เรียนรู้เมืองจากแผนที่ภาษี กรณีศึกษา ทม.แม่เหียะ เชียงใหม่

แผนที่ภาษี (tax map) เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ใกล้ตัวที่มีคุณค่ายิ่ง บันทึกข้อมูลแปลงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างครบถ้วน เพราะกฎหมายกำหนดให้เทศบาลมีหน้าที่สำรวจบันทึกข้อมูลระบุการใช้ประโยชน์ ขนาดพื้นที่และมูลค่าที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างเป็นรายแปลง เพื่อนำมาคำนวณภาษี เป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่ายิ่งนักช่วยให้เข้าใจการบริหารเมืองและเศรษฐกิจเมืองเป็นอย่างดี แต่งานวิชาการที่นำข้อมูลแผนที่ภาษีในอดีตยังน้อยมาก ในโอกาสนี้ขอนำกรณีตัวอย่างเมืองแม่เหียะ เชียงใหม่ มาแสดงเป็นรูปภาพหรือตารางพร้อมข้อสังเกตที่น่าสนใจ

เทศบาลเมืองแม่เหียะ เติบโตอย่างรวดเร็วจากดั้งเดิมเป็นชุมชนการเกษตร (สมัยเป็น อบต.) ผ่านวิวัฒนาการ จนกลายเป็นเมืองที่มีประชากรกว่า 2 หมื่นคน อาศัยในเขตพื้นที่ 24.4 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า คอนโดและส่วนราชการที่มาตั้ง เป็นพื้นที่ติดต่อกับมหานครเชียงใหม่ มีถนนสายหลัก 3 สายเชื่อมกับตัวเมืองเชียงใหม่หรือเมืองอื่นๆ จากคำสัมภาษณ์นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีแม่เหียะ ระบุว่า เมืองขยายตัวอย่างมากภายหลังปี พ.ศ.2547 จากการจัดงานพืชสวนโลก นักท่องเที่ยวจากทุกจังหวัดและต่างประเทศมาเยี่ยมชมหลายล้านคน ทม.แม่เหียะ เป็นท้องถิ่นชั้นนำของประเทศที่ได้รับรางวัลจากบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลและนวัตกรรม จากสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจฯหลายครั้งหลายครา รางวัลจากสถาบันพระปกเกล้าและหน่วยงานอื่น จุดเด่นคืองานพัฒนาระบบสื่อสารออนไลน์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะโดยสะดวก การนำเทคโนโลยีสำรวจ (โดรน) มาประยุกต์ในการทำแผนที่ภาษีปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย

พื้นที่เมืองแม่เหียะแบ่งออกเป็น 10 โซน (หมู่บ้าน) รูปภาพที่ 1 แสดงผังเมืองแม่เหียะ การใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม ที่ดินที่ไม่ได้ประโยชน์ และการใช้อเนกประสงค์ ราคาที่ดินแตกต่างกันระหว่างโซนเป็นเรื่องธรรมดา (ราคาที่ดินในโซน 2, 6 และ 5 ราคาเฉลี่ยแพงกว่าโซนอื่นๆ ระหว่าง 15,000-20,000 ต่อตารางวา-หมายเหตุ ราคาตลาดจะสูงกว่าราคาประเมินตามกรมธนารักษ์)

รูปภาพที่ 1 แผนที่เมืองแสดงโซน ถนนซอยและขนาดแปลงที่ดิน
รูปภาพที่ 2 แสดงสถิติการใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกตามโซนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยจากจำนวนทั้งสิ้น 1.2 หมื่นแปลงที่ดินในจำนวนนี้เกือบ 7 พันแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมลดลงอย่างมากเหลือไม่ถึง 500 แปลง
รูปภาพที่ 2 กราฟแสดงการกระจายของแปลงที่ดินตามโซนและลักษณะการใช้ประโยขน์
รูปภาพที่ 3 ราคาที่ดินในเมืองแม่เหียะ (ราคาประเมิน)

เมืองแม่เหียะมีการบริหารจัดการที่ดีเด่น (ได้รับรางวัลมาแล้วหลายครั้ง) เป็นเมืองใหม่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยที่มีปฏิสัมพันธ์กับมหานครเชียงใหม่ ผู้คนอพยพย้ายเข้ามาพำนักจึงมีร้านค้า คอนโด ห้างสรรพสินค้าผุดขึ้นใหม่จำนวนมาก เช้าออกไปทำงานในเมืองเชียงใหม่ เย็นกลับมาพำนักในหมู่บ้านชมวิวภูเขาและพื้นที่สีเขียวน่าอภิรมย์ แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวัดพระธาตุดอยคำ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคเหนือ เป็นต้น และเป็นเส้นทางผ่านไปแหล่งท่องเที่ยวชมนอกเมืองเชียงใหม่ เช่น ชุมชนบ้านถวายมีของดีเชิงวัฒนธรรมไม้แกะสลักจากฝีมือช่างเชียงใหม่ที่รู้จักแพร่หลาย ผู้บริหารเมืองกำหนดวิสัยทัศน์การเติบโตของเมืองโดยตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะและทำให้เมืองน่าอยู่

Advertisement

โดยไม่ลืมพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อรองรับความต้องการของคนรุ่นใหม่ จัดทำแผนที่ภาษีเป็นเครื่องมือการบริหารเมืองมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการประชาชน

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์

พิชิต รัชตพิบุลภพ

Advertisement

ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image