายและโยกย้ายอพยพจากดินแดนตอนใต้ลุ่มน้ำแยงซีเกียง บริเวณมณฑลยูนนาน กับ มณฑลกวางสี

[ทางภาคใต้ของจีน ยุคนั้นยังไม่เป็นจีน แต่ชาวฮั่นเรียกคนทางนี้ว่าพวกป่าเถื่อน]

ผ่านแม่น้ำอู (ทางภาคเหนือของลาว) เข้าแม่น้ำโขง ตั้งแต่เขตหลวงพระบาง ลงทางใต้ถึงแก่งลี่ผี (ทางภาคใต้ของลาว)

แล้ววกเข้าแม่น้ำชี, แม่น้ำมูล ถึงหนองหานหลวง, หนองหานน้อย (ทางภาคอีสานของไทย)

หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี

หลักฐานสนับสนุนทางประวัติศาสตร์โบราณคดี เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ทําด้วยโลหะเรียกทองสําริด เช่น กลองทองมโหระทึก อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว

พบแหล่งผลิตแบบเก่าสุด ทั้งที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน, เมืองต่างๆ ในมณฑลกวางสี, บริเวณดงเซิน ในเวียดนาม, ฯลฯ

ช่วงเวลาหลังจากนั้น กลองทองมโหระทึกแพร่กระจายสู่ชุมชนในลาว, ไทย ฯลฯ ลงไปถึงหมู่เกาะต่างๆ ของอุษาคเนย์

นอกจากกลองทองแล้ว ยังมีร่องรอยอื่นๆ อีกมากที่เป็นแบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เชื่อมโยงแสดงความเป็นเครือญาติกัน เช่น ขวานหิน, ภาชนะดินเผา, ขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ ฯลฯ

กําเนิดแม่น้ำโขง-ชี-มูล-หนองหาน

กําเนิดภูมิประเทศในอีสาน เช่น น้ำโขง น้ำชี น้ำมูล หนองหาน ฯลฯ มีคําบอกเล่าเป็นนิทานอุรังคธาตุ (หรือตํานานพระธาตุพนม) พรรณนากําเนิดของแม่น้ำสําาคัญๆ โดยเฉพาะแม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี ว่าเป็นการกระทําาของพวกนาค

นิทานเรื่องนี้ พยายามจะบอกว่าในยุคดึกดําบรรพ์นานมาแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่งเคลื่อนย้ายมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแม่น้ำโขง ผ่านลําน้ำอูเข้าไปอยู่สองฝั่งโขงบริเวณที่เป็นประเทศลาวและภาคเหนือกับภาคอีสานของไทย

นาคในนิทานเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม.

ส่วนหนองแสอันเป็นถิ่นที่อยู่ของนาคคือทะเลสาบเตียนฉือ ที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน เป็นแหล่งผลิตกลองทองมโหระทึก สําาริดยุคแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์

[มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ 2 เล่ม คือ. (1) ศรีศักร วัลลิโภดม และสุจิตต์ วงษ์เทศ ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม สํานักพิมพ์มติชน 2536, (2) สุจิตต์ วงษ์เทศ คนไทยอยู่ที่นี่  ที่อุษาคเนย์ จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสําานักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2537]

มีความโดยย่อต่อไปนี้

นิทาน

มีนาค 2 ตัว เป็นมิตรสหายกันอยู่ในหนองแส ตัวหนึ่งชื่อพินทโยนกวตินาค เป็นใหญ่อยู่หัวหนอง อีกตัวหนึ่งชื่อธนะมูลนาค เป็นใหญ่อยู่ท้ายหนองกับด้วยชีวายนาคผู้หลาน.

นาคทั้งสองคือพินทโยนกวตินาคกับธนะมูลนาคให้ความสัตย์ไว้ซึ่งกันและกันว่า ถ้าหากมีสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งมาตกที่หัวหนองก็ดี ตกที่ท้ายหนองก็ดี เราทั้งสองรักกันด้วยอาหารการเลี้ยงชีวิต เราทั้งสองจงเอาเนื้อสัตว์นั้นๆ มาแบ่งปันแก่กันเพื่อเลี้ยงชีวิต. แล้วตั้งชีวายนาคผู้เป็นหลานให้เป็นสักขี. เมื่อนาคทั้งสองให้สัตย์ปฏิญาณแก่กันดังนั้น แล้วต่างก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตน.

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ยังมีช้างสารตัวหนึ่งตกลงที่ท้ายหนอง. ธนะมูลนาคจึงเอาเนื้อสัตว์นั้นมาแบ่งปันออกเป็น 2 ส่วน เอาไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภค.

