ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินและการคลัง ในระบบสุขภาพของประเทศ โดย นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์

แฟ้มภาพ

ผมได้อ่านบทความของ คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา เรื่อง ผู้ป่วยล้น รพ. กำลังคนสุขภาพก็งานล้นมือ กระจายอำนาจเป็นคำตอบได้หรือไม่?Ž กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ซึ่งลงตีพิมพ์ในมติชนรายวันเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา เป็นบทความที่ดีมาก เห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นกระจายอำนาจ…ซึ่งจะช่วยเพิ่มหน่วยบริการหรือเงินทุนใหม่ๆ เข้ามาในระบบ อย่างกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งบางแห่งมีเงินและต้องการลงโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาล ประชาชนก็จะได้ รพ.ของรัฐใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ประเด็นที่สองที่อยากจะเสริมคุณสุรีรัตน์ก็คือ ”ต้องย้ายคลินิกปฐมภูมิ (PCU) ออกจาก รพ.รัฐขนาดใหญ่Ž” เช่น โรงพยาบาลศูนย์-โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ทั้ง 96 แห่ง ให้อยู่เฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือเฉพาะในคลินิกปฐมภูมิที่ถูกออกแบบโครงสร้าง เงิน-คน-ของ เพื่อการเป็นคลินิกปฐมภูมิจริงๆ …ต้นทุนใน รพศ./รพท..แพงมาก (600-1,200 บาท/ผู้ป่วยนอก 1ครั้ง) ขณะที่ค่าเฉลี่ยประเทศของกลุ่มประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ขณะนี้อยู่ที่ไม่ถึง 300 บาท/ผู้ป่วยนอก 1 ครั้ง เก็บพื้นที่ของ รพศ./รพท. เอาไว้รักษาโรคยากๆ …ใช้ของให้ถูกประเภทจะเหมาะสมกว่า

….คำถามมีอยู่ว่า….ย้ายแล้วไปไหน ผู้เขียนขอเท้าความถึงที่มาของปัญหาและแนวทางแก้ไขแก่ผู้อ่านโดยทั่วไปที่อาจจะไม่ใช่คนวงในของระบบสุขภาพจะได้เข้าใจสาระจากบทความด้วยดังนี้

ก่อนปี 2545 คนไทย 60 กว่าล้านคนไปหาหมอปีละประมาณ 55 ล้านครั้ง ประมาณ 0.9 ครั้ง/คน/ปี เมื่อปี 2557 คนไทยไปหาหมอ 240 ล้านครั้ง หรือประมาณ 3.6 ครั้ง/คน/ปี ตัวจุดชนวนŽ คือโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูป (Reform) การแพทย์การสาธารณสุขครั้งสำคัญของประเทศ ภาพสุดท้ายคือ 80% ของค่าใช้จ่ายสุขภาพรายหัวประชากรของไทย (Healthcare expenditure per capita) ถูกสนับสนุนโดยรัฐผ่าน 3 กองทุนหลัก…ดังนั้น…โดยคำนิยามศัพท์…ประเทศไทยจึงเป็น รัฐสวัสดิการด้านสุขภาพŽ (Healthcare Welfare State) แบบเต็มตัวเฉกเช่น ไต้หวันและญี่ปุ่น…..การเปลี่ยนแปลงนี้จึงน่าจะเรียกได้ว่าเป็นคลื่นลูกที่ 5 ของวงการแพทย์สาธารณสุขไทย…(คลื่นลูกที่ 1 หมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีต่างๆ นำการแพทย์แผนตะวันตก (Evidence Base Medicine) มายังสยามประเทศและราชสำนักเมื่อ 150-180 ปีที่แล้ว…คลื่นลูกที่ 2 คือการก่อตั้ง รพ.ศิริราช โรงเรียนแพทย์แห่งแรกของสยามเมื่อ 130 ปีที่แล้วและ รพ.ขนาดใหญ่อื่นๆ ในกาลต่อๆ มา…คลื่นลูกที่ 3 คือการที่แพทย์ไทยได้มีโอกาสไปศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนามปีละนับร้อยคนกว่า 10 ปีต่อเนื่องเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ตั้งแต่นั้นมาประเทศไทยจึงเป็น แนวหน้าŽ ของทวีปเอเชียด้าน การผลิตแพทย์เฉพาะทาง…..คลื่นลูกที่ 4 คือการก่อสร้าง รพ.ชุมชนกว่า 800 แห่งและการสร้าง วิถีปฏิบัติŽ กระจายแพทย์ใช้ทุน 3 ปี ภาคบังคับŽ ทำงานในต่างจังหวัดเริ่มเมื่อ 40 กว่าปี) ตั้งแต่ก่อนท่านนายกฯเปรม ต่อเนื่องมาถึงยุคน้าชาติและเรื่อยมาถึงปัจจุบัน คลื่นลูกที่ 1 เป็น การเข้าถึงเทคโนโลยีŽ (Technology penetration) ลูกที่ 2-3 เป็น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้ง คนและสถานที่Ž ลูกที่ 4 เป็น การกระจายŽ ย่อยคลื่นลูกที่ 2-3 ในสเกลที่เล็กลงให้ครบทุกอำเภอ

