สุจิตต์ วงษ์เทศ : หน้ากาก 2,500 ปี เขาสามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์ ต้นแบบหน้าพราน (จับนางมโนห์รา) และหัวโขน

หน้ากากเก่าสุดในสุวรรณภูมิ ต้นแบบหน้าโขนและหัวโขนในสมัยหลังๆ จากภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว บนเขาสามร้อยอด อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์ (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)

หน้ากาก เป็นต้นแบบหน้าพรานและหัวโขน พบภาพเขียนสีรูปหน้ากากเก่าสุด 2,500 ปีมาแล้ว บนเขาสามร้อยยอด อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์

มีผู้ปีนป่ายขึ้นไปดูภาพเขียนสีเหล่านั้น บอกว่าทางขึ้นลำบากมาก ผมเลยไม่บังอาจขึ้นไปดู แม้อยากไปใจจะขาด

ถ้าทางการจะทำให้เข้าถึงสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว ก็ควรมีกิจกรรมแบ่งปันความรู้พร้อมกันไปด้วย เพราะถ้าไม่มีอย่างนี้ไม่นานก็เซ็งเหมือนที่อื่นๆ ซึ่งตื่นเต้นกว่า ยังเซ็งไปแล้วหลายแห่ง

ลายเส้นเขาสามร้อยยอด Herbert Smyth Warrington วาดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2434-2439
ลายเส้นเขาสามร้อยยอด Herbert Smyth Warrington วาดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2434-2439
คนใส่หน้ากากคลุมหัวรูปสามเหลี่ยม จากภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว ที่ผาแต้ม อ. โขงเจียม                 จ. อุบลราชธานี (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)
คนใส่หน้ากากคลุมหัวรูปสามเหลี่ยม จากภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว ที่ผาแต้ม อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)

หัวโขน

Advertisement

โขนต้องสวมหน้ากาก ที่ต่อมาเรียกหน้าโขน แล้วเป็นหัวโขน ปัจจุบันเรียกศีรษะโขน

หน้ากาก เป็นเครื่องสวมเพื่อพรางหน้าจริงในพิธีเข้าทรง เพื่อเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับอํานาจศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติตามหน้ากากนั้น มีในกลุ่มชนดั้งเดิมทุกเผ่าพันธุ์ในโลก รวมทั้งในภูมิภาคอุษาคเนย์ หน้ากากเก่าสุดพบในไทย มีอายุราว 2,500 ปีมาแล้ว เป็นภาพเขียนสีบนเพิงผาในถ้ำเขาสามร้อยยอด (อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์) และที่ผาแต้ม (อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี) ฯลฯ

มีการละเล่นสวมหน้ากากผีบรรพชน สืบเนื่องจากยุคดึกดําบรรพ์ เช่น ปู่เยอย่าเยอ ในลาว, ผีตาโขนในไทย, ฯลฯ

Advertisement

หน้าพราน หรือหน้ากากพรานบุญ ในโนราชาตรี เป็นหน้ากากสืบเนื่องจากประเพณี

ดึกดําาบรรพ์ 2,500 ปีมาแล้ว

คนใส่หน้ากากคลุมหัวรูปสามเหลี่ยม จากภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว ที่ผาแต้ม อ. โขงเจียม                 จ. อุบลราชธานี (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)
คนใส่หน้ากากคลุมหัวรูปสามเหลี่ยม จากภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว ที่ผาแต้ม อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)
หน้ากากผีตาโขน คล้ายหน้ากาก          บนภาพเขียนสีที่ผาแต้ม (ภาพจากหนังสือ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2542 หน้า 2808)
หน้ากากผีตาโขน คล้ายหน้ากาก บนภาพเขียนสีที่ผาแต้ม (ภาพจากหนังสือ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2542 หน้า 2808)
หน้าพราน หรือ หน้ากากโนรา เป็นหน้ากากจําอวดละครโนราชาตรี (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)
หน้าพราน หรือ หน้ากากโนรา เป็นหน้ากากจําอวดละครโนราชาตรี (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)
ศีรษะเจ้าเงาะ เล่นละครสมโภช ร.5 เสด็จฯ กลับจากยุโรป ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)
ศีรษะเจ้าเงาะ เล่นละครสมโภช ร.5 เสด็จฯ กลับจากยุโรป ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

