2 ปม คมแหลม ปมไวรัส ปมการเมือง ระคน อยู่ปนกัน

2 ปม คมแหลม ปมไวรัส ปมการเมือง ระคน อยู่ปนกัน

2 ปม คมแหลม ปมไวรัส ปมการเมือง ระคน อยู่ปนกัน

สังคมไทยมีประสบการณ์กับการประกาศและบังคับใช้พระราชบัญญัติการบริหารราชการฉุกเฉินไม่มากนักอย่างน้อยที่เด่นชัดก็มี 2 กรณี

1 คือ เมื่อเดือนมกราคม 2548 และ 1 คือ เมื่อเดือนเมษายน 2553

ถามว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเดือนมกราคม 2548 เป็น
อย่างไร

Advertisement

ตอบได้ แต่ไม่น่าจะเป็นเอกภาพนัก

เพราะจากที่ประกาศและบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม 2548 กระทั่งในเดือนเมษายน 2553 ก็ยังประกาศและบังคับใช้อยู่

ต่อสถานการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 อาจถือว่าจบ

Advertisement

แต่เมื่อการจบส่วนหนึ่งได้กลายเป็นคดีความ ยืดเยื้อ เรื้อรัง และอีกส่วนหนึ่งได้กลายเป็นบาดแผลที่ยังค้างคาอยู่ในทางความคิด ความรู้สึก

จึงยากจะได้คำตอบว่าดีหรือไม่ดี

ต่อการประกาศและบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2563

ถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ “ใหม่”

เพราะมิได้เป็นสถานการณ์ทางการทหารเหมือนเมื่อเดือนมกราคม 2548 และมิได้เป็นสถานการณ์การเมืองเหมือนเมื่อเดือนเมษายน 2553

เนื่องจากเป็นสถานการณ์ “ไวรัส”

นี่ย่อมเป็นประสบการณ์ใหม่ ไม่ว่าจะมองจากด้านของ “ฝ่ายบริหาร” ไม่ว่าจะมองจากด้านของ “ประชาชน”

ทั้งยังเป็นเรื่อง “ทั่วประเทศ” มิได้เป็น “เฉพาะส่วน”

จากเดือนมีนาคมมายังเดือนเมษายน มาตรการต่างๆ เพิ่มทวีความเข้มมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เท่ากับเป็นคำตอบว่าทุกอย่างยังไม่เรียบร้อย

เท่ากับเป็นคำตอบที่มิได้เป็นคำตอบ

แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผลสุดท้ายของการต่อสู้กับไวรัสจะลงเอยอย่างไร แต่ตลอด 2 รายทางก็พอจะเป็นเค้าลางให้เห็น

เป็นเค้าลางเหมือนกับที่ “ภาคใต้” และเหมือนกรณี “เสื้อแดง”

เพราะสถานการณ์ที่ภาคใต้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจบ การก่อความรุนแรงยังดำเนินอยู่ ทั้งยังทำท่าว่าอาจจะขยายออกนอกพื้นที่

ขณะเดียวกัน ลักษณะ “ร่วม” อย่างหนึ่งคือปัญหา “การเมือง”

เป็นปัญหาการเมืองเหมือนที่กลายเป็น “บาดแผล” ในทางความคิด ในทางสังคมจากที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่จากสถานการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

ไม่เชื่อลองไปถาม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ไม่เชื่อลองไปถาม นายจตุพร พรหมพันธุ์

สถานการณ์จากเดือนมีนาคมมายังเดือนเมษายนก็อีหรอบเดียวกัน ยังไม่มีคำตอบในเรื่องของไวรัสได้อย่างเป็นรูปธรรม

กระนั้น ตะกอนนอนก้นทางการเมืองก็ยังปรากฏอยู่

ปัญหาของรัฐบาล ปัญหาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงมิได้อยู่ที่ปัญหาของไวรัสอย่างด้านเดียว หากแต่อยู่ที่ปัญหาของการเมืองด้วย

นี่เป็นเรื่องที่ยากจะปฏิเสธ

เพราะปมของปัญหาตั้งต้นมาก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และตั้งต่อมาก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ และเรื้อรัง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image