สุจิตต์ วงษ์เทศ : กลุ่มชาติพันธุ์ถูกลดทอนความเป็นคน เพราะประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย

ซาไกที่เมืองพัทลุง ครั้ง ร.5 (ภาพจากหอจดหมายตุแห่งชาติ)

ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย ครอบงำกล่อมเกลาคนไทยให้เชื่อว่าตนเป็นเชื้อชาติไทยบริสุทธิ์มาตั้งแต่บรรพชนกรุงสุโขทัยราชธานีแห่งแรก
คนกลุ่มอื่นไม่ไทย ยิ่งเงาะป่าซาไกเซมังยิ่งไม่ใช่คนด้วยซ้ำไป จึงพากันเหยียดชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน ดังกรณีเกณฑ์ชนเผ่าเซมังไปแสดงเป็นของแปลกประหลาด (ดูในบทนำ ข่าวสด ที่ยกมาต่อท้ายนี้)

ซาไกที่เมืองพัทลุง ครั้ง ร.5 (ภาพจากหอจดหมายตุแห่งชาติ)
ซาไกที่เมืองพัทลุง ครั้ง ร.5 (ภาพจากหอจดหมายตุแห่งชาติ)

ไทยต้องแก้ไข โดยเริ่มที่ปรับเปลี่ยนประวัติศาสตร์ไทย หากไม่เริ่มตรงนี้ อย่างอื่นก็แก้ไม่ตก
คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน? แต่คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ เป็นเครือญาติชาติพันธุ์ร่วมกับคนอุษาคเนย์
แต่ในดินแดนไทยเหนือจรดใต้มีภูมิประเทศต่างกัน, คนหลายเผ่าพันธุ์มีที่มาต่างกัน ดังนั้นที่มาของคนแต่ละกลุ่มต้องขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ด้วย จะเหมารวมไม่ได้
เช่น คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเป็นมาต่างจากคนหาดใหญ่ สงขลา และต่างจากคนอื่นๆ ที่อยู่เหนือขึ้นไป ในภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน

 

คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน

ลูกผสมร้อยพ่อพันแม่ หลายพันปีมาแล้ว
ไทยมีพัฒนาการเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนในอุษาคเนย์ ลูกผสมร้อยพ่อพันแม่ ตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว
เพราะผู้คนและดินแดนที่เป็นประเทศไทย ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนและดินแดนที่เป็นอาเซียนอย่างแยกออกจากกันมิได้
ดังนั้น ในทางสังคมและวัฒนธรรม คนไทยมีบรรพชนร่วมกับคนอาเซียน หรือบรรพชนคนไทยและอาเซียนเป็นเครือญาติกัน จึงมีความหลากหลายที่คล้ายคลึงกัน
[อาเซียนดึกดําบรรพ์ นานนับหมื่นๆ ปีมาแล้ว เคยเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันทั้งหมด (รวมหมู่เกาะ) ต่อมาน้ำแข็งละลาย ทําให้น้ำทะเลสมุทรสูงขึ้นจนท่วมแผ่นดินบางส่วนเป็นกลุ่มเกาะต่างๆ ดังเห็นทุกวันนี้]

Advertisement
แผนที่แสดงบริเวณสุวรรณภูมิ บนภาคพื้นทวีปของอุษาคเนย์ มีสองเส้นทางคมนาคมต้องพักแวะขนสินค้าข้ามคาบสมุทรบริเวณที่เป็นประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์และสังคมวัฒนธรรมในไทยและสุวรรณภูมิ (บน) เส้นมีลูกศรข้างบน แสดงทิศทางเคลื่อนย้ายไปมาของกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์จากตอนใต้ของจีน สู่ลุ่มน้ำโขง ลงเจ้าพระยา (ซ้าย) เส้นประทางซ้าย แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลจากตะวันตกไปตะวันออก (ขวา) เส้นประทางขวา แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลเลียบชายฝั่งจากตะวันออกไปตะวันตก
แผนที่แสดงบริเวณสุวรรณภูมิ บนภาคพื้นทวีปของอุษาคเนย์ มีสองเส้นทางคมนาคมต้องพักแวะขนสินค้าข้ามคาบสมุทรบริเวณที่เป็นประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์และสังคมวัฒนธรรมในไทยและสุวรรณภูมิ (บน) เส้นมีลูกศรข้างบน แสดงทิศทางเคลื่อนย้ายไปมาของกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์จากตอนใต้ของจีน สู่ลุ่มน้ำโขง ลงเจ้าพระยา (ซ้าย) เส้นประทางซ้าย แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลจากตะวันตกไปตะวันออก (ขวา) เส้นประทางขวา แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลเลียบชายฝั่งจากตะวันออกไปตะวันตก

