ฐากร-กสทช. โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม

หากไม่มีโควิด-19 อาละวาดไปทั่วโลก ณ วันนี้ คนที่ชื่อ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ คงจะพ้นเก้าอี้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปตั้งแต่ 18 พฤษภาคมแล้ว

แต่เมื่อ 24 เมษายน พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการ กสทช. มีคำสั่งให้ ฐากรŽ อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึง 30 มิถุนายน เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ โดยระบุเหตุผลว่าด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ต้องเร่งป้องกัน และบรรเทาผลกระทบ หากเปลี่ยนแปลงหัวหน้าหน่วยงานขณะนี้อาจขาดความต่อเนื่อง

ฐากรŽ จึงยังทำงานในตำแหน่งเลขาฯ กสทช.อีก 1 เดือน ในภาวะวิกฤตโควิด-19

โดยเร่งหาทางเยียวยาประชาชน อาทิ ให้โทรฟรี 100 นาที 45 วัน และเน็ต 10 GB ฟรี 30 วัน ในภาวะที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้าน เพื่อลดภาระการโทรพูดคุยกับญาติ รวมทั้งสนับสนุนการทำงานที่บ้าน

Advertisement

นอกจากนี้ ยังผลักดันให้บอร์ด กสทช.Ž อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยเกลี่ยจากงบประมาณปี 2563 ของสำนักงาน กสทช. รวมกับเงินกอง กทปส. สนับสนุนโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อต่อสู้กับโควิด-19

นั่นเป็นงานเฉพาะหน้าก่อนที่ ฐากรŽ จะพ้นตำแหน่ง

แต่หากย้อนไปตั้งแต่ ฐากรŽ มานั่งเลขาฯ กสทช.คนแรก ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน จะเห็นผลงานเป็นที่ประจักษ์และก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมาย

Advertisement

อย่างเรื่อง 3G เป็นการประมูลคลื่นครั้งแรกที่เปลี่ยนจากระบบสัมปทาน มีปัญหาคาราคาซัง ฟ้องกันอีนุงตุงนัง แต่ ฐากรŽ เป็นหัวหอกเข้าไปเคลียร์จนประมูลได้สำเร็จ เมื่อปลายปี 2555 ได้เงินเข้ารัฐเป็นกอบเป็นกำกว่า 4.1 หมื่นล้านบาท

ต่อเนื่องมา 4G เมื่อปลายปี 2558 ก็สร้างประวัติศาสตร์การประมูลอีกครั้ง ที่แต่ละค่ายแข่งเสนอราคากันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน ข้ามวันข้ามคืน บางคลื่นใช้เวลาสู้กันนานถึง 4 วัน 5 คืน รวมเงินประมูลสูงกว่า 2.32 แสนล้านบาท

ล่าสุด 5G ที่เพิ่งประมูลไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้เงินเข้ารัฐกว่า 1 แสนล้านบาท

นั่นเป็นแค่หนังตัวอย่างผลงานของ ฐากรŽ ในช่วงที่ผ่านมา

แต่มีอีกหนึ่งเรื่องที่ ฐากรŽ ฝากไว้ให้สังคมไทยได้ฉุกคิด และเตรียมรับมือกับโลกยุคใหม่

ฐากรŽ ร่วมกับ ดร.ชุติพงศ์ กี่สุขพันธ์ ผอ.ส่วนวิเคราะห์นโยบายเชิงเศรษฐศาสตร์ สำนักงาน กสทช. เขียนบทความเกี่ยวกับอิทธิพลและความสำคัญของการบริการเหนือโครงข่ายโทรคมนาคม หรือ OTT (Over-The-Top) เผยแพร่ใน มติชนŽ เมื่อ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดได้ที่ https://www.matichon.co.th/politics/news_2170293)

ขอยกบางส่วน บางตอนมาถ่ายทอดต่อ โดยเริ่มต้นด้วยคำกล่าวยุคกรีกโบราณที่ว่า Seeing is believingŽ นั่นคือ เมื่อเห็นแล้วถึงเชื่อŽ แต่ในโลกดิจิทัล กลับเปลี่ยนเป็น Believing is seeingŽ คือ เมื่อเชื่อแล้วถึงจะเห็นŽ

ด้วย OTT ในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน อัลกอริธึ่มจะวิเคราะห์บิ๊ก ดาต้าจากผู้ใช้งานในโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งข้อความ ข่าว รูปภาพ วิดีโอ และความเห็นต่างๆ ที่แต่ละคนเสพและตอบโต้กัน จะรู้ว่าแต่ละคนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และจะสนองตอบให้ตรงความต้องการมาให้เห็นเรื่อยๆ จนสิ่งที่เราเชื่อ และสิ่งที่เราชอบ กลายเป็นความจริงไป

เมื่อผ่านวิกฤตโควิด-19 วิถีชีวิตของคน กิจกรรมเศรษฐกิจ และการเมืองจะเปลี่ยนไป เราจะเข้าสู่สังคม 5G อย่างเต็มรูปแบบเร็วขึ้น ด้วยความเร็วกว่า 4G ถึง 100 เท่า

ในยุค 5G จะทำให้การใช้บริการ OTT เติบโตอย่างก้าวกระโดด และจะมีอิทธิพลมากในการชี้นำความคิดทางการเมือง อาจถึงขั้นกำหนดคนที่จะมาเป็นนายกฯได้

บทความดังกล่าวสรุปว่า ถ้าไม่รีบตั้งต้นสตาร์ตอัพ OTT ของไทย ก็จะเจอ OTT ต่างชาติเข้าครอบงำ ออกแบบการเมือง และกลืนกินเศรษฐกิจไทยไปเรื่อยๆŽ

เป็นบทความที่ ฐากรŽ ฝากไว้เป็นการบ้านให้สังคมไทยตระหนัก และหาทางรับมือ

แม้หลัง 30 มิถุนายน ฐากรŽ จะพ้นเลขาฯ กสทช.ไปแล้วแต่เชื่อว่าอีกไม่นาน คงได้เห็น ฐากรŽ ในบทบาทใหม่ที่จะช่วยผลักดันผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านอื่นๆ ต่อไปแน่นอน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image