สุจิตต์ วงษ์เทศ : อำนาจการเมือง ของภาษาไทย

ภาษาไทย ตามหลักฐานวิชาการว่ามีรากเหง้าจากตระกูลภาษาไต-ไท พบเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว อยู่บริเวณมณฑลกวางสี (ภาคใต้ของจีน) ต่อเนื่องถึงเมืองแถง ที่เดียนเบียนฟู (ภาคเหนือของเวียดนาม)

คนยุคนั้นไม่เรียกตัวเองว่า คนไทย และไม่เรียกภาษาที่พูดว่า ภาษาไทย

ตราบจนปัจจุบันนี้ บริเวณกวางสีกับเมืองแถง ยังมีคนพูดตระกูลภาษาไต-ไท แต่ก็ไม่เรียกภาษาไทย และไม่เรียกตัวเองว่าคนไทย

ตระกูลภาษาไต-ไท เป็น ภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาค เพราะไม่ยุ่งยากซับซ้อน (เมื่อเทียบกับภาคอื่น) ทำให้แพร่กระจายออกไปกว้างขวาง ย่อมมีอำนาจมากทางการเมืองและเศรษฐกิจพร้อมกันไปด้วย โดยเฉพาะตั้งแต่ ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฯลฯ

Advertisement

คนพูดภาษาอื่นในชีวิตประจำวัน เช่น มอญ, เขมร, เจ๊ก, แขก, ม้ง, เมี่ยน, ลาว ฯลฯ ต้องใช้ภาษาไต-ไท และคุ้นกับวัฒนธรรมไต-ไท กระทั่งราวหลัง พ.ศ. 1700 คนหลายเผ่าพันธุ์บริเวณ

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง รวมกันเรียกตัวเองด้วยชื่อสมมุติขึ้นใหม่ว่า ไทย, คนไทย แล้วดัดแปลงอักษรเขมรกับอักษรมอญเป็น อักษรไทย

อักษรไทย คืออักษรเขมรกับอักษรมอญที่ถูกทำให้ง่าย แต่ยิ่งง่ายคืออักขรวิธีง่ายที่สุดในอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ (จำจากข้อเขียนของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังพิมพ์เป็นเล่มโดยสำนักพิมพ์มติชน จะเสร็จเร็วๆ นี้)

Advertisement

อักษรไทยและอักขรวิธีเก่าสุด ใช้เขียนบนสมุดข่อย ยุคอยุธยา (จำจากงานค้นคว้าของ จิตร ภูมิศักดิ์) หลังจากนั้นจึงมีผู้ปรับปรุงเพื่อใช้สลักหิน เช่น รัฐสุโขทัย (มีเค้าอยู่ในพงศาวดารเหนือ)

แต่ภาษาไทย ถูกผู้พิทักษ์ภาษาไทยสถาปนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยอิงนิยายเรื่องประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image