กําเนิดมนุษย์จากน้ำเต้า

ไทยและอาเซียนมีบรรพชนเป็นเครือญาติกัน โดยเฉพาะบริเวณภาคพื้นทวีปตั้งแต่ลุ่มน้ำโขงถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา
มีร่องรอยอยู่ในความทรงจําเก่าแก่มากราว 2,500 ปีมาแล้ว เรื่องกําเนิดมนุษย์จากน้ำเต้า มี 5 จําาพวกโดยไม่ระบุว่าเป็นใครบ้าง? แต่อาจจําแนกตามตระกูลภาษาพูดของคนในอาเซียน ดังนี้
1. มอญ-เขมร, 2. ชวา-มลายู, 3. จีน-ทิเบต, 4. ม้ง-เมี่ยน (เย้า), 5. ไท-กะได (ไทย-ลาว-เวียดนาม)
ความเชื่อร่วมกันเรื่องกําเนิดมนุษย์จากน้ำเต้า แสดงออกโดยทําาภาชนะดินเผาใส่กระดูก
คนตายเป็นรูปน้ำเต้ามีคอคอดและก้นกลมมน นักโบราณคดี (กรมศิลปากร) ขุดพบจํานวนมากบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ในอีสาน
น้ำเต้า เป็นสัญลักษณ์มดลูกของแม่ที่ให้กําเนิดคน ขณะเดียวกันก็เหมือนครรภ์มารดาที่มีลูกอยู่หลายคนในท้อง ล้วนเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน

บรรพชนคนไทยในนิทานเกิดจากน้ำเต้าปุงเหมือนคนอื่นๆ เพราะมนุษย์มีกำเนิดจากน้ำเต้าปุงเป็น พี่น้องท้องเดียวกัน เป็นความเชื่อมานานหลายพันปีมาแล้ว พบหลักฐานจำนวนมากบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ในอีสาน เป็นภาชนะดินเผาใส่กระดูกคนตายเป็นรูปน้ำเต้ามีคอคอดและก้นกลมมน ภาชนะดินเผามีฝา รูปร่างเหมือนน้ำเต้า มีคอคอด บรรจุกระดูกมนุษย์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว พบบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ อ. เกษตรวิสัย จ. ร้อยเอ็ด [ภาพจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมไทย กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2557 หน้า 44]
บรรพชนคนไทยในนิทานเกิดจากน้ำเต้าปุงเหมือนคนอื่นๆ เพราะมนุษย์มีกำเนิดจากน้ำเต้าปุงเป็น พี่น้องท้องเดียวกัน เป็นความเชื่อมานานหลายพันปีมาแล้ว พบหลักฐานจำนวนมากบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ในอีสาน เป็นภาชนะดินเผาใส่กระดูกคนตายเป็นรูปน้ำเต้ามีคอคอดและก้นกลมมน
ภาชนะดินเผามีฝา รูปร่างเหมือนน้ำเต้า มีคอคอด บรรจุกระดูกมนุษย์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว พบบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ อ. เกษตรวิสัย จ. ร้อยเอ็ด [ภาพจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมไทย กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2557 หน้า 44]
อาเซียน (หรืออุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ยุคดั้งเดิม มีขอบเขตครอบคลุมบริเวณกว้างขวางกว่าปัจจุบัน โดยแบ่งกว้างๆ ได้ 2 ส่วน คือ แผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะ แต่ราวล้านๆ ปีมาแล้ว แผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเป็นแผ่นดินเดียวกัน ยุคนั้นคนและสัตว์เคลื่อนย้ายถ่ายเทไปมาหากันทั่วแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ [ปรับปรุงจากหนังสือ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ ดี.จี.อี. ฮอลล์ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ) โครงการตําาราฯ พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549 หน้า 2]
อาเซียน (หรืออุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ยุคดั้งเดิม มีขอบเขตครอบคลุมบริเวณกว้างขวางกว่าปัจจุบัน โดยแบ่งกว้างๆ ได้ 2 ส่วน คือ แผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะ แต่ราวล้านๆ ปีมาแล้ว แผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเป็นแผ่นดินเดียวกัน ยุคนั้นคนและสัตว์เคลื่อนย้ายถ่ายเทไปมาหากันทั่วแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
[ปรับปรุงจากหนังสือ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ ดี.จี.อี. ฮอลล์ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ) โครงการตําาราฯ พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549 หน้า 2]

