โลกสองวัย : เรียกมันว่าบทกวี

ถ้าพอจะเรียกมันว่าบทกวี | ห้วงรำพึงรำพันถึงทุรสมัย | โดย เวฬุ เวสารัช (กฤช เหลือลมัย : บรรณาธิการ อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ: ภาพประกอบ) ราคา 160 บาท

“กลอน เปล่า” คือการเรียกขานบทกวีประเภทหนึ่ง (ในภาษาไทย) งานวรรณกรรมของทุกชาติทุกภาษาเมื่อเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ผู้อ่าน ผู้สัมผัสจะรับรู้ถึงอรรถรสนั้น โดยมิพักต้องเป็นประเภทใด

อรรถรส ของบทประพันธ์ที่ประพันธกรเรียบเรียงและเรียงร้อยจากอักษรตัวหนึ่งเป็นคำ หนึ่ง เป็นวลีหนึ่ง เป็นประโยคหนึ่ง เป็นหลายประโยค กระทั่งเป็นบทประพันธ์ บทกวีเรื่องหนึ่ง

จบแล้ว จะนำส่งให้บรรณาธิการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ ตีพิมพ์ขึ้นมาอ่านเองและในหมู่เพื่อนพ้อง หรือเก็บไว้อ่านคนเดียว คุณค่าของบทประพันธ์บทกวีนั้นไม่มีวันเสื่อมคลาย

“กลอนเปล่า” ยังปรากฏในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ประจำสม่ำเสมอ “กลอนเปล่า” ที่ตีพิมพ์เป็นประจำวันนี้ เป็นของ “ภักดิ์ รตนผล” กวีนิพนธ์แห่งความเดียวดายแต่ไม่ว่างเปล่า อดีตนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อนรักนักกลอนของชุมนุมวรรณศิลป์ จุฬา

Advertisement

เคยมีผลงานมาหลายเล่ม อีกไม่นานผู้อ่านคงมีโอกาสได้อ่านผลงานกลอนเปล่ารวมเล่มของกวีผู้นี้

ก่อน จะได้อ่าน “กลอนเปล่า” ของ ภักดิ์ รตนผล ผลงานรวมเล่ม วันนี้หา “ถ้าจะพอเรียกมันว่าบทกวี” (ห้วงรำพึงรำพันถึงทุรสมัย) ของ เวฬุ เวสารัช มาอ่านไปพลาง มิใช่การคั่นรายการ แต่เป็นการแนะนำดาวรุ่งดวงใหม่ในวงการกวี ซึ่งมิใช่คนเก่าในแวดวงวรรณกรรม

เวฬุ เวสารัช เปิดเผยตัวตนไว้ในหน้าสุดท้าย “เกี่ยวกับผู้เขียน” ว่า

Advertisement

เวฬุ เวสารัช เป็นนามปากกาที่ใช้ในการเขียนบทกวีของนักเขียน นักหนังสือพิมพ์หนุ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มทำงานแบบที่พอเรียกบทกวีราวกลางปี พ.ศ.2553 ด้วยความอัดอั้นตันใจจากเหตุการณ์ล้อมปราบกลางเมืองที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก

ขณะที่ภายใต้นามจริงซึ่งคนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็น นามปากกา มีผลงานรวมเล่มออกมาแล้ว 5 เล่ม แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้การันตีว่า งานรวมเล่มชุดนี้พอที่จะเรียกว่าบทกวีได้

ส่วนเกริ่นนำที่บอกว่า จะให้เขียนอะไร (เสมือนคำนำ) ในหน้าแรกก่อนอ่าน “ถ้าพอจะเรียกมันว่าบทกวี” ในหน้าถัดไป ขึ้นต้นยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะและอย่างมั่นใจว่า

คง เป็นการพลาดอย่างมหันต์ หากว่าผมไม่เขียนงานชุดนี้ ไม่ตีพิมพ์ผลงานชุดนี้ และไม่ยอมนำเสนอมันออกมาในช่วงนี้ – “ห้วงรำพึงรำพันถึงทุรสมัย”

ทำ ได้เท่านี้ในห้วงเวลาที่อะไรช่างดูมืดดำและสิ้นหวังไปเสียหมด ผมเปิดรับข่าวสาร เสพติดความผิดหวัง ความไม่ได้ดังใจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลืนกินสิ่งเหล่านี้เข้ามาอยู่ในตัว

จนวันหนึ่งก็เหมือนคนเล่นยาเกินขนาด

ดังนั้น เพื่อป้องกันการลุกไปทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น หรือแม้แต่ตีอกชกตัวให้ทุรนทุรายเอง ผมจึงเลือกที่จะเขียนมันออกมาเพื่อ “บำบัด”

จะให้เขียนอะไรล่ะ? ปัดโธ่!

วัน ก่อนมีการเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ที่ร้าน The Writer?s secret สุจิตต์ วงษ์เทศ เทศนานำวาทกรรมตามประสานักข่าวนักหนังสือพิมพ์ที่ประกาศตัวว่า “จิตวิญญาณกู คือ หนังสือพิมพ์รายวัน” พูดในลีลาข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน เรียกเสียงเฮฮาด้วยลูกล่อลูกชนเฉียบ

เมื่อถึงการเสวนา “งานสร้างสรรค์ภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตย 99.99%” บอกไว้ว่า “เชตวัน เตือประโคน นักข่าวและนักเขียนหนุ่มเจ้าของนามปากกา เวฬุ เวสารัช” เปิดเผยว่า เป็นงานที่เขียนในช่วงปี 2556-2559 ช่วงที่การเมืองขัดแย้งมาก โดยใช้นามปากกา เวฬุ เวสารัช เพราะคิดว่ากวีต้องมีนามปากกาเท่ๆ

“ถ้า พอจะเรียกมันว่าบทกวี” (ห้วงรำพึงรำพันถึงทุรสมัย) เป็นบทกวีทั้งบทกลอนและกลอนเปล่าที่อ่านแล้วได้กลิ่นอายการเมืองในยุคนี้ เต็มที่ ตั้งแต่ ทุรยุคอุบัติ, อสัตย์มธุรส, ผองชนตื่นขบถ, ปรากฏสัจจะ ทั้ง 4 ภาค ที่จบบทสุดท้าย ชื่อ “อนาคตร่วมกัน” ว่า “อนาคตคือ ไม่มีอนาคตร่วมกัน” รีบหา

“ถ้าพอจะเรียกมันว่าบทกวี” สำนักพิมพ์โจนทะยาน ราคา 160 บาท มาอ่านโดยพลัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image