หัวโขน ใส่แทนหน้ากาก (ที่มีมาแต่ดั้งเดิม) น่าจะมีขึ้นในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราวแผ่นดิน ร.1-3 โดยเฉพาะช่วง ร.2 มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการช่างและการละเล่นหลายอย่าง

ต้นแบบหัวโขน มาจากไหน? ไม่พบหลักฐานตรงๆ แต่น่าเชื่อว่าจะมาจากหัวหุ่น (บางทีเรียกหน้าหุ่น) ที่ ร.2 ทรงแกะไม้รักหน้าสวมชฎาด้วยฝีพระหัตถ์ เป็นพระยารักใหญ่ กับ พระยารักน้อย ซึ่ง “งามไม่มีหน้าพระอื่นเสมอสอง” (สมเด็จฯ เจ้าฟ้านริศ ทูลถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดําารง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2458 ในสาส์นสมเด็จ เล่ม 1)

ร.2 ทรงมีฝีพระหัตถ์ชํานาญในทางช่างแกะและปั้นหุ่น จึงเชื่อกันว่าทรงแกะไม้บานประตูวิหารวัดสุทัศน์ (ร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี), ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ พระประธานในอุโบสถวัดอรุณฯ, ฯลฯ แล้วโปรดให้ระดมช่างมีฝีมือสร้างหุ่นหลวงขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นเรื่องรามเกียรติ์ มีผู้อธิบายว่าในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีทั้งหุ่นหลวงทําาด้วยไม้ และทําด้วยกระดาษกลวงแบบหัวโขน

ช่างทําหัวโขน ตั้งแต่ ร.1-3 มีช่างฝีมือดีสืบมาแต่ครั้งกรุงเก่าหลายคน ช่างฝีมือดีเหล่านี้บางคนทําหัวโขน (แต่ก่อนเรียก หน้าโขน, หน้าหุ่น) แต่คนสําคัญหลายคนชื่อมีคําว่า “เทพ” อยู่ด้วย

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีลายพระหัตถ์ (วันที่ 6 มีนาคม 2458) อธิบายเรื่องช่างหัวโขนฝีมือดีถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ (ตําราสร้างพระพุทธรูป พิมพ์อยู่ใน ประชุมหนังสือเก่า ภาค 2 หม่อมเจ้าปิยภักดีนาถ พิมพ์แจกเมื่อ พ.ศ. 2459, กรมศิลปากรรวมพิมพ์ใหม่ทั้งภาค1-2 เมื่อ พ.ศ. 2552)

เป็นพยานว่าหัวโขนจะเริ่มมีพัฒนาการ แล้วสร้างสรรค์ต่อเนื่องจนลงตัวสมบูรณ์แบบในรัชกาลหลังๆ

หัวหุ่นหลวงพระรามและพระลักษมณ์ ร.2 ทรงแกะจากไม้รัก เรียกว่า “พระยารักใหญ่” และ “พระยารักน้อย” ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพโดย นายยุทธวรากร แสงอร่าม)
หัวหุ่นหลวงพระรามและพระลักษมณ์ ร.2 ทรงแกะจากไม้รัก เรียกว่า “พระยารักใหญ่” และ “พระยารักน้อย” ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพโดย นายยุทธวรากร แสงอร่าม)
พระราม-พระลักษมณ์ สวมหัวโขนตามแบบโบราณ (ภาพจากหนังสือ โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2552)
พระราม-พระลักษมณ์ สวมหัวโขนตามแบบโบราณ (ภาพจากหนังสือ โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2552)

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image