จัดแสดงชาติพันธุ์

คำเตือนจากกรรมการสิทธิมนุษยชน เรื่องที่มีการนำกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าเซมัง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มานั่งประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวภายในห้างสรรพสินค้า
เป็นเรื่องที่น่ารับฟังอย่างยิ่ง และสะท้อนความเอาใจใส่ของคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดนี้ในหลายแง่มุมในด้านสิทธิมนุษยชน
เพราะหลายๆ ครั้งที่คนในสังคมคิดในมุมหนึ่ง (กระตุ้นการท่องเที่ยว-ธุรกิจ) อาจจะลืมคิดในมุมสำคัญ ว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
กรณีแบบนี้เคยเกิดมาแล้วกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ภาคเหนือ ช่วงที่ต้องการบูมการท่องเที่ยว
กลับกลายเป็นวิธีกระตุ้นให้คนไปดูของแปลก แทนที่จะเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ควรได้รับการเคารพ
ในการจัดประชาสัมพันธ์หรืออีเวนต์กระตุ้นการท่องเที่ยวและธุรกิจนั้น บางงานเคยนำสัตว์ป่ามาแสดงในห้างสรรพสินค้า เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอยู่แล้ว
ดังนั้นเมื่อเป็นคนจึงยิ่งเสี่ยงต่อการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ขึ้นไปอีก
วิธีการที่กรรมการสิทธิฯ แนะนำเวลาจัดการประชาสัมพันธ์แนวนี้ คือให้ใช้การแสดงภาพถ่ายความเป็นอยู่ หรือการจัดแสดงหุ่นจำลอง หรือหุ่นขี้ผึ้ง อาจมีข้าวของเครื่องใช้อุปกรณ์ล่าสัตว์ ที่ชนเผ่าเซมังใช้ดำรงชีวิต เป็นต้น

หากต้องการดึงดูดความสนใจมากกว่าเดิม ยังมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้ได้ในทางบวก
เพียงแต่การคิดนั้นต้องมีจุดเริ่มต้นที่การเคารพกันอย่างเท่าเทียม
นอกเหนือจากมุมมองในด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว การเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติพันธุ์เป็นมุมมองหนึ่งที่น่าส่งเสริมในระบบการศึกษา
แทนที่จะพูดถึงความเป็นไทยในกรอบความคิดอันจำกัดและหลายๆ ครั้งคับแคบเกินไป
เนื้อหาของการเรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรมน่าจะต้องเปิดกว้างสู่ความหลากหลายมากขึ้น
ดังที่เคยมีสื่อรายการทีวีเผยแพร่วิถีชีวิตของชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ ในประเทศ เพื่อให้คนในสังคมรู้จักชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่างๆ มากไปกว่าเครื่องแต่งกายในช่วงเทศกาล
เป็นการส่งเสริมการยกย่องในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กัน
(ข่าวสด ฉบับวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 หน้า 2)

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image