อยู่ต่อมาอีกสองสามวันมีเม่นตัวหนึ่งมาตกลงที่หัวหนอง พินทโยนกวตินาคก็เอาเนื้อสัตว์มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เอาไปให้ธนะมูลนาคส่วนหนึ่ง. ธนะมูลนาคบริโภคไม่พออิ่ม แต่บังเอิญมองไปเห็นขนเม่นยาวแค่ศอกก็บังเกิดมีความโกรธขึ้น นําาเอาขนเม่นไปให้ชีวายนาคผู้เป็นหลานดู แล้วกล่าวว่าคําาสัตย์ปฏิญาณของเรากับพินทโยนกวตินาคจะขาดจากกันเสียแล้ว. เมื่อเราได้ช้างสารมาเป็นอาหารครั้งนั้นเราก็เอาเนื้อนั้นมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่งไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง เราเอาไว้บริโภคส่วนหนึ่งก็พออิ่มถึงแม้ขนก็พอปานนั้น. แต่เราเห็นว่าเม่นนี้จะใหญ่โตกว่าช้างสารนัก เพราะขนก็โตยาวเป็นศอก เหตุใดพินทโยนกวตินาคจึงให้เนื้อแก่เราน้อยเช่นนี้ เราบริโภคก็ไม่อิ่ม.

ตั้งแต่นั้นมา นาคทั้งสองก็เกิดทะเลาะวิวาทกัดกันขึ้นในหนองเป็นเหตุให้น้ำขุ่นมัวไปสิ้นทั้งหนอง สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในหนองนั้นตายกันสิ้น. เมื่อพระอาทิตย์ทรงทราบ จึงใช้ให้วิสุกรรมเทวบุตรลงมาขับไล่นาคทั้งสองให้ออกไปเสียจากหนองนั้น. นาคทั้งสองก็วัดเหวี่ยงกัดกันหนีออกจากหนองแสไปด้วยอก ดินก็ลึกเป็นคลอง.

ชีวายนาคเห็นดังนั้นจึงได้คุ้ยควักให้เป็นแม่น้ำออกไปตามคลองอกแห่งนาคทั้งสอง.แม่น้ำนั้นจึงเรียกชื่อว่าอุรังคนที หรือแม่น้ำอู. ส่วนพินทโยนกวตินาคได้คุ้ยควักให้เป็นแม่น้ำ

ออกไปทางเมืองเชียงใหม่เรียกชื่อว่าแม่น้ำพิง และเมืองโยนกวตินคร ตามชื่อนาคตัวนั้น.

ส่วนผียักษ์ผีเปรตเห็นสัตว์ทั้งหลายในน้ำหนองแสตายมากนัก เป็นต้นว่า จระเข้, เหี้ย,

เต่า จึงพากันมาชุมนุมกันอยู่ในที่นั้น. พวกนาคก็พากันหนีไปอยู่ที่อื่น เช่นปัพพารนาคคุ้ยควักหนีไปอยู่ที่ภูเขาหลวง, ทําาให้พญาเงือกตัวหนึ่งกับพญางูตัวหนึ่งไม่ต้องการอยู่ปะปนด้วย จึงคุ้ยควักออกไปเป็นแม่น้ำอันหนึ่งมีนามว่าแม่น้ำงึม หรือแม่น้ำเงือกงู.

ฝ่ายธนะมูลนาคหนีไปอยู่ที่ใต้ดอยกัปปนคีรีคือภูกําพร้า ซึ่งประดิษฐานพระธาตุพนม พวกนาคที่กลัวผียิ่งกว่านาคทั้งหลายก็พากันไปขออยู่กับธนะมูลนาค แล้วหนีไปจนถึงน้ำสมุทรจึงเรียกว่าน้ำลี่ผี ต่อมาน้ำที่อยู่ของธนะมูลนาคเกิดแห้งแล้ง ธนะมูลนาคจึงคุ้ยควักเป็น

แม่น้ำออกไปถึงเมืองกุรุนทนคร, แม่น้ำนั้นจึงชื่อว่าแม่น้ำมูลนที หรือแม่น้ำมูล ตามชื่อนาค.

ข้างชีวายนาคก็คุ้ยควักจากแม่น้ำมูลออกเป็นแม่น้ำ. อ้อมเมืองพระยาสมุทรอุทกที่กินเมืองหนองหานหลวง พร้อมทั้งเมืองขุนขอมนครหนองหานน้อย ตลอดขึ้นไปถึงเมืองกุรุนทนคร. แต่นั้นมาแม่น้ำนั้นจึงได้ชื่อว่าแม่น้ำชีวายนที หรือแม่น้ำชี.