….คลื่นลูกที่ 5 หรือ UC จึงเป็น การทำให้เข้าถึงŽ โดยเพียงแค่ ขยับŽ การเปลี่ยน เงื่อนไขการจ่ายเงินŽ…. โดยยังคงทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานเดิมของลูกที่ 2-3-4Ž

Advertisement

ต้องยอมรับว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้วส่วนนำการผลักดันคลื่นลูกที่ 5 ตาแหลมŽ และมองเกมขาด โดยเห็นมีของที่ คนสร้างไว้Ž มากกว่า คนจะใช้ได้Ž คลื่นลูกที่ 5 จึงคลอดสำเร็จและเดินได้ดีในช่วงแรกๆ

ช่วงดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์หมดไป หลังจากเปิดดำเนินการประมาณ 5-6 ปี จาก 2545-2550 จำนวนคนเดินเข้า รพ.จาก 50 ล้านครั้งต่อปี เพิ่มเป็น 120 ล้านครั้งต่อปี….กำลังพลและพื้นที่อาคารเท่าๆ เดิม งานเพิ่มกว่า 2 เท่า คนทำงานเท่าเดิม คนใช้ของŽ เริ่มมากกว่า คนสร้างของŽ ระบบเริ่มตึงตัว มีการ เติมเงินŽ จากส่วนกลางในหมวดค่าตอบแทนแต่ได้แค่ประคองเพราะโครงสร้างต่างๆ ยังเหมือนเดิม

จากประวัติศาสตร์ของประเทศอื่นๆ เมื่อประเทศหนึ่งประเทศใดหันเข็มทิศเข้าสู่ …รัฐสวัสดิการด้านสุขภาพแล้วŽ…ไม่มีทางหันหัวเรือกลับได้ แม้ฝ่ายรัฐ ฝ่ายข้าราชการ หรือฝ่ายใดๆ ก็ตามอยากให้หยุด… ทางออกเดียวŽ คือคนในชาติทุกฝ่ายต้องช่วยกันประคับประคองให้ เดินได้ดีŽ และ เดินได้ยาวŽ …โดยไม่เห็นแก่ตัว…

Advertisement

ไต้หวันซึ่งเริ่มโครงการรัฐสวัสดิการก่อนเรากว่า 10 ปี ตอนนี้คนไปหาหมอเฉลี่ย 14.1 ครั้ง/คน/ปี ในญี่ปุ่นตัวเลขก็ไล่ๆ กันมา ของประเทศไทยจาก 0.9 มาเป็น 3.6 ในปีที่ 14 ปลายทางตัวเลข 2 หลักแบบไต้หวันและญี่ปุ่นเมื่อเข้าระยะท้ายของระบบ เป็นสิ่งที่ รัฐŽ ต้องเตรียมตัว ตอนนี้ 240 ล้านครั้งต่อปี หรือวันละ 7 แสนคน อาจจะขึ้นเป็น 500 ล้านครั้งต่อปี หรือวันละ 1.5 ล้านคนก็มีความเป็นไปได้ในอนาคต หรือไม่งั้นก็ ระบบŽ อาจจะ ล่มŽ ก่อน เพราะกำลังพลด้านสุขภาพเดินแถวลาออก

