สุจิตต์ วงษ์เทศ : “ปากน้ำ”เจ้าพระยา ออกอ่าวไทย ยุคทวารวดี ใกล้เคียงปัจจุบัน

ซากเรือโบราณเลียบชายฝั่ง ยุคทวารวดี ราว พ.ศ. 1000 จมโคลนเลนนากุ้ง ใกล้วัดวิสุทธิวราวาส (วัดกลางคลอง) ต. พันท้ายนรสิงห์ อ. เมืองฯ จ. สมุทรสาคร ภาพนี้เป็นแหล่งขุดค้นของนักโบราณคดี กรมศิลปากร (ถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558)

แม่น้ำเจ้าพระยา ราวหลัง พ.ศ. 1000 มีปากน้ำ หรือมีแนวชายฝั่งทะเลยุคทวารวดีอยู่บนพื้นที่ระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ

[รายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัยซากดึกดำบรรพ์ในชั้นตะกอนบริเวณแอ่งเจ้าพระยา ตอนล่าง พื้นที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 3 (ปทุมธานี) กรมทรัพยากรธรณี พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2557]

พบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีเป็นซากเรือทะเลสมุทรยุคทวารวดีจมอยู่ในท้องนาโคลนตม ลึกเข้ามาจากชายฝั่งทะเลปัจจุบัน และอยู่ใกล้คลองโคกขาม จ. สมุทรสาคร (ที่มีนิทานเรื่องพันท้ายนรสิงห์)

แผนที่แสดงขอบเขตของชายฝั่งทะเลโบราณจากการค้นคว้าใหม่ทางธรณีวิทยา พบว่าอ่าวไทยสมัยทวารวดีราว พ.ศ. 1100-1400 นั้น ขึ้นมาถึงเพียงตอนใต้ของพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ไม่ไกลจากชายฝั่งทะเลปัจจุบันมากนัก (ที่มา : ดร. ตรงใจ หุตางกูร)
แผนที่แสดงขอบเขตของชายฝั่งทะเลโบราณจากการค้นคว้าใหม่ทางธรณีวิทยา พบว่าอ่าวไทยสมัยทวารวดีราว พ.ศ. 1100-1400 นั้น ขึ้นมาถึงเพียงตอนใต้ของพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ไม่ไกลจากชายฝั่งทะเลปัจจุบันมากนัก (ที่มา : ดร. ตรงใจ หุตางกูร)

กรุงเทพฯ ยุคทวารวดี มีป่าชายเลน ใกล้ชายฝั่งทะเล

กรุงเทพฯ ยุคทวารวดี เป็นที่ราบน้ำท่วมกว้างใหญ่ ยังไม่เหมาะสร้างบ้านแปลงเมือง

Advertisement

ชายฝั่งทะเลโบราณยุคทวารวดี อยู่แถวๆ บางขุนเทียน กทม. ไม่ไกลจากศาลพันท้ายนรสิงห์ คลองโคกขาม อ. เมือง จ. สมุทรสาคร (ใกล้ถนนพระราม 2)

มีพยานเป็นซากเรือยุคทวารวดีจมในนากุ้ง (หลังวัดวิสุทธิวราวาส ใกล้ศาลพันท้าย        นรสิงห์) ซึ่งกรมศิลปากรกำลังขุดขณะนี้ และก่อนหน้านี้ กรมศิลปากรเคยขุดพบซากเรือยุคเก่าที่บ้านนาขอม ซึ่งอยู่ถัดไป

“แนวชายฝั่งทะเลสมัยทวารวดี มีผืนป่าชายเลนอยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ 

Advertisement

ดังนั้น แนวชายฝั่งทะเลร่วมสมัยกับทวารวดี จึงมีขอบเขตไม่อยู่เหนือไปกว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร” และ “เป็นไปไม่ได้ที่น้ำทะเลจะขึ้นไปประชิดถึงที่ตั้งเมืองสำคัญของทวารวดี อาทิ   อู่ทอง หรือเมืองนครปฐมโบราณ”

[จากบทความเรื่องการตีความใหม่เรื่องขอบเขตแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดีบนที่ราบภาคกลางตอนล่าง ของ ดร. ตรงใจ หุตางกูร ในวารสารดำรงวิชาการ ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับมกราคม-มิถุนายน 2557) หน้า 11-44]

ไม้เนื้อแข็ง (คานและเสากระโดง?) ชิ้นส่วนเรือโบราณราวหลัง พ.ศ. 1000 (ยุคทวารวดี) คาดว่าความยาวสมบูรณ์ของเรือลำนี้ราว 30 เมตร ขุดขึ้นจากโคลนเลนนากุ้ง บริเวณนากุ้ง แล้วทำเพิงมีหลังคาคุ้มแดดฝน ใกล้วัดวิสุทธิวราวาส (วัดกลางคลอง) ต. พันท้ายนรสิงห์ อ. เมือง จ. สมุทรสาคร แต่ประชาชนเลื่อมใส เชื่อเป็นเรือศักดิ์สิทธิ์ มีผีแม่ย่านางเรือสิงอยู่ จึงเซ่นวักด้วยเครื่องเซ่นตามความเชื่อ แล้วแขวนไว้เรียงราย (ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556)
ไม้เนื้อแข็ง (คานและเสากระโดง?) ชิ้นส่วนเรือโบราณราวหลัง พ.ศ. 1000 (ยุคทวารวดี) คาดว่าความยาวสมบูรณ์ของเรือลำนี้ราว 30 เมตร ขุดขึ้นจากโคลนเลนนากุ้ง บริเวณนากุ้ง แล้วทำเพิงมีหลังคาคุ้มแดดฝน ใกล้วัดวิสุทธิวราวาส (วัดกลางคลอง) ต. พันท้ายนรสิงห์ อ. เมือง จ. สมุทรสาคร
แต่ประชาชนเลื่อมใส เชื่อเป็นเรือศักดิ์สิทธิ์ มีผีแม่ย่านางเรือสิงอยู่ จึงเซ่นวักด้วยเครื่องเซ่นตามความเชื่อ แล้วแขวนไว้เรียงราย (ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556)

 

ก่อนยุคทวารวดีหลายพันปี เคยมีชายฝั่งทะเลเว้าลึกถึงสุพรรณบุรี ไม่ใช่มีในยุคทวารวดี

แนวชายฝั่งทะเลโบราณ มีสภาพนิเวศแบบผืนป่าชายเลน เมื่อราว 8,400 ปีมาแล้ว น้ำทะเลขึ้นไปถึงพื้นที่ จ. สุพรรณบุรี ถึง จ. อ่างทอง

ต่อมาเมื่อเกิดการถดถอยของน้ำทะเลตั้งแต่ราว 7,000 ปีมาแล้ว ทำให้แนวชายฝั่งทะเลเคลื่อนที่ลงมาทางทิศใต้อย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ระดับปัจจุบัน

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image