[ปรับปรุงโดยสรุปจากหนังสือ อุรังคธาตุ (ตํานานพระธาตุพนม) กรมศิลปากร พิมพ์เนื่องในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง วรรณกรรมสองฝั่งโขง จ. ขอนแก่น เมื่อ พ.ศ. 2537, หน้า 90-92.]

 

ความหมายของชื่อ โขง-ชี-มูล-หนองหาน

น้ำโขง

แม่น้ำโขงเป็นคําเรียกอย่างภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่คนพื้นเมืองในวัฒนธรรมลาวเรียก น้ำ (แม่) ของ

คําว่าของ มีรากจากภาษามอญว่า โคลฺ้ง พวกไทย-ลาวรับมาใช้แล้วเพี้ยนเป็น คลอง แปลว่าทางคมนาคม เช่น แม่น้ำลําาคลอง

แต่ในวัฒนธรรมลาวไม่ออกเสียงควบกล้ำ เลยเรียกของ แล้วคนทางภาคกลางออกเสียงเป็นโขง

ในคําบอกเล่าเก่าแก่และในกาพย์กลอนโคลงสองฝั่งโขง เรียกแม่น้ำโขงว่า น้ำแม่กาหลง มีในมหากาพย์ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง และในโคลงพระลอ เพราะกลายมาจากชื่อเก้าลวง หมายถึงนาคเก้าตัวพิทักษ์น้ำโขง [ปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม แยกเป็นแควสายเล็กๆ 9 สาย เหมือนมังกร 9 ตัว ภาษาปากชาวเวียดนาม เรียก เกาหลง, เกาลุ้ง แล้วชาวลาวเรียกเป็น เก้าลวง เพี้ยนเป็น กาหลง]

บริเวณสองฝั่งโขงหลายแห่ง เช่น หลวงพระบาง อัตตะปือ ฯลฯ เป็นแหล่งทองคําธรรมชาติมาแต่ดั้งเดิมดึกดําบรรพ์ มีกิจกรรมร่อนทองคําธรรมชาติสืบจนทุกวันนี้ ถ้าชื่อ สุวรรณภูมิในคัมภีร์อินเดีย-ลังกา หมายถึงทองคํา บริเวณสองฝั่งโขงก็เป็นแหล่งทองคําสําคัญของสุวรรณภูมิได้แห่งหนึ่ง

มีคําบอกเล่าอยู่ในพงศาวดารล้านช้างตอนต้นเรื่อง ว่ามีพ่อค้าชื่อจันทพานิช ถ่อเรือทวนน้ำโขงจากเมืองเวียงจันไปค้าขายที่เชียงดง เชียงทอง (หลวงพระบาง) มีทองคําติดถ่อจํานวนมาก

 

น้ำชี

คําเดิมว่า ซี หรือ ซี่ หมายถึง เจาะ ไช แทง เช่น เหล็กแหลมใช้เจาะไชให้เป็นร่องเป็นรู เรียกเหล็กซีหรือเหล็กซี่ มีตัวอย่างในพงศาวดารล้านช้างตอนกําเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าปุง มีความตอนหนึ่งว่า

“ยามนั้น ปู่ลางเชิงจึงเผาเหล็กซีแดงชีหมากน้ำนั้น…” และ “ฝูงออกมาทางฮูชีนั้นเป็นข้า…”

คนแต่ก่อนเรียก น้ำ (แม่) ซี หมายถึง แม่น้ำที่เกิดจากการเจาะ ไช แทง ของอํานาจเหนือธรรมชาติ เช่น นาค

 

น้ำมูล

คําเดิมว่า มูน หมายถึง มาก, ล้น, มั่งคั่ง ฯลฯ มีใช้ในชีวิตประจําวันว่ามั่งมูน และมีในกาพย์กลอนโคลงสังข์ศิลป์ชัยว่า “น้ำสมุทรมูนมากล้น ลืบแผ่นธรณี”

คนแต่ก่อนเรียก น้ำ (แม่) มูน หมายถึงแม่น้ำใหญ่ มีน้ำมากมูนล้นฝั่ง ภายหลังมีนักบวชบัณฑิตแต่งแปลงอย่างบาลีว่ามูล เป็นมูลนที เลยเขียนว่าแม่น้ำมูล

 

หนองหาน, หนองหาร

หนอง หมายถึงแอ่งน้ำ มีในภาษาปากชาวบ้านว่าหนองน้ำ

ละหาน, ละหาร หมายถึงที่ลุ่มเก็บน้ำไว้จํานวนมาก บางทีเรียกลําาห้วยต้นน้ำลําธารว่า ห้วยละหาน แล้วกร่อนเหลือหานคําเดียว

ยืมจากคําเขมรว่า รหาล (อ่านว่า รัว-ฮาล), ลฺหาล (ละหาล) แปลว่า ห้วงน้ำเวิ้งว้าง

 

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image