เรื่องคลินิกปฐมภูมิเป็นสิ่งที่น่าศึกษา….ก่อนปี 2545 (ก่อนมี UC) มีคลินิกแพทย์ทั้งประเทศประมาณ 8 พันแห่ง ส่วนใหญ่เปิดเป็น ห้วงเวลาŽ เช่น เช้า-เย็น ตอนนั้นมีแพทย์ทั้งประเทศประมาณ 3 หมื่นคน…..ตอนนี้ 2559 มีแพทย์ 5 หมื่นกว่าคน หรือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในสิบกว่าปีที่ผ่านมา แต่จำนวนคลินิกเท่าๆ เดิม ส่วนเพิ่มเป็นคลินิกผิวพรรณอีกสี่พันแห่ง—-แปลว่าโดยรวม คลินิกชนิด คลาสสิกโมเดลŽ ในบ้านเราที่แพทย์นิยมเปิดกัน 2-3 ทศวรรษก่อน….ค่านิยมแบบแต่ก่อน…หมอคนไหนไม่มีคลินิกส่วนตัว ไม่เท่Ž เริ่มหายไป

เมื่อก่อนคลินิก คลาสสิกโมเดลŽ ห้องแถว 1-2 คูหาหมอทำคนเดียว… มีบทบาทสำคัญมากในระบบสุขภาพ…เพิ่ม การเข้าถึงŽ …โดยไม่เพิ่ม ต้นทุนŽ มากนัก…เก็บกัน 300-400 บาทต่อครั้งก็รักษาโรคพื้นๆ ปวดหัว ตัวร้อน เบาหวาน ความดันได้…ดังนั้นประเทศในกลุ่ม เครือจักรภพŽ (Common Wealth) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) จึงตกลงใจใช้ โครงสร้างเดิมŽ ของ เวชปฏิบัติส่วนตัวŽ ส่วนหนึ่งในการแบ่งรับผู้ป่วยแบบ ประกันกลุ่มŽ ของเขา…หรือเท่ากับ UC หรือประกันสังคมบ้านเรา—แต่ระบบในบ้านเราช่วงหลังออกแบบเอาคลินิกปฐมภูมิไป.. สวมŽ …ไว้ใน รพ.รัฐ หรือเอกชนที่เข้าร่วม ต้องเปิดเต็มเวลา การลงทุนสูง กติกามาก…หมอคลินิกที่มีคนไข้ประจำอยู่แล้วก็ไม่มีใครอยากร่วมโครงการ…จ่ายน้อย…กติกามาก ดังนั้นคนไข้ยิ่งแน่น-ล้นโรงพยาบาลรัฐ…ความสนิทสนมของแพทย์-ผู้ป่วยก็ดูจางๆ ไป

ทดลองคำนวณ…คลินิกหมอเดิมๆ 8 พันแห่ง ถ้าตรวจได้ 30 คนต่อวัน (ซึ่งทำได้แบบเป็นห้วงเวลาเช้า-เย็น) ทั้งระบบเท่ากับ 2 แสนกว่าคนต่อวันหรือเท่ากับหนึ่งในสามของผู้ป่วยนอกทั้งระบบ และยังให้ ประสิทธิภาพ/ต้นทุนŽ ที่น่าจะดีกว่า คลินิกปฐมภูมิใน รพ.รัฐขนาดใหญ่ ให้มองรูปแบบการใช้งานคลินิกปฐมภูมิซึ่งเป็น โรคพื้นๆŽ ให้เป็นการประกอบโรคศิลปะ

ซึ่งจะต้องทำการศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ต่อ ผู้ป่วยได้ประโยชน์ไม่ต้องไปแออัดรอคิว อยู่ใกล้บ้าน ตรวจรักษาโรคพื้นฐานโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประเทศที่พัฒนาแล้ว (ยกเว้นสหรัฐอเมริกา) เขาทำกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ต้องลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคลง….

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์คือ ไม่ควรเอา ค่าใช้จ่ายสุขภาพŽ เกือบๆ ทั้งระบบไปวางไว้บน ระบบภาษีŽ แม้ประเทศที่ร่ำรวยกว่าเราก็ยังไม่ทำกัน ของไทย ประกันสุขภาพแห่งชาติ 168,000 ล้านบาททั้งหมดเป็นภาษี ประกันสังคมประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านต่อปีเป็น ลูกผสมŽ Hybrid ซึ่งเหมือนอารยประเทศอื่นๆ… อันสุดท้ายเป็นกลุ่มข้าราชการ 6 หมื่นล้านบาทเป็นภาษีทั้งหมดซึ่งเงื่อนไขเป็นข้อตกลงกันมาตั้งแต่ก่อนการจ้างงาน

ในทางวิชาการ ธรรมชาติของ ความเฟ้อŽ ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Healthcare Expenditure Inflation)จะสูงกว่าวิ่งแซงความเฟ้อของหมวดอื่นๆ ทั้งหมด ….ในประเทศไทยมีตัวเลขของหลายสำนัก หลายเงื่อนไข แต่ตัวเลขที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะ สมจริงŽ ที่สุดซึ่งได้จากภาคเอกชนเก็บตัวเลขจากประสบการณ์ย้อนหลัง 20 ปีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล คือ 7% ต่อปี ซึ่งสูงกว่า GDP ส่วนเพิ่มเฉลี่ยทั่วไปคือ 2.5-3.5% ความหมายก็คือ จากส่วนเพิ่มรายได้ วันต่อวัน ปีต่อปี ไม่สามารถจะครอบคลุมส่วนเพิ่มของค่ารักษาพยาบาลในอนาคตได้ เว้นแต่ต้องไปเบียดเอาเงินส่วนอื่นๆ มาใช้ เช่น เงินออม สมบัติเก่า หรือเงินเตรียมไว้ไปเที่ยว หรือเงินค่าเล่าเรียนระดับปริญญาของลูก หรือถ้าเป็นระบบใหญ่ของประเทศคือ โยกเงินสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเอามาให้โรงพยาบาล …โดยธรรมชาติแล้วประเทศจึงไม่สามารถวางค่าใช้จ่ายสุขภาพไว้บนฐานภาษีได้ตลอดไป…

ดังนั้น อารยประเทศจึงได้วาง ค่าใช้จ่ายสุขภาพŽ ไว้บนระบบอื่น เช่น กองทุนสำรองยั่งยืน (Mutual Fund) (ตลาดทุนโตโดยเฉลี่ย 8-12% ต่อปี YoY) (ดูเหมือนอันเดียวที่เอาชนะ ความเฟ้อด้านสุขภาพŽ (Healthcare Inflation) ได้คือ ส่วนเพิ่มของตลาดทุนŽ (Capital Gain) —ผู้เขียน)…นักเศรษฐศาสตร์สำนักดังของไทยที่ได้แนะนำไว้บนฐานภาษีและยืนยันแบบนี้มาตลอดน่าจะเป็นกลุ่มที่ อุดมคติŽ มาก

เสียงสะท้อนจาก วงเสวนาŽ ของผู้บริหารที่อยู่ในภาคปฏิบัติการทำจริง และ นักเศรษฐศาสตร์Ž สายภาคปฏิบัติ (Pragmatism) ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้ มองปรากฏการณ์นี้ในประเทศไทยว่าเป็น เรื่องปกติŽ ของเมก กาโปรเจ็กต์Ž ต่างๆ ทั่วโลก นักเศรษฐศาสตร์สาย โลกอุดมคติŽ ขายฝันบอกผู้มีอำนาจ บอกประชาชน ออกแบบงาน สถาปัตยกรรมŽ ไว้อย่างวิจิตรพิสดาร เป็น แลนด์มาร์กŽ ใหม่ของประเทศ พอใช้งานจริงสักระยะหนึ่ง ด้วยความวิจิตรพิสดาร หมดช่วง ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์Ž ฝนตก น้ำรั่ว แดดส่อง ผลงานมีปัญหามาก ช่างแบบบ้านๆ (สาย Pragmatic) ต้องมาตามแก้งานให้ปัญหาพอทุเลา….

ต้องมองเสียงสะท้อนจากผู้คนภาคปฏิบัตินี้ให้ถูกต้องว่า ทางออกเดียวŽ ของรัฐสวัสดิการ คือ คนในชาติทุกฝ่ายต้องช่วยกันประคับประคอง ให้ เดินได้ดีŽ และ เดินได้ยาวŽ …โดยไม่เห็นแก่ตัว…

โดยสรุปผู้เขียนขอเสนอแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์แบบภาคปฏิบัติ (Pragmatism) ดังนี้ครับ

1.กระจายอำนาจ…กลุ่ม องค์กรท้องถิ่นŽ หลายส่วนที่มีศักยภาพพร้อมที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาล ประ ชาชนจะได้โรงพยาบาลรัฐใหม่ๆ…กฎระเบียบบางอย่างของมหาดไทยที่เป็นอุปสรรค…รัฐบาลต้องรีบแก้ไข

2.ต้อง ทยอยŽ ย้ายคลินิกปฐมภูมิออกจาก รพ.รัฐขนาดใหญ่ ใช้ของให้ถูกประเภทตามที่กล่าวข้างต้น… ย้ายแล้วไปไหนยังเป็นปัญหา ไป เวชปฏิบัติเดิมŽ เหมือน เครือจักรภพŽ ได้หรือไม่ ต้องศึกษาพูดคุยดู เพิ่ม ช่องทางเข้าถึงŽ มองคลินิกปฐมภูมิให้เป็น การประกอบโรคศิลปะŽ ต้นทุนจะต่ำกว่าและความพึงใจสูงกว่าการมองคลินิกปฐมภูมิว่าเป็น กิจการของรัฐŽ ลดกติกาที่เป็นอุปสรรค…

3.ค่อยๆ ผ่องถ่ายภาระจาก ฐานภาษีŽ กระจายน้ำหนักไปแหล่งอื่นๆ มองหา Collateral ที่มีส่วนเพิ่มผลตอบแทนมากกว่า 7% ที่มองเห็นในระบบตอนนี้มีแค่ ส่วนเพิ่มจากการลงทุนŽ (Capital Gain) เท่านั้น ประเทศพัฒนาทั้งหลายก็วาง ค่าใช้จ่ายสุขภาพหลักŽ ไว้บนกองทุนสำรองยั่งยืน (Mutual Fund) ที่จะสร้างใหม่ก็ว่ากันไป แต่อาจจะอีกนาน 10 ปีกว่าจะใช้งานได้ ที่เป็น โครงอยู่แล้วŽ มีอะไรบ้าง …ประกันสังคมดีอยู่แล้วไม่ต้องไปยุ่งกับเขา.. ประกันชีวิตภาคเอกชนมีอยู่กว่า 12 ล้านกรมธรรม์ สามารถสร้าง รูปแบบŽ ใหม่ๆ ในกลุ่มฐานลูกค้านั้นได้หรือไม่ เช่น กำหนดสัดส่วนทุนประกันชีวิต ต่อทุนประกันสุขภาพŽ (Earmark Life/Health ratio) โดยหลักการ ส่วนเพิ่มจากการลงทุนŽ ควรมา จุนเจือŽ ฝั่งสุขภาพ

4.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือรัฐ-เอกชน (PPP) ในระบบสุขภาพ จะเป็นขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ ใดๆ ก็แล้วแต่ กติกาควรชัดเจนและไม่เป็นอุปสรรค เป็นการเติมเงินในขาที่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวคิดแบบบ้านๆ ภาคปฏิบัติไว้ดังนี้ วันหลังจะขอนำเสนอ รัฐยุคพัฒนามากกว่าสวัสดิการŽ (Post Welfare State) เช่นประเทศสิงคโปร์มาลองดูว่า ประเทศไทย คนไทย จะเดินไปถึงจุดนั้นได้หรือไม่…ต้องสูญเสียความสุขสบายใดๆ ในระยะสั้น…เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขสบายแบบยั่งยืน…ด้วยความเคารพ..

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image